สถานการณ์การนําเข้าเนื้อสัตว์ปีกในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในภาพรวม การนําเข้าเนื้อสัตว์ปีกระหว่างเดือน ม.ค. – เม.ย. 2563 ในเช็กลดลง ดังนี้ โปแลนด์(-7.7%) ฮังการี (-10.6%) ยูเครน (-49.9%) และฝรั่งเศส (-32%) แต่การนําเข้าจากสโลวะเกียและเยอรมนีกลับเพิ่มขึ้นถึง 119.5% และ 32.1% ตามลําดับ ส่วนการนําเข้าจากบราซิล (-24.5%) และไทย (-4.6%) ก็ลดลงเช่นกัน โดยมีมูลค่าการนําเข้าจากไทย 4.402 ล้านบาท
[su_spacer]
สําหรับการนําเข้าสินค้าประเภทไก่หมักเกลือระหว่างเดือน ม.ค. – เม.ย. 2563 การนําเข้าจากไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 57% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 17.73 ล้านบาท ในขณะที่การนําเข้าจากประเทศผู้ผลิตอื่นทั้งในและนอกยุโรปปรับตัวลดลงทั้งหมด เช่น บราซิล (-17.2%) เนเธอแลนด์ (-32.6%) ยูเครน (-84.4%) และโปแลนด์ (-22.8%)
[su_spacer]
การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ เริ่มหันกลับมาให้ความสําคัญกับประเด็นความมั่นคงด้านอาหารและการพึ่งพาผลผลิตภายในประเทศ (self-sufficient production) ซึ่งเช็กก็เริ่มมีการเรียกร้องจากเกษตรกรท้องถิ่นและกลุ่มที่สนับสนุนสินค้าท้องถิ่น และสภาผู้แทนราษฎรเช็กอยู่ระหว่างการพิจารณาแก้ไขกฎหมาย เพื่อกําหนดให้ตั้งแต่ปี 2564 ร้านค้าจําหน่ายของสด และร้านจําหน่ายอาหารจะต้องมีการกําหนดสัดส่วนการจําหน่าย สินค้าที่ผลิตโดยเกษตรกรท้องถิ่นของเช็กอย่างน้อย 55% และภายในปี 2570 จะต้องเพิ่มสัดส่วนเป็น 85% ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการเกษตรของเช็ก อย่างไรก็ดี ประเด็นหลักที่ยังคงอยู่ระหว่างการถกเถียงกันของหลายฝ่ายคือ มาตรการดังกล่าวอาจก่อให้เกิดปริมาณสํารองอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน และราคาสินค้าเกษตรที่อาจเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากอุปทานในตลาดลดลง นอกจากนี้ นโยบายอุดหนุนสินค้าเกษตรและกีดกันสินค้าเกษตรจากประเทศสมาชิกอียูอาจเป็นการละเมิดข้อกําหนดของ European Single Market
[su_spacer]
สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ปริมาณความต้องการสินค้าบางประเภทลดลงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าในกลุ่มธุรกิจ HORECA ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังคงมีความไม่แน่นอน จึงคาดการณ์ว่า ความต้องการสินค้าของกลุ่มธุรกิจ HORECA ซึ่งรวมถึงการนําเข้าไก่จากไทยยังคงมีแนวโน้มลดลงในช่วงระยะนี้
[su_spacer]