Tuesday, May 20, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

สถานการณ์และความท้าทายของยางพาราไทยในมณฑลยูนนาน

29/07/2020
in ทันโลก, เอเชีย
0
สถานการณ์และความท้าทายของยางพาราไทยในมณฑลยูนนาน
16
SHARES
163
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

ที่ผ่านมามณฑลยูนนานนําเข้ายางพาราจากประเทศไทยผ่านการขนส่งทางแม่น้ำโขง โดยออกจากท่าเรือ เชียงแสน จ. เชียงราย ไปยังท่าเรือกวนเหล่ยในเขตฯ สิบสองปันนาของมณฑลยูนนาน โดยการขนส่งทางเรือใน แม่น้ำโขง ซึ่งมีข้อได้เปรียบจากต้นทุนการขนส่งที่ไม่สูงมากและสามารถขนส่งได้คราวละเป็นจํานวนมาก อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่มณฑลยูนนานนําเข้ายางพาราจากประเทศไทยลดลงเป็นอย่างมากทำให้เริ่มมีการขนส่งผ่านถนนสาย R3A มากขึ้น

[su_spacer]

ในปี 2556 มณฑลยูนนานนําเข้ายางพาราจากประเทศไทยมูลค่ารวม 198.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงที่สุดที่มณฑลยูนนานนําเข้าจากประเทศไทย ก่อนจะมีมูลค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งล่าสุดในปี 2562 มูลค่าการนําเข้ายางพาราจากไทยของมณฑลยูนนานลดลงถึงหนึ่งในสี่จนเหลือเพียง 29.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุสําคัญซึ่งส่งผลให้มณฑลยูนนานลดการนําเข้ายางพาราจากประเทศไทยมาจากการหันไปนําเข้ายางธรรมชาติจาก สปป. ลาวและเมียนมามากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับพัฒนาการยางพาราของมณฑลยูนนานที่รัฐวิสาหกิจกลุ่มบริษัทหยุนเจียวของยูนนานเข้าไปลงทุนในลาวเป็นอย่างสูง รวมทั้งยังเป็นผู้ดําเนินโครงการส่งเสริมการปลูกพืช ทดแทนพืชเสพติดในภาคเหนือของเมียนมาอีกด้วย ทั้งนี้ ในปี 2562 มณฑลยูนนานนําเข้ายางพาราจากลาวมูลค่า 256.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 54.18 ของมูลค่าการนําเข้ายางพาราจากต่างประเทศทั้งหมดของมณฑลยูนนาน ขณะเดียวกันมณฑลยูนนานนําเข้ายางพาราจากเมียนมามูลค่า 187.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.45 ของมูลค่าการนําเข้ายางพาราจากต่างประเทศทั้งหมดของมณฑลยูนนาน โดยในภาพรวมมณฑลยูนนานจะนําเข้ายางธรรมชาติจาก สปป. ลาวและเมียนมาเป็นหลัก และนําเข้ายางสังเคราะห์จากประเทศไทย

[su_spacer]

มณฑลยูนนานยังคงมีความต้องการนําเข้ายางธรรมชาติในปริมาณมาก โดยเฉพาะจาก สปป. ลาวและเมียนมาที่รัฐวิสาหกิจของมณฑลได้เข้าไปลงทุนส่งเสริมการเพาะปลูกเนื่องจากผลผลิตภายในมณฑลไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 มณฑลยูนนานยังประสบปัญหาความแห้งแล้งและโรคราแป้งในต้นยางพารา ส่งผลให้มีผลผลิตน้ำยางสดลดลงอย่างมาก ประกอบกับสถานการณ์โรคระบาดส่งผลให้มณฑลยูนนานชะลอการนําเข้ายางพาราจากต่างประเทศ อันเป็นผลมาจากการหยุดการผลิตชั่วคราวของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โดยในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. 2563 มูลค่าการนําเข้ายางพาราจากต่างประเทศของมณฑลยูนนานลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 86.09 นอกจากนี้ รัฐบาลมณฑลยูนนานยังได้ยึดระยะเวลาการประกาศ “โควตาการเพาะปลูกพืชทดแทน” ซึ่งกําหนดกรอบเกณฑ์การดําเนินงานของบริษัทจีนที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลมณฑลยูนนานให้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมเพาะปลูกทดแทนพืชเสพติดในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในแต่ละปีจะกําหนดปริมาณพื้นที่การเพาะปลูกพืชแต่ละชนิดและปริมาณผลผลิตชนิดต่าง ๆ ที่สามารถนําเข้ากลับมาในประเทศจีน โดยในขณะนี้ที่ รบ. มณฑลยูนนานยังไม่ประกาศโควตาดังกล่าว จึงทําให้บริษัทจีนที่เข้าไปลงทุนปลูกยางพาราในประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้โครงการนี้ยังไม่สามารถนําเข้าผลผลิตยางพารากลับมายังจีนได้ ทําให้ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทแปรรูปยางพาราบางส่วนของมณฑลยูนนานต้องเปลี่ยนไปซื้อยางจากมณฑลอื่น โดยเฉพาะเมืองชิงต่าว ทั้งนี้ คาดว่ารัฐบาลมณฑลยูนนานอาจจะประกาศโควตาการนําเข้ายางพาราภายใต้โครงการปลูกพืชทดแทนพืชเสพติดในประเทศเพื่อนบ้านภายในสิ้นเดือน ก.ค. 2563

[su_spacer]

จากการประมวลพัฒนาการและแนวโน้มอุตสาหกรรมยางพาราของมณฑลยูนนานแสดงให้เห็นถึงลักษณะของจีนที่พร้อมจะเข้ามาดําเนินการในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและมีความจําเป็นต่อระบบเศรษฐกิจจีนแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยในด้านยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันยังผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของมณฑลยูนนาน แต่ยางพาราไทยก็ประสบความท้าทายจากการหันมาทําการเกษตรแบบมีสัญญา (Contract farming) ของมณฑลยูนนาน ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว รวมทั้งภายใต้โครงการส่งเสริมเพาะปลูกพืชทดแทนพืชเสพติดในเมียนมาซึ่งในอนาคตอันใกล้ การแลกเปลี่ยนสินค้าและโภคภัณฑ์มณฑลยูนนานกับประเทศเพื่อนบ้านจะเป็นไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้นอันเป็นผลจากความเชื่อมโยงในทุกมิติผ่านโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน – สปป. ลาว และโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา

[su_spacer]

สําหรับผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากยางพารา โดยเฉพาะหมอนและที่นอน ซึ่งเป็นสินค้าไทยที่ได้รับ การยอมรับและมีศักยภาพในตลาดจีน ก็เริ่มปรากฏความท้าทายจากการหันมาเริ่มส่งเสริมพัฒนาการผลิตสินค้าแปรรูปจากยางพาราของมณฑลยูนนานในเขตฯ สิบสองปันนา จากที่แต่เดิมมณฑลยูนนานสามารถผลิตและแปรรูปยางพาราเป็นสินค้าพื้นฐานที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูงมากเท่านั้น นอกจากนี้ ปัจจุบันยังเริ่มมีบริษัทจีนเข้าไปตั้งโรงงานผลิตหมอนและที่นอนยางพาราในประเทศไทยในลักษณะการผลิตเพื่อรองรับเครื่องหมายการค้าจีนที่ตั้งขึ้นมาเอง (OEM) ก่อนส่งกลับมาขายในจีน ดังนั้น ความท้าทายที่เพิ่มขึ้นของสินค้าไทยประเภทนี้จึงไม่จํากัดอยู่ที่ของลอกเลียนแบบหรือสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย (made in Thailand) เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสินค้าที่ผลิตสําหรับจีน (made for China) และสินค้าที่ผลิตโดยจีน (made by China) ซึ่งกําลังเป็นคู่แข่งสําคัญของสินค้าไทยประเภทนี้ในตลาดจีน

[su_spacer]

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง 

Tags: การเกษตรจีนอุตสาหกรรมไทย
Previous Post

ยูเออีสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในโลก

Next Post

ติดตามพัฒนาการด้านมาตราการพรมแดนของเดนมาร์ก

Tanakorn

Tanakorn

Glob Thailand Administrator

Next Post
ติดตามพัฒนาการด้านมาตราการพรมแดนของเดนมาร์ก

ติดตามพัฒนาการด้านมาตราการพรมแดนของเดนมาร์ก

Post Views: 787

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X