กระแสของรถยนต์ไร้มลพิษ (Zero Emission Vehicle) โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) กำลังเป็นที่สนใจไปทั่วโลก เนื่องจากช่วยลดปัญหาโลกร้อนและมลพิษทางอากาศ เช่นเดียวกัน สหภาพยุโรปมีการวางแนวทางและนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนให้คนของประเทศตนเองใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทนการใช้เครื่องยนต์สันดาป (Internal combustion engine - ICE) ซึ่งนอกจากจะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) และลดภาระรายจ่ายในการนำเข้าน้ำมันแล้ว ยังถือเป็นโอกาสพลิกโฉมภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ยุโรปซึ่งมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีให้ดึงดูดนักลงทุน และรักษาฐานการผลิตรถยนต์ของประเทศไว้ได้ โดยเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน...
Read moreเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน ได้จัดงาน Dinner Talk เกี่ยวกับ EEC ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูต โดยมีผู้เข้าร่วมจาก Danish-Thai Business Network (https://www.danthainet.com) ซึ่งเป็นเครือข่ายทางการค้าและการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการเดนมาร์กที่มีความสนใจที่จะประกอบธุรกิจและลงทุนในประเทศไทย ผู้แทนสมาคมมิตรภาพเดนมาร์ก-ไทย (Danish - Thai Society) รวมถึงผู้แทนจาก Trade Council และกรมเอเชียฯ...
Read moreตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของสหรัฐฯ เติบโตอย่างมากในช่วงปี 2564 แม้จะประสบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์ทุกประเภทในปี 2563-2564 โดยมียอดขายอยู่ที่ประมาณ 6 แสนคันจากยอดขายรถยนต์แบบ light vehicle ทั้งหมด 14.9 ล้านคัน โดยมี Tesla เป็นผู้นําในการทํายอดขายอยู่ที่ 3.02 แสนคัน และขณะนี้การแข่งขันการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น จากทั้งค่าย General Motor และ Ford ที่เริ่มมียอดแบ่งสัดส่วนทางการตลาดมากขึ้นเรื่อย ๆ ยังไม่รวมถึงค่ายรถจากเยอรมนีและญี่ปุ่นที่เริ่มทยอยประกาศแผนการจัดตั้งฐานการผลิตรถไฟฟ้าในตลาดสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 สหรัฐฯ ได้ประกาศแผนงานการพัฒนาเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในสหรัฐฯ เพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า 5 แสนจุด ภายในปี 2573 โดยมีสาระสําคัญดังนี้ แผนงานที่ดําเนินการแล้ว ที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาได้จัดทำโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสถานีชาร์จรถไฟฟ้า โดยจัดสรรเงินลงทุนภายใต้กฎหมายโครงสร้างพื้นฐาน จํานวน 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สําหรับโครงการ National Electric Vehicle Infrastructure (NEVI) เพื่อสนับสนุนเงินทุนให้แก่รัฐในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานริมทางหลวงและพื้นที่ห่างไกล และ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สําหรับเป็นเงินสนับสนุน (competitive grant) ให้แก่ผู้ที่ได้รับคัดเลือกในการจัดทําโครงการพัฒนาคุณภาพอากาศ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าและชุมชนด้อยโอกาส พร้อมทั้งจัดสรรเงินลงทุนจํานวน 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สําหรับการจัดหาแร่ธาตุที่จําเป็นสําหรับการผลิตแบตเตอรี่ ชิ้นส่วน และการรีไซเคิลอีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้สร้างความร่วมมือกับกลุ่มผู้ผลิตและแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อบรรลุเป้าหมายการผลิตร้อยละ 50 ของรถยนต์ใหม่ให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า ภายในปี2573 ยิ่งไปกว่านั้น สหรัฐฯ ได้กระตุ้นการลงทุนมูลค่ากว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จากภาคเอกชนในอุตสาหกรรมการผลิตรถไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน และความมั่นคงของห่วงโซ่อุปทานภายในประเทศ สำหรับแผนงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่ได้รับการดำเนินการแล้ว ได้แก่ ให้อํานาจแต่ละรัฐในการจัดซื้อยานยนต์ที่ใช้พลังงานสะอาด โดยให้จัดซื้อยานยนต์ขนาดเล็ก (zero-emission light-duty vehicles) ทั้งหมด ภายในปี 2570 และรถยนต์ประเภทอื่น ๆ ภายปี 2578 และกําหนดมาตรฐานสูงสุดของการปล่อยไอเสียยานยนต์ และการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง แผนงานที่สำคัญของหน่วยงานรัฐบาลกลางสหรัฐฯ 1. กระทรวงพลังงาน และกระทรวงคมนาคม ได้ร่วมกันจัดตั้ง Joint Office of Energy...
Read moreจีนเปิดเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงต่างประเทศสายใหม่ระหว่างจีน-เมียนมา (นครฉงชิ่ง เมืองหลินชาง-ประเทศเมียนมา) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 โดยเดินทางออกจากท่าเรือกว่อหยวน เขตเศรษฐกิจใหม่เหลี่ยงเจียง นครฉงชิ่ง ไปยังเมืองมัณฑะเลย์ เมียนมา มีการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 60 ตู้ ภายในมีสินค้าประเภทต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์เครื่องกล...
Read moreสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่พึ่งพาการคมนาคมขนส่งทางรางเป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมาสวิตเซอร์แลนด์ได้ลงทุนหลายร้อยล้านฟรังก์สวิสในการป้องกันเสียงรบกวนจากรถไฟ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งแผงกั้นเสียง (noise barriers) พัฒนาระบบล้อและเบรคของรถไฟ และมีเป้าหมายที่จะลดมลภาวะทางเสียงให้ได้ร้อยละ 80 ภายในปี 2568 อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังคงสัญจรด้วยรถไฟและยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางกลุ่มนักวิจัยจากสถาบัน Empa ร่วมกับ Vaud School of Economics and...
Read moreสปป. ลาวเป็นประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งผู้นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงต้องชำระเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐเพียงเท่านั้น แต่จำหน่ายภายในประเทศเป็นเงินสกุลกีบ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการประสบปัญหาขาดทุน เนื่องจากปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนและเงินเฟ้อมีความผันผวน โดยเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2565 สภาแห่งชาติเห็นชอบรับรองมาตรการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในสถานการณ์ที่ราคาน้ำมันมีความผันผวนสูง โดยปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตที่เรียกเก็บจากน้ำมันดีเซลจากร้อยละ 21 เป็นร้อยละ 11 น้ำมันเบนซินจากร้อยละ 31 เป็นร้อยละ 16 และมีการออกมาตรการอื่นๆ...
Read more© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.