บาห์เรนเป็นประเทศเกาะเล็ก ๆ ในอ่าวเปอร์เซียมีพื้นที่เทียบเท่าเกาะภูเก็ตของไทย บาห์เรนเป็นประเทศที่มั่งคั่งด้วยน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติปริมาณมหาศาล ปัจจุบันบาห์เรนมีประชาการราว 1.7 ล้านคน เป็นคนพื้นเมืองราว 800,000 คน นอกนั้นเป็นชาวต่างชาติที่พำนักและทำงานอยู่ในบาห์เรน ประชาชนชาวบาห์เรนมีกำลังซื้อสูง รายได้ประชาชาติต่อหัวในปี 2562 คิดเป็น 24,000 ดอลลาร์สหรัฐ (สูงกว่าคนไทยประมาณ 3 เท่า) บาห์เรนถือเป็นประเทศพันธมิตรที่ใกล้ชิดและแน่นแฟ้นที่สุดของไทยในภูมิภาคตะวันออกกลาง
[su_spacer]
บาห์เรนเป็นประเทศที่มีระบบเสรีทางการค้าโดยเฉพาะด้านอาหารที่ไม่ค่อยมีมาตรการกีดกันทางการค้า อย่างไรก็ดี บาห์เรนเป็นประเทศที่ความมั่นคงทางอาหารอยู่ในภาวะเสี่ยงค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องพึ่งพาการนำเข้าพืชผักผลไม้จากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ สำหรับสินค้าอาหารไทยโดยเฉพาะพืชผักผลไม้ไทยได้รับความนิยมจากคนบาห์เรนเป็นอย่างมาก อาทิ ทุเรียน ขนุน มังคุด เงาะ มะม่วง มะขาม สัปปะรด ลิ้นจี่ ฯลฯ และเป็นที่ต้องการของร้านอาหารไทยที่มีอยู่เกือบ 70 ร้าน โดยสามารถพบได้ตามร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปในบาห์เรนทั้งใน Hypermarkets และซุปเปอร์มาร์เก็ตของไทยที่มีอยู่เกือบสิบแห่งในประเทศนี้
[su_spacer]
[su_spacer]
[su_spacer]
การนำเข้าพืชผักผลไม้จากไทยส่วนใหญ่ใช้วิธีขนส่งทางอากาศ (Air/Cargo Freight) โดยมาตรการและกฎระเบียบของการนำเข้า มีดังนี้
1. พืชผักผลไม้ถือเป็นสินค้าควบคุม ผู้นำเข้าต้องมีใบอนุญาตการนำเข้า (import license) ที่กระทรวงเกษตรฯ (สำนักคุ้มครองพันธุ์พืชและกักกันสินค้าเกษตร หรือ Plant and Protection and Agriculture Quarantine Section) ของบาห์เรนเป็นผู้ออกให้
2. ผู้นำเข้าต้องแจ้งลงทะเบียนกับกระทรวงเกษตรฯ ของบาห์เรน ว่าต้องการนำเข้าพืชผักผลไม้ใดเข้ามา พร้อมระบุพิกัดศุลกากรที่ถูกต้อง (HS Code)
3. ผู้นำเข้าต้องแสดงเอกสารใบรับรองสุขอนามัย (Psytosanitary Certificate หรือ PC) ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขนำเข้าของบาห์เรน ซึ่งออกโดยสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรของไทยที่เป็นประเทศต้นทาง
4. ขั้นตอนการผ่านด่านศุลกากร ผู้นำเข้าต้องเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าและเสียภาษีผักและผลไม้ของบาห์เรน ร้อยละ 5 ของราคาประเมิน
[su_spacer]
จากการสำรวจตลาดพืชผักและผลไม้ที่ไทยควรส่งเสริมและทำการตลาดต่อไปอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็นข้อมูล ดังนี้
[su_spacer]
[su_spacer]
ตลาดพื้นฐาน (เน้นปริมาณในราคาที่ถูก): ผลไม้ที่ทำตลาดได้ดีและมีส่วนแบ่งการตลาดสูงกว่าประเทศอื่น ๆ อาทิ มะขาม ลำไย และผลไม้แปรรูป อาทิ ขนุน ส้ม มะพร้าว และสับปะรด ผลไม้ที่มีการแข่งขันเรื่องราคาค่อนข้างสูง อาทิ มะม่วง สัปปะรด ลิ้นจี่ มังคุด เงาะ แก้วมังกร และน้อยหน่า
ตลาดระดับบน (เน้นคุณภาพและความสวยงาม พบในซุปเปอร์มาร์เก็ตสินค้าเอเชีย): ผลไม้ที่ทำตลาดได้ดี อาทิ ทุเรียนหมอนทอง มะม่วงน้ำดอกไม้และเขียวเสวย ลำไย และมังคุด
[su_spacer]
นอกเหนือจากผลไม้ที่กล่าวถึงแล้ว ผลไม้ที่ขายดีและได้รับความนิยมมากในตอนนี้ คือ สัปปะรดภูแล และฝรั่งแช่บ๊วย ซึ่งสามารถพบได้ตามร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตไทยทุกแห่ง อย่างฝรั่งแช่บ๊วยขายได้ถึงโลละ 360 บาท (4.5 ดีนาร์บาห์เรน) ในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีคู่แข่งอย่างร้านค้าอินเดียที่นำเข้าผลไม้มาขายตัดราคา แต่ร้านไทยก็ยังสามารถขายได้ดีเนื่องจากแบรนด์ของร้านไทยได้รับความวางใจจากคนบาห์เรนและต่างชาติที่พำนักอาศัยอยู่ในบาห์เรนมากกว่าส่วนพืชผักของไทยในบาห์เรน
[su_spacer]
ปัจจุบันมีเกษตรกรไทยจำนวนสองรายประกอบการทำสวนเพื่อนำพืชผักขายส่งต่อไปยังร้านอาหารและร้านค้าซุปเปอร์มาร์เก็ตไทยต่าง ๆ จึงไม่มีความขาดแคลนพืชผักไทยในบาห์เรน ทั้งนี้ พืชผักที่มีแนวโน้มจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นและน่าที่จะส่งเสริมทำตลาดได้ต่อไป ได้แก่ มะเขือเปราะ ตะไคร้ ข้าวโพดอ่อน และพริกขี้หนู
[su_spacer]
อย่างไรก็ดี จากการสอบถามผู้นำเข้าพืชผักและผลไม้ไทยในบาห์เรนต่างเห็นตรงกันว่า ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID -19 ผ่านพ้นไปตลาดสินค้าผักและผลไม้ไทยจะกลับมาดำเนินธุรกิจได้เป็นปกติและยังมีโอกาสจะเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากอุปสรรคทางการค้ามีน้อย
[su_spacer]
[su_spacer]
โดยอุปสรรคส่วนมากมาจากต้นทุนค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ระหว่างประเทศที่ค่อนข้างสูง ทำให้ราคาผักผลไม้ไทยที่ขายตามท้องตลาดมีราคาแพงขึ้น และพบว่ามีผู้ส่งออกบางรายส่งออกผลไม้ที่ฉีดเร่งสารการเจริญเติบโตเพื่อรักษารูปลักษณ์ภายนอกให้ดูสวยงามซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า ซึ่งทำให้เสียภาพลักษณ์ของผลไม้ไทย หากได้มีการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ เชื่อว่าสินค้าพืชผักผลไม้ไทยจะได้รับความนิยมและครองตลาดในบาห์เรนไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
[su_spacer]
โดยศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมานามา