นักวิเคราะห์ประเมินว่า อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในอินเดียมีแนวโน้มที่จะเติบโตอยางแข็งแกร่ง โดยจะมี มูลค่า 4.7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2568 หรือเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 80 ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยหนุนต่าง ๆ เช่น 1) กลุ่มชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2) ไลฟ์สไตลผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และต้องการตัวเลือกที่คุณภาพสูงและหลากหลาย 3) ชุมชนเมืองที่เติบโตอยางรวดเร็วเปิดโอกาสให้ธุรกิจฟูดเดลิเวอรี่ และอาหารกึ่งสำเร็จรูปเป็นที่ตองการมากขึ้น และ 4) รัฐบาลอินเดียมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนภาคเกษตรและ อุตสาหกรรมอาหารเพื่อเพิ่มการส่งออกสินค้าอาหารสู่ตลาดโลก
นักวิเคราะห์มองแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในอินเดีย ปี 2567 อย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางกลยุทธรุกตลาดอินเดียต่อไปสำหรับผู้ประกอบการไทยต่อไป
1) วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นจะได้รับความสนใจมีมากขึ้น
อินเดียเป็นประเทศใหญ่ที่มีวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นที่หลากหลายและเป็นที่รู้จักในเวทีนานาชาติ ส่งผลให้คนอินเดียยุคใหม่หันกลับมาสนใจเรียนรู้รากเหง้าทางวัฒนธรรมของตนเอง และมีความพิถีพิถันในการเลือกรับประทานอาหารมากขึ้น โดยอาหารแนวคราฟท์ หรือสไตล์ Chef’s Table มีแนวโน้มเปนที่นิยมมากขึ้น ดังนั้น การพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ โดยร่วมมือกับเชฟที่มีชื่อเสียงในกลุ่มคนอินเดียรุ่นใหมก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่น่าสนใจในการนำเสนอความเป็นไทย ให้เข้ากับความชื่นชอบของคนอินเดีย
2) อาหารชวนคิดถึงวันวาน (nostalgia) จะได้รับความนิยมมากขึ้น
เป็นผลจากกลุ่มคน Gen-X และ Gen-Y (millennium) อยู่ในวัยทำงานที่มีรายได้สูง มีแนวโน้มเลือกบริโภคอาหารที่ทำให้รำลึกถึงความสุขในวัยเด็กในอดีต รวมทั้งอาหารที่ให้ความรูสึกโฮมเมดหรือเป็นสูตรโบราณดั้งเดิม ในขณะที่อาหารแนวยุคใหม่อาจให้ความรูสึกจำเจและไม่มีเรื่องราว (no storytelling) ผู้ประกอบการจึงอาจให้ความสำคัญกับมิติ nostalgia ในการทำการตลาดและกำหนดภาพลักษณ์ของสินค้าด้วย
3) ซอสจิ้มและเครื่องปรุงรสใหม่ ๆ จะเป็นที่ต้องการมากขึ้น
สืบเนื่องจากที่คนอินเดียนิยมรับประทานของทานเล่น โดยเฉพาะของทอด และรับประทานอาหารจานหลักควบคู่กับเครื่องปรุงรส เช่น ชัทนี่ (chutney) ซอสจิ้มและ เครื่องปรุงรสใหม่ ๆ จึงเป็นทางเลือกที่สะดวกในการนำเสนอรสชาติอาหารไทยเพื่อสร้างสีสันให้กับอาหารประจำวันชาวอินเดีย อีกทั้งคนอินเดียคุ้นเคยกับซอสต่าง ๆ ของไทยอยูแล้ว เช่น น้ำจิ้มไก่ น้ำจิ้มสะเต๊ะ ซอสมะขาม และซอสศรีรีาชา
4) สินค้าของทานเล่นมีอนาคตสดใส
คนอินเดียนิยมรับประทานของทานเล่นระหว่างมื้อ หรือพักเบรกดื่มชา ซึ่งรวมถึง ซาโมซา (คล้ายกะหรี่ปั๊บ) เกี๊ยวสไตล์จีน (คนอินเดียเรียกว่าโมโม) ข้าวพอง/ถั่วคลุกเครื่องเทศ (chivda) คุกกี้ เค้ก และ ขนมเบเกอรี่ต่าง ๆ โดยมีแนวโน้มที่ของทานเล่นที่ปรุงได้ง่ายไม่ยุ่งยาก และมีคุณค่าทางโภชนาการจะได้รับความนิยม มากขึ้น เช่น สินค้าสำเร็จรูปแช่แข็ง การนำเสนอรสชาติใหม่ ๆ จากต่างวัฒนธรรม การใช้วิธีอบแทนการทอด การใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติและทำจากพืช (plant-based) การงดการใช้สารเคมีปรุ่งแตง และการเสริมวิตามินและแร่ธาตุ
5) ของหวานต้องมีคุณค่าทางโภชนาการและดีต่อสุขภาพด้วย
แม้ของหวานอินเดียมักขึ้นชื่อว่าหวานจัดจนแสบคอ แต่คนอินเดียก็มีความระมัดระวังมากขึ้นในการรับประทานของหวาน โดยนิยมบริโภคของหวานที่ใช้สารให้ความหวานจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาลทำจากอ้อย (jaggery/gur) หญ้าหวาน และน้ำผึ้ง รวมถึงของหวานที่มีธัญพืชที่อุดมด้วยไฟเบอร์ เช่น ข้าวฟ่าง (millet) และเมล็ดบัวอบพอง (makhana) โดยเฉพาะข้าวฟ่างเปนพืชที่ทนแล้งได้ดีและมี โภชนาการสูง รัฐบาลอินเดียจึงส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกขาวฟ่างมากขึ้นเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งได้เสนอให้สหประชาชาติรับรองให้ปี 2566 เป็นปีข้าวฟ่างสากล (International Millet Year) อีกด้วย นอกจากนี้ ชาวอินเดียยังหันมาแบ่งรับประทานพอดีหนึ่งหน่วยบริโภค (single portion) เพื่อควบคุมปริมาณแคลอรี่ได้สะดวกขึ้น
6) การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (gastronomy tourism)
คนอินเดียยุคใหม่มีประสบการณ์ท่องเที่ยวในต่างประเทศ และมีทัศนคติเปิดกว้างกับวัฒนธรรมอาหารแปลกใหม่มากขึ้น โดยอาหารต่างชาติที่อินเทรนด์มักผูกโยงกับ “Soft power” และ “การเล่าเรื่อง (storytelling)” ของประเทศนั้น ๆ ได้แก่
1) สื่อบันเทิงที่เป็นที่นิยม โดยเฉพาะอาหารเกาหลีที่มาแรงในระยะหลายปีที่ผ่านมาเนื่องจากความนิยมละครเกาหลี และดนตรี K-POP
2) การสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านสตรีทฟู้ด นักท่องเที่ยวยุคปัจจุบันตองการประสบการณ์ของแท้ที่ไม่ปรุงแต่ง (authentic) และความรูสึกได้ผจญภัยลิ้มลองสิ่งแปลกใหม่ด้วยตนเอง
3) การนำเสนอผ่านสตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะ Netflix ซึ่งคนอินเดีย จำนวนไม่น้อยรู้จักไข่เจียวปูเจ๊ไฝจากรายการ Street Food: Asia และความสำเร็จในระดับโลกของเจ๊ไฝเป็น แรงบันดาลใจให้คนอินเดียหันมาส่งเสริมอาหารอินเดียให้เป็นที่รู้จักในเวทีโลกมากขึ้น
4) การเปิดจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวใหม่ ๆ สำหรับคนอินเดีย เช่น เวียดนาม เป็นประเทศที่คนอินเดียเสิร์ชกูเกิลมากที่สุดในปี 2566 สะท้อนให้เห็นถึงความตองการเรียนรู้วัฒนธรรมอาหารใหม่ ๆ ของนักทองเที่ยวชาวอินเดีย
7) อาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 รัฐบาลอินเดียออกนโยบายห้ามและลดการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวที่ไม่จำเป็น ซึ่งรวมถึงถุงหิ้ว บรรจุภัณฑ์อาหาร จาน ถ้วย ช้อนส้อม หลอดดื่มน้ำ และพลาสติกห่ออาหาร ซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนเป็นอยางดี เช่น ห้างสรรพสินค้างดแจกถุงหิ้วพลาสติก แอปพลิเคชันสั่งอาหารมีเมนูให้เลือกไม่รับช้อนส่อมพลาสติกได้ และร้านอาหารหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ทำจากวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ ดังนั้น คนอินเดียจึงมีความคาดหวังให้ผู้ประกอบการแสดงความใส่ใจในมิติ สิ่งแวดล้อมในการพัฒนาสินค้าอาหารด้วย
แนวโน้มข้างต้นสะท้อนถึงทัศนคติของผู้บริโภคชาวอินเดียที่เปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็วและพร้อมจะทดลองรับประทานอาหารแปลกใหม่ที่มาแรงตามกระแสสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งผู้ประกอบการไทย ควรใช้ประโยชน์จากความนิยมอาหารไทยที่มีอยู่แล้ว เช่น แกงเขียวหวาน แกงเผ็ด ต้มข่า ส้มตำ ผัดไทย ซึ่งเป็นเมนูที่ขาดไม่ได้สำหรับคนอินเดีย และอาจนำรสชาติไปประยุกต์เป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและขนมขบเคี้ยว
ผู้ประกอบการไทยยังสามารถขยายตลาดสำหรับเหล่าผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทาน/แช่แข็งของไทยที่มีคุณภาพ เช่น ข้าวสวยพร้อมกับข้าว ขนมจีบ ลูกชิ้น เกี๊ยว ที่เป็นที่รู้จักในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติจากร้านสะดวกซื้อ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายในอินเดีย จึงเป็นโอกาสดีที่ผู้ประกอบการไทยจะเริ่มเปิดตลาด นอกจากนี้ ไทยยังโด่งดังเรื่องสตรีทฟู้ดที่มีชี่อเสียง ซึ่งเจ๊ไฝเป็นตัวอย่างที่ดี โดยอาจร่วมมือกับเชฟ/ร้านอาหารเก่าแก่/ร้านอาหารที่ได้รับดาวมิชิลิน ในการสร้างเรื่องราวให้กับผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
ในห้วงปี 2566 ที่ผ่านมา สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความนิยมอาหารไทยและเพิ่มโอกาสการส่งออกสินค้าอาหารไทยมาอินเดียมากขึ้น เช่น เทศกาลส่งเสริมอาหารและผลไม้ไทย “Thailand Food and Fruit Fiesta 2023” ณ ซูเปอรมาร์เก็ต Spencer’s, South City Mall โดยร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี รวมถึงมีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการประกอบอาหารไทยกับสถาบัน International Institute of Hotel Management (IIHM) และมหาวิทยาลัย Sister Nivedita ซึ่งได้เชิญ food blogger ในเมืองกัลกัตตามาเรียนทำอาหารไทย โดยสถานกงสุลใหญ่ฯ จะศึกษาลู่ทางการร่วมมือ กับ food blogger เพื่อนำไปสู่การเผยแพร่คอนเท้นท์เกี่ยวกับอาหารไทยและนำเสนอผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ ๆ จากผู้ประกอบการไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในกลุ่มตลาดคนอินเดียรุ่นใหม่มากยิ่งขึ้น
ข้อมูล: สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา
เรียบเรียงโดย ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์