เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2562 ประธานาธิบดี Muhammadu Buhari แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย มีคําสั่งเชิงนโยบายให้ธนาคารกลางแห่งชาติ (Central Bank of Nigeria – CBN) ยุติการให้การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อใช้ในการนําเข้าสินค้าอาหารเพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหารและการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ทั้งนี้ เงินทุนสํารองระหว่างประเทศควรมีไว้ใช้เพื่อรักษานโยบายการเงินและการคลัง ตลอดจนการพยุงค่าเงิน รวมทั้งใช้ประโยชน์สําหรับการดําเนินนโยบายความหลากหลายทางเศรษฐกิจ (Economic Diversification Policy)มากกว่า
[su_spacer]
ทั้งนี้ สมาคมผู้ผลิตอุตสาหกรรม สภาหอการค้า สมาคมการค้าและอุตสาหกรรมของไนจีเรีย รวมทั้งภาคเอกชนและผู้นําเข้าสินค้าเกิดความสับสนต่อข้อจํากัดดังกล่าว และขอให้รัฐบาลระบุให้ชัดเจนว่า สินค้า ประเภทใดบ้างที่จะห้ามนําเข้า เนื่องจากขณะนี้สินค้านําเข้าบางชนิดผู้ผลิตยังต้องใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต อาทิ ข้าวโพด ในการผลิตขนมปัง น้ำตาล ข้าว เป็นต้น เพราะวัตถุดินภายในประเทศผลิตไม่เพียงพอและสามารถใช้ได้เพียงร้อยละ 30 เท่านั้น นอกนั้นต้องนําเข้า ซึ่งการห้ามนําเข้าก็จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตภายในประเทศ ทั้งนี้ สาเหตุหลักคือ รัฐบาลห่วงกังวลกับอัตราเงินทุนสํารองระหว่างประเทศในช่วงปีที่ผ่านมาลดลงจากจํานวน 473 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เหลือ 44.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อค่าเงินไนร่าและมาตรการการเงินการคลังของประเทศ แต่วิธีนี้ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด และกลับจะเป็นการส่งเสริมให้มีการกระทําผิดกฎหมายในการลักลอบนําเข้าสินค้าประเภทอาหารตามแนวชายแดนเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมเนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศยังมีอยู่สูง
[su_spacer]
ธนาคารกลางแห่งชาติสนับสนุนต่อนโยบายดังกล่าว เนื่องจากสามารถรักษาเงินตราต่างประเทศที่ใช้ ในการนําเข้าสินค้าประเภทอาหารได้จํานวนถึง 505 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2018 และจะเป็นการช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมภายในประเทศสามารถพัฒนาให้เข้มแข็งมากขึ้น ขณะที่สหภาพแอฟริกาเห็นว่า นโยบายดังกล่าวจะช่วยปรับปรุงผลผลิตอาหารของประเทศและรักษาความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งการพัฒนาการเกษตร รวมทั้งจะช่วยให้ผู้ผลิตใช้ประโยชน์จากความตกลงเขตการค้าเสรีแอฟริกาได้ต่อไป
[su_spacer]
อย่างไรก็ดี รัฐบาลได้ให้คําอธิบายว่า ประธานาธิบดีไม่ได้ห้ามและจํากัดการนําเข้าสินค้าประเภท อาหารแต่อย่างใด ทั้งนี้ จะมุ่งจํากัดเฉพาะผู้นําเข้าสินค้าประเภทอาหารที่จะขอเงินทุนและการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อนําเข้าจากภาครัฐเท่านั้น ไม่รวมถึงภาคเอกชนซึ่งดําเนินการผ่านสถาบันการเงินที่ไม่ใช่รัฐบาล
[su_spacer]
ไนจีเรียยังจําเป็นต้องนําเข้าสินค้าอุปโภคและบริโภคอยู่ถึงร้อยละ 90 แม้ว่ารัฐบาล ได้ดําเนินนโยบายความหลากหลายทางเศรษฐกิจและสนับสนุนให้ประชาชนหันมาสู่ภาคผลิตทางการเกษตรและช่วยเหลือเงินทุนแล้วก็ตาม แต่ผลผลิตภายในประเทศก็ยังไม่เพียงพอ โดยจากสถิติ World Market and Trade – USDA (มิถุนายน 2562) ระบุว่า
[su_spacer]
- ไนจีเรียผลิตข้าวได้ในปี 2561 จํานวน 4.66 ล้านตัน ความต้องการบริโภค 7.20 ล้านตัน
- น้ำตาลผลิตได้ปีละ 220,000 เต้น ความต้องการ 1.5 ล้านตัน
- ข้าวสาลีผลิตได้ปีละ 100,000 ตัน ความต้องการ 4 ล้านตัน
- ข้าวโพดผลิตได้ปีละ 12 ล้านตัน ความต้องการ 16 ล้านตัน รวมทั้งต้องสํารองไว้ใน ยุทธศาสตร์การสํารองอาหารอีก 4 ล้านตัน
[su_spacer]
นอกจากนี้ ไนจีเรียยังคงต้องนําเข้าสินค้าจากต่างประเทศอยู่เพราะการผลิตภายในประเทศไม่สามารถตอบสนองอุปสงค์ได้อย่างเพียงพอ นโยบายการพัฒนาทางการเกษตรยังอยู่ในชั้นเริ่มต้นและขาดสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนา จึงเป็นโอกาสของนักธุรกิจไทยที่สนใจที่จะติดต่อทางการค้าและการลงทุนกับฝ่ายไนจีเรีย ซึ่งในสายตาของชาวไนจีเรียแล้ว ไทยเป็นประเทศที่ประสบความสําเร็จในการพัฒนาเกษตรกรรม รวมทั้งให้การยอมรับและชื่นชมสินค้าการเกษตรที่มีคุณภาพ ดังนั้น ผู้แทนภาครัฐของไทยอาจพิจารณาเป็นผู้นําคณะนักธุรกิจเดินทางไนจีเรียเพื่อพบปะกับผู้ประกอบการเอกชนและภาครัฐเพื่อสร้างโอกาสในธุรกิจและเครือข่ายการติดต่อระหว่างกัน โดยมีผู้แทนภาครัฐก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา