เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้ในการพัฒนาสินค้าอาหารหลายอย่างของแคนาดาไม่ถือเป็นเรื่องใหม่อีกต่อไป และนับวันจะมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ทิศทางของการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของแคนาดาในปัจจุบันมิได้มุ่งเน้นเพียงเพื่อสร้างสรรค์อาหารให้มีรสชาติดี และมีหน้าตาที่สวยงามเท่านั้น แต่ยังมีแนวทางไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถแก้ไขปัญหาใหญ่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง คุณภาพ คุณสมบัติของวัตถุดิบ และการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าอาหารซึ่งจะช่วยสนองตอบต่อความต้องการเฉพาะตัวของผู้บริโภคได้ทุกอย่าง สามารถเพิ่มปริมาณสารอาหารที่ต้องการได้อย่างเหมาะสม และลดปริมาณของสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพลงได้เกือบทั้งหมด รวมทั้งลดขยะที่เกิดจากอาหาร และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนด้วย
[su_spacer]
Gene Editing หรือการแก้ไขทางพันธุวิศวกรรมในพืช และอาหารเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีขั้นสูงที่แคนาดาพยายามพัฒนาและนําเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร Gene Editing เป็นกระบวนการแก้ไขยีนที่มีอยู่พันธุกรรมหรือในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ โดยจะแก้ไขด้วยการเพิ่ม ลด หรือกระตุ้น ความเข็มแข็งของยีนในสิ่งมีชีวิตให้มีลักษณะตามที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นยีนที่มีลักษณะด้อย หรือยืนที่มีลักษณะเด่นก็ตาม วัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร พัฒนาผลผลิตอาหาร ลดขยะอาหาร จนถึงปกป้องพืชผักจากเชื้อไวรัสหรือศัตรูพืชต่าง ๆ เช่น เห็ดที่สามารถคงสภาพสดใหม่ไม่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลได้เป็นเวลานาน น้ำมันถั่วเหลืองที่ไม่มีไขมันทรานส์ หรือขนมปังที่ทําจากแป้งสาลีที่มีปริมาณกลูเตนในระดับต่ำ เป็นต้น
[su_spacer]
การแก้ไขทางพันธุวิศวกรรมเป็นเทคโนโลยีที่นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการเล่นแร่แปรธาตุทางพันธุกรรมที่อยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตนั่นเอง ต่างจากการตัดแต่งทางพันธุกรรมซึ่งนักวิทยาศาสตร์ตัดเอายีนของสิ่งมีชีวิต ชนิดหนึ่งใส่เข้าไปในยืนของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง หรือที่เราคุ้นเคยกับคําว่าจีเอ็มโอ (GMOs) ผลิตภัณฑ์อาหาร ในรูปแบบของการแก้ไขทางพันธุวิศวกรรม หรือ Gene Editing จะได้รับความนิยมมากน้อยเพียงใด หรือจะ กลายเป็นประเด็นถกเถียงในข้อห่วงกังวลที่ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมได้หรือไม่ นาย lan Affleck รองประธานฝ่ายไบโอเทคโนโลยีพันธุ์พืช หรือหน่วยงาน Croplife Canada เห็นว่าการที่จะทํา ให้ผู้บริโภคของแคนาดายอมรับผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้เทคโนโลยีการแก้ไขทางพันธุวิศวกรรม Gene Editing ว่า ปลอดภัย และมีคุณลักษณะที่ดีได้นั้น การสื่อสารข้อมูลเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดคือต้องให้ผู้บริโภคเห็นถึงผลลัพธ์ ของเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้บริโภคเอง มิใช่ต่อผู้ปลูกหรือผู้ผลิตอาหาร หากสามารถกําหนดแนว ทางการทําความเข้าใจไปในลักษณะนี้ได้แล้วก็น่าจะทําให้ผู้บริโภคและประชาชนทั่วไปยอมรับกระบวนการ แก้ไขทางพันธุวิศวกรรม Gene Editing ได้ง่ายขึ้น
[su_spacer]
นาย Stuart Smyth ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการเกษตร และเศรษฐศาสตร์ด้านการบริหารทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัย Saskatchewan ประเทศแคนาดา กล่าวว่า ชาวแคนาดาส่วนมากหรือกว่าร้อยละ 90 ไม่ได้ความสนใจว่ามีการใช้เทคโนโลยีใดเข้ามาพัฒนาสายพันธุ์พืช ดังนั้น คําชี้แจงจากหน่วยงานรัฐฯ หรืออุตสาหกรรมการเกษตรจะเป็นตัวชี้นําผู้บริโภค และให้ความรู้กับชาวแคนาดาเป็นหลัก แต่ความกังวลของนาย Smyth อยู่ที่ว่าหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ จะยอมรับกระบวนการการแก้ไขทางพันธุวิศวกรรม หรือ Gene Editing หรือไม่ หรืออาจมองเป็นภาพลบว่าการแก้ไขทางพันธุวิศวกรรมเป็นการต่อยอดจากจีเอ็มโอ จนอาจสั่งห้ามการพัฒนาต่อทําให้การพัฒนาเทคโนโลยีในด้านนี้หยุดชะงัก และไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพของวัตถุดิบ และกระบวนการผลิตในส่วนการควบคุม รับรองหรือออกระเบียบว่าผลิตภัณฑ์อาหารที่ผ่านการแก้ไขทางพันธุวิศวกรรม Gene Editing จะเข้าข่ายกฏระเบียบใด ซึ่งโดยปกติการออกระเบียบควบคุมอาหารในแคนาดานั้นจะกระทําเมื่อมีการออกผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใหม่ (Novelty) โดยไม่ได้คํานึงถึงกระบวนการผลิตว่าจะใช้เทคโนโลยีชนิดใด มีขั้นตอนอย่างใด
[su_spacer]
ในปีที่ผ่านมานาง Christine Tibelius ผู้อํานวยการของ Canadian Food Inspection Agency ได้เข้าร่วมงานสัมมนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการแก้ไขทางพันธุวิศวกรรม Gene Editing ที่กรุงปารีส ได้กล่าวว่า แคนาดายินดีที่จะรับรองความปลอดภัยกับการใช้เทคโนโลยีการแก้ไขทางพันธุวิศวกรรมนี้ นอกจากนั้น แคนาดายังเป็น 1 ใน 8 ประเทศที่ลงนามร่วมสนับสนุนกระบวนการแก้ไขทางพันธุวิศวกรรม Gene Editing ในอาหาร และจะไม่ ขัดขวางการนําเข้าสินค้าเกษตรที่ผ่านกระบวนการแก้ไขหางพันธุวิศวกรรม Gene Editing โดยไม่จําเป็น
[su_spacer]
เมื่อเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา บริษัท Okanagan Specialty fruit ผู้ประกอบธุรกิจเพาะปลูกแอปเปิ้ลในรัฐบริติชโคลัมเบียได้ริเริ่มพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์แอปเปิลที่ใช้ชื่อว่า Arctic Apple โดยใช้วิวัฒนาการหยุด (turn off) เอ็นไซม์นของแอปเปิ้ล เพื่อให้เนื้อผลไม้ด้านในไม่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เมื่อมีการตัดหรือหั่นเป็นชิ้น ๆ ต่างจากแอปเปิลเกือบทั้งหมดที่จะเปลี่ยนสีอย่างรวดเร็ว ทําให้บริษัทฯ สามารถจําหน่ายแอปเปิลที่หั่นพร้อมรับประทานในแผนกอาหารเร่งด่วน Grab-and-go ของห้างค้าปลีกหลายแห่งในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม สิ่งสําคัญของการตลาดคือการสื่อสารข้อมูลของสินค้าที่ถูกต้อง และ ชัดเจนกับผู้บริโภค บริษัทฯ ได้เริ่มปูพื้นฐานข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์โดยชี้ให้เห็นถึงความเสียหายจากสถิติที่ว่าร้อยละ 40 ของแอปเปิ้ลที่ปลูกจะกลายเป็นขยะเพียงเพราะรอยสีน้eตาลที่พบเห็นบนเนื้อแอปเปิลนั่นเอง ดังนั้น ทางบริษัทฯ จึงได้พยายามนําความรู้และเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพด้วยเทคโนโลยี มีการอธิบายถึงขึ้นตอนโดยให้ข้อมูลผ่านเว็บไซต์และ QR code เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าใจในกระบวนการปลูกและผลิตได้ชัดเจน นอกจากนั้น ยังต้องมีการให้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์กับทางร้านค้าปลีกเพื่อสามารถตอบคําถามกับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี นาย Neal Carter ประธานบริษัท Okanagan Specialty fruit กล่าวถึงผลตอบรับการจําหน่าย Arctic Apple ในสหรัฐฯ ว่าดีมากได้รับคะแนนความพึงพอใจจากผู้บริโภคถึง 92% โดย เชื่อว่าการสื่อสารให้ข้อมูลกับผู้บริโภคที่ชัดเจนเป็นคู่มือสําคัญต่อการตลาดยุคนี้ ผู้บริโภคสามารถรู้ที่มาของสิ่งที่ซื้อ และรับประทานได้ และต้องชี้ให้เห็นถึงผลประโยชน์ของผู้บริโภคมากที่สุด ไม่ใช่ประโยชน์ผู้ปลูกหรือผู้จําหน่ายเพียงเท่านั้น ผลิตภัณฑ์อาหาร Gene Editing ในแคนาดาน่าจะสามารถพบเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นใน 2 – 3 ปีนี้
[su_spacer]
เทคโนโลยีทางด้านอาหารยังมีโอกาสเปิดกว้างสําหรับการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อีกมาก ขึ้นอยู่กับโจทย์หรือความท้าทายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ๆ เทคโนโลยีการแก้ไขพันธุวิศวกรรม Gene Editing ดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตทางด้านการเกษตรอย่างสิ้นเชิง และจะเป็นปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาการทางด้านการเกษตรของประเทศต่อไปในอนาคต ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกรไทย แก้ไขปัญหาผลผลิตตกต่ำ ไม่ได้คุณภาพและปริมาณตามที่ต้องการ รวมทั้งสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเกษตรกรของไทย แม้ยังไม่แน่ใจว่ากระบวนการทางกฎหมายจะมุ่งหน้าไปในทิศทางใด แต่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรศึกษาเทคโนโลยีการแก้ไขพันธุวิศวกรรม Gene Editing เพื่อเป็นการเตรียมตัวรองรับเทคโนโลยีที่มีความแม่นยําสูงเพื่อนําไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าเกษตรต่อไป เพราะประเทศไทยอยู่ในฐานะของผู้ผลิตอาหารส่งออกที่สําคัญของโลก จึงควรเริ่มต้นค้นคว้านวัตกรรม และปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เพื่อโอกาสในการขยายตลาดการค้าอย่างยั่งยืนต่อไป
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา