Saturday, May 17, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

โอกาสและความท้าทายของ Cross-Border E-Commerce ระหว่างไทย-จีน

23/12/2022
in ทันโลก, คมนาคม I โลจิสติกส์, ทวีปเอเชีย, ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
0
โอกาสและความท้าทายของ Cross-Border E-Commerce ระหว่างไทย-จีน
0
SHARES
1k
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

ตอนที่ 1 : ทำความรู้จัก E-Commerce ข้ามพรมแดน

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (Cross-Border E-Commerce: CBEC) คือ ช่องทางการค้ารูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นการนำเข้าและส่งออกสินค้าเพื่อจำหน่ายบนแพลต์ฟอร์มออนไลน์ โดยสินค้าที่นำเข้าหรือส่งออกผ่านรูปแบบ CBEC สามารถทำได้ง่ายกว่าการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าแบบปกติ เมื่อปี 2564 จีนมีมูลค่าการค้ากับต่างประเทศรูปแบบ CBEC กว่า 306,976 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.9 ของมูลค่าการค้ากับต่างประเทศทั้งหมดของจีน โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรม CBEC ของจีนขยายตัวกว่า 10 เท่า และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวสูงขึ้นซึ่ง CBEC จะกลายเป็นช่องทางการค้ากับต่างประเทศที่สำคัญในอนาคตและอาจเป็นโอกาสที่สำคัญของผู้ประกอบการไทยที่ต้องการจะบุกตลาดจีน

ปัจจุบันรัฐบาลจีนมีการจัดตั้ง “เขตนำร่องบูรณาการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน” (China Cross-Border E-Commerce Comprehensive Pilot Zone) มากถึง 165 แห่งทั่วจีน โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ (1) ส่งเสริม “การส่งออก” สินค้า SMES จีน เพื่อจำหน่ายในแพลตฟอร์มออนไลน์ในต่างประเทศ และ (2) ส่งเสริม “การนำเข้า” สินค้าจากต่างประเทศ เพื่อมาจำหน่ายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในจีน

ก่อนที่จะมาเป็น “CBEC”

ผู้บริโภคชาวจีนรู้จักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) มาตั้งแต่ปี 2546 โดยอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซจีนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนทำให้มีห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่สมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีนมีเทคโนโลยีจำหน่ายสินค้า ชำระเงิน และจัดส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ต่อมาในปี 2556 คณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนาแห่งชาติจีน (National Development and Reform Commission) และกระทรวงการคลังจีน จึงได้ประกาศมาตรการเร่งส่งเสริมการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของจีน และส่งเสริมการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพื่อจำหน่ายผ่านทางออนไลน์ในจีนอย่างถูกกฎหมาย รวดเร็ว และเสียภาษีน้อยกว่าการนำเข้าแบบดั้งเดิม จึงเป็นที่มาของการค้าในรูปแบบ “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน” หรือ Cross-Border E-Commence (CBEC)

รู้จัก “CBEC”

เมื่อปี 2558 คณะรัฐมนตรีจีนได้จัดตั้งเขตนำร่องบูรณาการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (China Cross-Border E-Commerce Comprehensive Pilot Zone) ขึ้นป็นครั้งแรก ที่เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้าและส่งออกสินค้าในรูปแบบ CBEC โดยเป็นโครงการที่ส่งเสริมความเชื่อมโยงทางการค้าระหว่าง SMEs จีนกับตลาดผู้บริโภคทั่วโลกภายใต้ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative) และสอดคล้องกับนโยบาย “ก้าวออกไป” (Going out) ที่จีนสนับสนุนให้วิสาหกิจอีคอมเมิร์ซออกไปลงทุนดำเนินธุรกิจแพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าในต่างประเทศมากขึ้น

CBEC เพื่อการนำเข้า

เขตนำร่องบูรณาการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนเป็นพื้นที่ดำเนิน “โครงการนำร่องนำเข้าสินค้าเพื่อค้าปลีกผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน” หรือ Cross-border E-commerce Retail Importation Program ซึ่งเป็นโครงการที่สนับสนุนและอำนวยความสะดวกการ “นำเข้า” สินค้าจากต่างประเทศเพื่อจำหน่ายบนแพลตฟอร์ม CBEC ในจีนโดยเฉพาะ ซึ่งคณะรัฐมนตรีจีนได้อนุมัติโครงการครั้งแรกเมื่อปี 2559 เพื่อตอบสนองต่อความต้องการสินค้าจากต่างประเทศ โดยปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีจีนได้อนุมัติเมืองนำร่องดำเนินโครงการดังกล่าวแล้วจำนวน 86 แห่งทั่วจีน

“รูปแบบการนำเข้าสินค้า” เพื่อจำหน่ายผ่านทางแพลตฟอร์ม CBEC แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) การนำเข้าผ่านคลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse Import) โดยผู้นำเข้าจะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมาเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยไม่ต้องผ่านพิธีศุลกากรและยังไม่ต้องเสียภาษี จนกว่าผู้บริโภคจะสั่งซื้อสินค้า (2) การส่งสินค้าจากปลายทางไปยังผู้บริโภคโดยตรง (Direct Mailing Mode) โดยผู้บริโภคสั่งสินค้า ชำระเงินและเสียภาษี ผ่านแพลตฟอร์ม CBEC โดยผู้ค้าจะส่งสินค้าจากประเทศปลายทางไปยังผู้บริโภคที่อยู่ในจีนโดยตรงผ่านระบบโลจิสติกส์ที่ร่วมมือกับแพลตฟอร์ม โดยสินค้าจะผ่านพิธีศุลกากรทันที่เมื่อถึงด่านการค้าของจีนก่อนที่จะจัดส่งต่อไปยังมือผู้บริโภค

รายการสินค้าที่นำเข้าในรูปแบบของ CBEC ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอางง เสื้อผ้าสำเร็จรูป เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ รายการสินค้าที่นำเข้าจะได้รับสิทธิประโยชน์ประการต่าง ๆ อาทิ สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี รวมไปถึงมาตรการสนับสนุนการบริโภคอีกด้วย

โอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย

ในอนาคต CBEC จะกลายเป็นช่องทางนำเข้าและส่งออกที่โดดเด่นมากขึ้นของจีน ซึ่งเห็นได้จากแนวโน้มการเติบโตในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนของการส่งออกและนำเข้าโดย CBEC ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเมื่อปี 2558 CBEC มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 1 ของการค้ากับต่างประเทศทั้งหมดของจีน แต่เพิ่มเป็นร้อยละ 4.9 ในปี 2564 ถึงแม้ในช่วงที่ผ่านมา จีนจะประสบกับภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 และดำเนินมาตรการที่เข้มงวดก็ตาม

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะนำสินค้าเข้ามาไปสู่ตลาดจีน อาจเห็นภาพชัดขึ้นว่า CBEC เป็นอีกช่องทางจำหน่ายสินค้าที่ง่ายและสะดวกกว่าช่องทางอื่น ๆ อย่างไรก็ดี ประตูการค้าของจีนมีหลายบาน การเลือกเมืองที่จะมาเป็นฐานยุทธศาสตร์การค้าต้องพิจารณาปัจจัยหลายประการ โดยในตอนหน้า จะมาแนะนำอุตสาหกรรม CBEC ของมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นมณฑลชั้นนำของจีนในการดำเนินอุตสาหกรรม CBEC และมาดูว่าผู้ประกอบการไทยจะสามารถใช้ประโยชน์จากความโดดเด่นของมณฑลกวางตุ้งได้อย่างไรบ้าง

ข้อมูล: สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว

เรียบเรียง: ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์

Tags: slideshow
Previous Post

สปป. ลาวส่งเสริมเลี้ยงโคและกระบือเพื่อส่งออกไปจีน

Next Post

‘The Red Sea International Film Festival’: โอกาสใหม่ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในซาอุดีฯ

Globthailand

Globthailand

Next Post
‘The Red Sea International Film Festival’: โอกาสใหม่ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในซาอุดีฯ

‘The Red Sea International Film Festival’: โอกาสใหม่ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในซาอุดีฯ

Post Views: 2,350

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025
เกาหลีใต้รับมือภาษีตอบโต้สหรัฐฯ มาตรการเร่งด่วนและยุทธศาสตร์พยุงเศรษฐกิจ

เกาหลีใต้รับมือภาษีตอบโต้สหรัฐฯ มาตรการเร่งด่วนและยุทธศาสตร์พยุงเศรษฐกิจ

10/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X