นอกจากทุเรียน และมังคุดแล้ว ปัจจุบัน ‘มะพร้าว’ เป็นพระเอกดาวรุ่งดวงใหม่ของผลไม้เมืองร้อน (ไทย) ในตลาดจีน โดยดีมานด์ในตลาดจีนมีทั้งมะพร้าวอ่อนเพื่อการบริโภคน้ำมะพร้าวสด หรือนำมาปรุงให้เข้ากับวัฒนธรรมการกินสไตล์ท้องถิ่นจีน และมะพร้าวแก่เพื่อนำมาทำน้ำกะทิ หรือการแปรรูปเป็นสินค้าอื่น
ย้อนความไปในอดีต ความนิยมในการบริโภค (น้ำ) มะพร้าวในตลาดจีน ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่จีนตอนใต้ สิ่งที่ชวนให้คนไทยต้อง ‘ฉงน’ คือ หากพูดถึง ‘น้ำมะพร้าว’ ที่ชาวจีนนิยมดื่ม มันกลับไม่ใช่น้ำมะพร้าวอ่อนที่เรารู้จักแต่เป็น ‘น้ำนม มะพร้าว’ ที่คล้ายกับหางกะทิของบ้านเรา โดยมียี่ห้อเยซู่ (椰树牌) จากมณฑลไห่หนาน เป็นเจ้าตลาดในจีน ด้วยกระแส ‘เที่ยวเมืองไทย’ของชาวจีน ทำให้น้ำมะพร้าว ‘ตัวจริงเสียงจริง’ ได้เป็นที่รู้จักและนิยมแพร่หลายในตลาด จีน หลังจากที่นักท่องเที่ยวจีนได้มีโอกาสมาดื่มมะพร้าวน้ำหอมสดๆ ที่ไทย ปัจจุบัน นอกจากการดื่มมะพร้าวสดแล้ว ชาวจีนยัง นำน้ำมะพร้าวมา Mix and Match เป็นเมนูที่หลากหลายทั้งคาวและหวาน อาทิ อเมริกาโน่น้ำมะพร้าวชาไข่มุกน้ำมะพร้าว สุกี้ ไก่มะพร้าว และซุปน้ำมะพร้าวตุ๋นยาจีน
รู้หรือไม่ว่า… ประเทศจีนก็ปลูกมะพร้าวได้ แหล่งปลูกมะพร้าวที่สำคัญในจีนอยู่ที่มณฑลไห่หนาน แต่กำลังการ ผลิตคิดเป็น 10% ของความต้องการบริโภคเท่านั้น สถิติปี 2564 มณฑลไห่หนานมีกำลังการผลิตมะพร้าวได้ 250 ล้านลูก แต่ตลาดจีนมีความต้องการบริโภคมะพร้าวสูงถึง 2,600 ล้านลูก ยังไม่รวมความต้องการมะพร้าวเพื่อการแปรรูปอีก 150 ล้านลูก เมื่อการส่งออก ‘มะพร้าวน้ำหอมไทย’ กำลังไปได้สวย และแล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด วิกฤตโควิด–19 ได้แพร่ระบาดและส่งผลกระทบต่อพลวัตรทางเศรษฐกิจในวงกว้าง เชื่อว่าทุกคนคงเกิดคำถามเดียวกันว่า วิกฤตดังกล่าวส่งผลต่อ การส่งออกสินค้าเกษตร โดยเฉพาะผลไม้ไทยไปจีนหรือไม่?
ถ้าจะบอกว่า..ไม่กระทบเลย ก็คงจะเป็นไปไม่ได้ ปีแรกของการระบาดเป็นช่วงเวลาของการปรับตัว และเมื่อประเทศจีน ตั้งลำได้แล้ว ยอดการนำเข้า ‘มะพร้าวน้ำหอมไทย’ก็กลับมาเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลจากศุลกากรแห่งชาติจีน พบว่า ตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 ในปี 2562-2564 ประเทศไทย ‘ยืนหนึ่ง’ ในฐานะแหล่งนำเข้ามะพร้าวของจีน การนำเข้ามะพร้าวทั้งกะลา (พิกัด 08011200) ถือว่าเติบโตได้ดี ทั้งในแง่ปริมาณ (2.49 แสน ตัน /2.45 แสนตัน / 3.33 แสนตัน ตามลำดับ) และมูลค่านำเข้า (1,385 ล้านหยวน / 1,313 ล้านหยวน / 1,837 ล้านหยวน ตามลำดับ) ในช่วง 9 เดือนแรก ปี 2565 ประเทศจีนนำเข้ามะพร้าวทั้งกะลาจากไทยไปแล้ว 382,539 ตัน ปริมาณเพิ่มขึ้น 68.55% (YoY) รวมมูลค่า 2,169 ล้านหยวน หรือเกือบ 11,500 ล้านบาท มูลค่าเพิ่มขึ้น 64.59% (YoY) โดย ‘มะพร้าวไทย’ครองสัดส่วน 48.26% ของปริมาณการนำเข้ารวม และคิดเป็นสัดส่วน 73.38% ในแง่มูลค่าการนำเข้ารวม โดยอินโดนีเซีย (30.77%) เวียดนาม (20.59%) เป็น ‘คู่แข่ง’ ที่ต้องจับตามอง
หากเปรียบเทียบกับเมื่อ 10 ปีก่อน โดยในปี2556 ประเทศจีนนำเข้ามะพร้าวไทย 3,542 ตัน จากตัวเลขข้างต้น คงพอพิสูจน์ได้ว่า… ในตลาดจีน ‘มะพร้าวไทย’ มีอนาคตที่สดใสมากแค่ไหน!!!
ด้วยความกว้างใหญ่ไพศาลของประเทศจีน แล้วตลาดมะพร้าวไทยในจีนอยู่ตรงแถวไหนกันบ้าง??ส่วนใหญ่เป็นการ นำเข้าของมณฑลที่ตั้งอยู่เลียบชายฝั่งทะเล ไม่ว่าจะเป็นมณฑลไห่หนาน (เกาะไหหลำ) มณฑลกวางตุ้ง นครเซี่ยงไฮ้ มณฑล เจ้อเจียง นครเทียนจิน มณฑลฝูเจี้ยน มณฑลเจียงซู เขตฯ กว่างซีจ้วง และมณฑลซานตง สำหรับเขตฯ กว่างซีจ้วง เมื่อไม่นานมานี้ สำนักข่าวซินหัว ได้นำเสนอข่าวกระแสความนิยมของ ‘มะพร้าวไทย’ ในนคร หนานหนิง นายมั่ว เจียหมิง รองผู้จัดการทั่วไปของบริษัท Guangxi Youxianyuan Agriculture Techonology (广西优先源农 业科技有限公司) ให้ข้อมูลว่า มะพร้าวที่บริษัทฯ จำหน่ายเป็นมะพร้าวที่คัดเลือกมาจากสวนมะพร้าวคุณภาพดีใน อ.ดำเนิน สะดวก จ.ราชบุรี ใช้การขนส่งทางทะเล ทั้งนี้ บริษัทฯ ประเมินความต้องการมะพร้าวไทยในตลาดจีน พบว่ายังขยายตัวได้อีกตาม ความชื่นชอบที่เพิ่มขึ้น โดยคาดการณ์ว่าปีนี้ บริษัทฯ จะมียอดนำเข้ามะพร้าวไทยมากกว่า 28,000 ลัง
คุณหวง ลี่ลี่ ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท Guangxi Youxianyuan Agriculture Techonology ให้ข้อมูลว่า สมัยก่อน ตลาดมะพร้าวหลักๆ ขายไปที่มณฑลกวางตุ้ง กับเขตฯ กว่างซีจ้วง มาถึงตอนนี้ ขายไปที่ไกลถึงนครเซี่ยงไฮ้ กรุงปักกิ่ง นครฉงชิ่ง และมณฑลซานตง และLive streaming หรือการไลฟ์สดขายมะพร้าวเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพใน ขณะนี้
ในฐานะ ‘ครัวของโลก’ ประเทศไทย มีมูลค่าการส่งออกอาหารเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย (รองจากประเทศจีน) และเป็นอันดับที่11 ของโลก ในแง่การส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปจีน พบว่า… จีนเป็นตลาดส่งออกผลไม้รายใหญ่ของไทย และเป็นหนึ่งในตลาดที่นิยมบริโภคผลไม้ไทย ปัจจุบัน สัดส่วนการส่งออกผลไม้ไทยไปจีนมีมากถึง70%
บีไอซี เห็นว่า โอกาสของผลไม้ไทยในตลาดจีนยังสามารถเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากจีนเป็นตลาดใหญ่และมีกำลังซื้อ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ‘มะพร้าว’ เป็นสินค้าที่หาได้ตลอดทั้งปีต่างจากผลไม้ประเภทอื่นที่มีตามฤดูกาลการนำ มะพร้าวมาผสมเครื่องดื่มจึงสามารถจำหน่ายและตอบรับความนิยมของผู้บริโภคได้ตลอดทั้งปี จากการสำรวจราคามะพร้าวในนครหนานหนิงที่จำหน่ายอยู่ใน Pagoda ซึ่งเป็นเฟรนไชส์ค้าปลีกผลไม้ ‘No.1’รวมทั้ง ในซุปเปอร์มาเก็ตและร้านผลไม้ท้องถิ่น พบว่า ‘ผลิตภัณฑ์มะพร้าวตัดแต่ง’ ไม่ว่าจะเป็นมะพร้าวควั่น มะพร้าวเจีย และมะพร้าวหัวโต ที่ขายอยู่ในร้านมีหลายเกรดหลายราคา ขึ้นอยู่กับขนาด แบรนด์ และบรรจุภัณฑ์ (เฉาะเองหรือแบบมีฝาเปิดง่าย) โดยทั่วไปแล้วมะพร้าวไทยมีราคาสูงกว่าราคามะพร้าวในประเทศ
เขียนโดย นายกฤษณะ สุกันตพงศ์
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน (BIC)
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง
เรียบเรียงโดย ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ