จนถึงปี 2561 เวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนมากกว่า 32,000 เฮกตาร์ โดยพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกมากที่สุดคือบริเวณภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดเตี่ยนซาง (4,200 เฮกตาร์) จังหวัดเบ๋นแจ จังหวัดหวิงล็อง และพื้นที่ในบริเวณที่ราบสูงตะวันตก เช่น จังหวัดเลิมด่ง จังหวัดดั้กลัก เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
อําเภอดะฮวาย (Da Huoai) จังหวัดเลิมด่ง บริเวณที่ราบสูงตะวันตกเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสําหรับ การผลิตและส่งออกทุเรียนของเวียดนาม อําเภอดังกล่าวมีพื้นที่ปลูกทุเรียนมากกว่า 2,700 เฮกตาร์ สายพันธุ์ที่นิยมปลูก อาทิ สายพันธุ์หมอนทองไทย สายพันธุ์ Do Na และสายพันธุ์ R16 โดยคาดว่า ในปี 2562 จะสามารถเก็บผลผลิตได้ในช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน ด้วยปริมาณผลผลิตรวมมากกว่า 30,000 ตัน [su_spacer size=”20″]
สายพันธุ์ทุเรียนที่ได้รับความนิยมเพาะปลูกในเวียดนามมีทั้งสายพันธุ์จากไทย ได้แก่ ชะนี หมอนทอง และก้านยาว นิยมปลูกในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้และที่ราบสูงตะวันตกของเวียดนาม รวมถึงสายพันธุ์ท้องถิ่น ได้แก่ สายพันธุ์ Do Na สายพันธุ์ R16 สายพันธุ์ Chuong Bo สายพันธ์ Kho qua และสายพันธุ์ Cai Mon เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
เวียดนามสามารถผลิตทุเรียนได้ประมาณ 330,000 ตันต่อปี โดยพื้นที่ที่มีผลผลิตมากที่สุด คือ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ การบริโภคทุเรียนภายในประเทศคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 และส่งออก ร้อยละ 60 ของปริมาณที่ปลูกได้ โดยทุเรียนส่วนใหญ่ที่วางขายในตลาดทั่วไปมาจากจังหวัดด่งนาย จังหวัดเตี่ยนซาง จังหวัดเบ๋นแจ และจังหวัดหวิงล็อง [su_spacer size=”20″]
เมื่อเดือนเมษายน 2562 ราคาจําหน่ายทุเรียนสดหน้าสวนเฉลี่ยอยู่ที่ 2.8 – 3.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อ กิโลกรัม (65,000 – 75,000 เวียดนามด่ง) และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นจากการกว้านซื้อทุเรียนของนายหน้า ส่งผลให้ราคาทุเรียนบางพื้นที่เพิ่มสูง อาทิ อําเภอดะฮวาย จังหวัดเลิมด่ง จําหน่ายทุเรียนหน้าสวนราคาตั้งแต่ 3.4 – 6.1 ดอลลาร์สหรัฐ (80,000 – 140,000 เวียดนามด่ง ทั้งนี้ เวียดนามส่งออกทุเรียนไปยังจีนเป็นหลัก รองลงมา ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น [su_spacer size=”20″]
นายเลือง หง็อก จุง เหลิบ ผู้จัดการฝ่ายขายบริษัทแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร Cat Tuong และอดีต หัวหน้าฝ่ายวิจัยการตลาดของสถาบันวิจัยผลไม้ภาคใต้เวียดนามเปิดเผยว่า แม้เวียดนามยังไม่มีใบอนุญาตส่งทุเรียนไปยังจีน แต่ที่ผ่านมาเวียดนามส่งออกทุเรียนส่วนหนึ่งไปยังจีน โดยบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งทางบกผ่านบริเวณชายแดนเวียดนาม – จีน อาศัยการใช้ชื่อทุเรียนพันธุ์หมอนทองของไทย ขณะที่ รายงานการสํารวจลงพื้นที่ของสํานักข่าวท้องถิ่น Dan Viet ระบุว่า ปัจจุบันจีนเข้มงวดการตรวจสอบผลไม้นําเข้าไปยังจีนมากขึ้น ส่งผลให้เวียดนามต้องใช้วิธีการลักลอบขนส่งทุเรียนผ่านช่องทางที่ไม่ใช่ช่องทางหลัก อาทิ การขนส่งโดยรถบรรทุกขนาดเล็ก และใช้แรงงานแบกหามตามเส้นทางเลียบภูเขาในบริเวณด่านชายแดนเตินแท็ง (Tan Thanh) โดยปริมาณการซื้อขาย คาดว่า ประมาณหลายร้อยกิโลกรัมต่อวัน [su_spacer size=”20″]
เวียดนามนําเข้าทุเรียนจากไทยและกัมพูชาเป็นหลัก โดยอาศัยการขนส่งผ่านบริเวณชายแดน กรมศุลกากรไทยรายงานว่า ปี 2561 เวียดนามนําเข้าทุเรียนสดจากไทยมูลค่ารวม 308 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเกือบร้อยละ 30 ของมูลค่าการนําเข้าผลไม้ทั้งหมดของเวียดนามจากไทย [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย