การพัฒนาด้านการปลูกข้าวในทะเลทรายในยูเออี
[su_spacer]
นาย Mohammad AI Dhanhani ผู้อำนวยการกรมการพัฒนาการเกษตรและสาธารณสุข กระทรวงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมยูเออี (Ministry of Climate Change and Environment – MOCCAE) ได้กล่าวว่า ยูเออีได้พัฒนาขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาโดยประสบความสําเร็จในโครงการนําร่องปลูกข้าวที่ฟาร์มในเขต AI Dhaid ในรัฐชาร์จาห์ซึ่งจะเป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นพื้นฐานในการต่อยอดการปลูกข้าวในยูเออีในอนาคต โดยเฉพาะในสภาวะการระบาดของไวรัส COVID-19 ได้เป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนการพัฒนาทางเกษตรที่สําคัญของยูเออีในการตอบสนองต่ออุปสงค์ความต้องการด้านอาหารของประชากรในประเทศ ซึ่งนอกจากยูเออีจะทํางานอย่างหนักเพื่อทําให้แน่ใจว่าห่วงโซ่อุปทานของอาหารในระดับนานาชาติของยูเออีจะไม่ขาดแคลนต่อการบริโภคในประเทศแล้ว ยูเออียังต้องการขยายการนําเข้าจากตลาดอื่น ๆ เพิ่มเติมมากขึ้นจากปัจจุบัน และยังจะเพิ่มความพยายามในการผลิตอาหารโดยชาวนาและชาวไร่ในท้องถิ่นและใช้นวัตกรรมในการปลูกพืชผัก ข้าว และธัญพืชต่าง ๆ โดยใช้ ทรัพยากรในประเทศ โดยเน้นการทําให้พืชพรรณเหล่านั้นสามารถปลูกได้ในทะเลทราย
[su_spacer]
ขณะนี้ยูเออีได้มีความร่วมมือกับฟาร์มในประเทศต่าง ๆ กว่า 60 ประเทศ และพร้อมที่จะลงทุนมากขึ้น ซึ่งนอกจากปัจจุบันนี้ยูเออีจะปลูกข้าวได้ที่รัฐชาร์จาห์แล้ว ยังวางแผนที่จะปลูกกาแฟ และข้าวสาลี ทั้งนี้ตามรายงาน และสถิติของ Global Agricultural Information Network ปี 2562 ระบุว่า ยูเออีได้ลงทุนในด้านการเกษตรในต่างประเทศ เพื่อการผลิตอาหารในตลาดของยูเอีเอง โดยลงทุนร่วมกับ Saudi Arabia Agricultural and Livestock Company (SALIC) และ บริษัท AI Dahra Holding ของยูเออี มูลค่าการลงทุน 1.33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งข้อตกลงนี้ ได้ลงนามในปี 2560 ในการพัฒนาที่ดินเพื่อการผลิตอาหารในเขตทะเลดํา ซึ่งทั้ง 2 บริษัทมีทรัพย์สินทั้งในยูเครน โปแลนด์ โรมาเนีย และเซอร์เบีย
[su_spacer]
นอกจากนี้ นาย AI Dhanhanni ได้กล่าวว่า นอกจากยูเอีจะปรับปรุงประสิทธิภาพในการบําเข้าสินค้าอาหารแปรรูป และเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบสินค้าเกษตรให้ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุดแล้ว ยูเออียังจะเน้นการใช้นวัตกรรมการปลูกพืชอย่างมีประสิทธิภาพและจะไม่กดดันในการใช้พื้นที่แห้งแล้งและการใช้น้ําจืดในประเทศมากจนเกินไป โดยในการพัฒนาการปลูกข้าวและการปลูกพืชในระดับใหญ่ ๆ ในประเทศจะต้องพิจารณาว่าจะมีผลเป็นรูปธรรมสําหรับพื้นที่ทะเลทรายได้จริงหรือไม่ และจะทําให้ทรัพยากรน้ําซึ่งหายากในพื้นที่ฟาร์มที่เปิดในอุณหภูมิ 40-45 องศาเซลเซียสในฤดูร้อนจะเป็นไปได้ยาก แต่เมื่อต้นเดือนนี้ MOCCAE ได้ประกาศการทดลองปลูกข้าวที่รัฐชาร์จาห์เป็นผลสําเร็จ โดยการใช้ระบบน้ําหยด ซึ่งท่อน้ําจะวางอยู่ใต้ดินและให้น้ําตรงกับบริเวณรากของต้นข้าว โดยตรง โดยใช้น้ําที่ใช้เป็นน้ําที่กลั่นกรองเกลือออกจากน้ําทะเลโดยไม่ใช้น้ําบาดาลแต่อย่างใด ซึ่งผลผลิตอยู่ใน ระดับ 763 กิโลกรัม ต่อ 1,000 ตารางเมตร ซึ่งการทดลองมิได้เพียงจะเกิดประโยชน์ต่อยูเออีในการผลิตข้าวแล้ว ยังจะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคตะวันออกกลางนี้ด้วย MOCCAE กล่าวว่าการผลิตและการปลูกข้าวในระดับท้องถิ่นจะเป็นเรื่องเร่งด่วนของรัฐบาลยูเออี ซึ่งยูเออีกำลังจะทดลองการปลูกข้าวในพื้นที่ที่กว้างใหญ่ขึ้นตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อให้ผลเป็นที่น่าไว้วางใจและการพัฒนาระบบชลประทาน การพัฒนาดิน ระบบการใช้ปุ๋ย และพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ ด้วย
[su_spacer]
การพัฒนาการปลูกพืชผักในระบบแนวดิ่งและการปลูกพืชพรรณในทะเลทราย
[su_spacer]
นาย AI Dhanhani กล่าวด้วยว่า ในการพัฒนาระบบชลประทานแบบน้ำหยดใต้ดินในยูเออีนี้ MOCCAE ได้พัฒนาร่วมกับองค์การ Rural Development Administration ของเกาหลีใต้และ UAE University ใน โครงการพัฒนาการปลูกข้าว รวมทั้งพืชผักในการปลูกในฟาร์มแบบแนวดิ่ง ซึ่งควบคุมสภาพอุณหภูมิเพื่อลดการใช้น้ําในการเกษตร การปลูกพืชแบบไร้ดิน (hydroponic) ซึ่งใช้น้ําลดลงถึง 90% จากฟาร์มเปิดปกติ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศที่มีน้ําอยู่น้อยและประเทศแห้งแล้งดังเช่น ยูเออี โดยการปลูกพืชผักที่รับประทานใบ โดยใช้แสงไฟสังเคราะห์เพื่อให้พืชสังเคราะห์แสงได้ตลอดเวลาซึ่งการใช้พื้นที่ปิดในโรงเรือนยังทําให้ลดโรคพืชได้ และยังไม่ต้องใช้ดินอีกด้วย
[su_spacer]
ขณะนี้สายการบินเอมิเรตส์ โดย Emirates Flight Catering ได้เปิดตัวฟาร์มแนวดิ่งขนาดใหญ่ที่สุด ในโลก โดยลงทุนร่วมกับบริษัท Crop One ของสหราชอาณาจักร ลงทุนในระดับ 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในพื้นที่ 130,000 ตารางฟุต ซึ่งเมื่อสําเร็จจะเท่ากับการปลูกพืชผักในระดับ 900 เอเคอร์ ซึ่งจะปลูกผักได้จํานวนมากและใช้น้ําลดลง 99% นอกจากนี้ ยูเออียังมีการวิจัยการเกษตรในอุโมงค์ที่ Shariah Research Technology and Innovation Park และมีการเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนเพื่อการบริโภคและมีการปลูกผักพาสลีย์ และผักชีในฟาร์มในเขต AI Habub ของรัฐดูไบด้วย นอกจากนี้ MOCCAE ยังกล่าวว่าการปลูกพืชแบบไร้ดินนี้จะใช้น้ําเพียง 20 ลิตรให้ผลผลิตเป็นผักกาด 1 กิโลกรัมและเป็นน้ําที่ใช้หมุนเวียนตลอดโดยไม่ต้องระบายสู่พื้นดินเลย และการใช้ฟาร์มที่มีการควบคุมอุณหภูมินี้จะได้ผลผลิต มากกว่าระบบการทําไรทํานาปกติมาก
[su_spacer]
ขณะนี้ รัฐบาลยูเออีได้สนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนสร้างฟาร์มแนวดิ่ง เช่น ฟาร์ม Badia ซึ่ง เป็นผู้นําด้านเทคโนโลยีทางการเกษตรของยูเออีในการผลิตพืชผักไร้ดินในยูเออี และฟาร์มแนวดิ่งโดยเป็นผู้นําในด้านนี้ของกลุ่มประเทศ GCC ซึ่งเปิดผลิตผลพืชผลด้านนี้มาตั้งแต่ต้นปี 2561 และบริษัท Badia ยังได้ประกาศเมื่อปลาย ธันวาคม 2562 ในการสร้างฟาร์มแนวตั้งแบบไฮเทค ในพื้นที่ Dubai Industrial City ซึ่งจะผลิตพืชผลได้คุณภาพ 3,500 กิโลกรัมต่อปีโดยจะเปิดดําเนินงานในปีนี้ และ MOCCAE จะช่วยเกษตรกรในระดับบุคคลและพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อผลิตสินค้าทางเกษตรโดยระบบชลประทานที่มีความแม่นยําสูงด้วย ซึ่ง กระทรวงสิ่งแวดล้อมของยูเออี ยังให้การสนับสนุนด้านสารเคมี และปุ๋ยสําหรับการปลูกพืชไร้ดินสําหรับฟาร์มออร์แกนิคในประเทศ และด้านเมล็ดพันธุ์และการ ก่อสร้างเรือนกระจกสําหรับปลูกพืชพรรณต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนการปลูกพืชโดยใช้น้ํา Aquaponics VOJVÍSN Merlin Agrotunnel Sharjah Research Technology and Innovation Park (SRTI Park) ในพื้นที่ 150 ตารางเมตร ซึ่งจะผลิตผักและผลไม้ออร์แกนิค 1 ตันต่อเดือน ซึ่ง agrotunnel ที่ใช้จะลดการใช้น้ํากว่า 90% และยังเพาะเลี้ยงปลาน้ําจืด อาทิ ปลาแซลมอนเพื่อจําหน่ายได้จากระบบนี้อีกด้วย
[su_spacer]
สําหรับระบบ aquaponic นี้ เป็นการผสมผสานการเพาะเลี้ยงปลาในฟาร์ม โดยปลูกพืชไร้ดินและใช้น้ำจากการเลี้ยงปลาซึ่งมีธาตุอาหารสูงมาใช้ปลูกพืชผักตามธรรมชาติ โดยพืชจะช่วยกรองน้ํามาใช้เลี้ยงปลาได้อีก โดยเป็นระบบหมุนเวียนที่มีความสมดุล สําหรับน้ําที่ใช้ในการปลูกพืชผักผลไม้นี้ ใช้น้ำจากน้ำทะเลและมีระบบกรอง เกลือออกจากน้ําทะเล โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งนับเป็นระบบที่บูรณาการและมีความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยยูเออีกําลังพัฒนาระบบนี้ก่อนจะใช้การผลิตอาหารและปลูกพืชพรรณขนานใหญ่เพื่อการบริโภคในประเทศต่อไป อนึ่ง ยูเออีนําเข้าอาหาร 80-90% ของการบริโภคในประเทศ ซึ่งการพัฒนาความมั่นคงของอาหารของรัฐบาลยูเออีเป็นสิ่งที่น่าจับตาในอนาคตในยุคที่อุปทานสินค้าเกษตรในระดับโลกอาจขาดแคลนจากโรคระบาดและเหตุการณ์อื่นๆ ได้
[su_spacer]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ