วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 มณฑลไห่หนานและเมืองเซินเจิ้น (มณฑลกวางตุ้ง) เป็นพื้นที่แรกของจีนที่ กำหนดใช้นโยบาย “มาตรฐานการวัดและการปลดปล่ อยมลพิ ษทางอากาศจากยานพาหนะขนาดเล็ก (น้ำหนักไม่เกิน 3.5 ตัน) ระดับ 6” ที่จะควบคุมปัญหามลพิ ษทางอากาศจากยานพาหนะ โดยเมืองอื่น ๆ เช่น นครกว่างโจว จะกำหนดใช้มาตรฐานดังกล่าวในวั นที่ 1 มีนาคม 2562 นอกจากนี้ กรุงปักกิ่ง นครเทียนจิน มณฑลชานตงและมณฑลเหอเป่ย จะเริ่มกำหนดใช้นโยบายดังกล่าว ในวันที่ 1 มกราคม 2562 ซึ่งนโยบายข้างต้น กระทรวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้ อมและสำนักงานควบคุมตรวจสอบคุ ณภาพและกักกันโรคแห่งชาติจีน ได้ประกาศไว้ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2559 [su_spacer size=”20″]
“มาตรฐานการวัดและการปลดปล่ อยมลพิ ษทางอากาศจากยานพาหนะขนาดเล็ก ระดับ 6” เป็นนโยบายทางสิ่งแวดล้อมของจี นที่จะเข้ามาเป็นตัวควบคุ มและแก้ไขปัญหามลพิษในจีน โดยมีทั้งหมด 6 ระดับ ซึ่งระดับ 6 เป็นการควบคุมระดับสูงสุด แบ่งเป็นระดับย่อย 2 ระดับ ได้แก่ (1) ระดับ 6A มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 และ (2) ระดับ 6B มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป [su_spacer size=”20″]
มาตรฐานฯ “ระดับ 6” ของจีน มีการกำหนดมาตรฐานการปล่อยมลพิ ษที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานฯ ระดับ 6 ของยุโรป ที่เพียงกำหนดให้ก๊าซคาร์ บอนมอนอกไซด์ (CO) ไม่เกิน 1,000 มล./กม. ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ไม่เกิน 60มล./กม. และฝุ่นละอองขนาดเล็ก ไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM) ไม่เกิน 5 มล./กม. [su_spacer size=”20″]
มณฑลไห่หนานได้ยกเลิ กมาตรการการควบคุมการลงทุนด้ านรถยนต์พลังงานใหม่ของบริษัทต่ างชาติเพื่อผลักดันและส่งเสริ มการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์พลั งงานใหม่ในพื้นที่ เสริมสร้างปัจจัยที่เอื้อแก่ การลงทุน เพื่อผลักดันการใช้และการส่ งออกรถยนต์พลังงานใหม่ ในอนาคตตามแผนพัฒนา “เขตนำร่องการค้าเสรีมณฑลไห่ หนาน” ที่ประกาศเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2561 โดยมีเป้าหมายที่จะใช้รถยนต์พลั งงานไฟฟ้าจำนวน 30,000 คันขึ้นไป ติดตั้งสถานีชาร์ตแบตเตอรีจำนวน 28,000 เครื่องขึ้นไป ภายในปี 2563 ปัจจุบัน มณฑลไห่หนานมีจำนวนการใช้รถพลั งงานไฟฟ้าแล้วกว่า 15,000 คัน และสถานีชาร์ตแบตเตอรีจำนวน 2,881 เครื่อง [su_spacer size=”20″]
รถยนต์ที่ไม่ได้มาตรฐานจะได้รั บผลกระทบอย่างไร
บุคคลที่ซื้อรถยนต์ขนาดเล็กที่ ผลิตไม่ตรงตามมาตรฐานฯ ที่กำหนด จะไม่สามารถขึ้นทะเบียนรถยนต์ และขอป้ายทะเบียนได้ นอกจากนี้ รถที่ต้องการย้ายป้ายทะเบี ยนไปยังเมืองที่ใช้มาตรฐานฯ ดังกล่าวอยู่ จะต้องเป็นรถที่มีคุณสมบัติ ตรงตามที่กำหนดเท่านั้น [su_spacer size=”20″]
จากรายงาน “สถานการณ์สภาพอากาศโลก ประจำปี ค.ศ. 2017” ของสหรัฐอเมริกา ระบุว่ามีจำนวนประชากรกว่า 95% ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีค่า PM 2.5 เกินกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามั ยโลกกำหนดไว้ (10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) โดยประเทศอินเดีย ปากีสถาน และจีน มีประชากรกว่า 86% อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีค่า PM 2.5 สูงถึง 75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร [su_spacer size=”20″]
จากนโยบายดังกล่าวจะเห็นได้ว่ าจีนให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่ งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ซึ่งการได้รับการสนับสนุนที่ดี จากรัฐบาล รวมไปถึงการออกกฎระเบียบข้อบั งคับต่าง ๆ ที่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นจริง จะช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเหล่ านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจีนก็ได้แสดงให้เห็นอย่ างเป็นรูปธรรมแล้วสำหรับการแก้ ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการออกนโยบายควบคุ มการปล่อยมลพิษทางรถยนต์ การผลักดันการใช้รถยนต์พลั งงานใหม่ในประเทศ จะเริ่มเห็นได้ชัดเจนจากเมื องใหญ่ ๆ เช่น เมืองเซินเจิ้น ที่ใช้รถเมล์พลังงานไฟฟ้า ทั้งหมดเป็นแห่งแรกของโลกเมื่ อปี 2560 และการส่งเสริมการใช้รถพลั งงานใหม่ในมณฑลกวางตุ้ง โดยให้เงินสนับสนุนสูงสุดเต็ มจำนวนและผลักดันการใช้รถเมล์ พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดจำนวน 10,000 คัน ภายในสิ้นปี 2561 นี้ [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว