วิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทําให้ร้านอาหารต้องปิด ความต้องการไก่จึงน้อยลง อย่างไรก็ดี บริษัทผู้นําเข้าไก่ยังคงนําเข้าไก่จากต่างประเทศ (จากบราซิล ยูเครน และไทย เป็นหลัก) เพื่อไม่ให้เสียสิทธิในระบบโควต้าภาษีของอียู และเก็บรักษาไว้ในช่องแข็งจนกว่าร้านอาหารจะเปิดอีกครั้ง ดังนั้น จึงทำให้เกิดสถานการณ์ไก่ล้นตลาด
[su_spacer]
ในขณะที่ สถานการณ์แพร่ระบาดโรคไข้หวัดนกในโปแลนด์ ฮังการี และโรมาเนียทําให้ไก่ของประเทศทั้งสามไม่สามารถส่งออกไปประเทศที่สามได้ และไหลเข้าสู่ตลาดยุโรปด้วยทําให้วิกฤตยิ่งเลวร้ายลง ทั้งนี้ สถานการณ์ไก่ล้นตลาดทําให้ราคาไก่ลดลงร้อยละ 20 และผู้ผลิตไก่ในยุโรปต้องลดปริมาณการผลิต แต่ประเทศที่สามกลับได้ประโยชน์ ด้วยเหตุดังกล่าว กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ค้าสัตว์ปีกในยุโรปจึงเรียกร้องขอให้ประเทศสมาชิกอียูลดโควต้าการนําเข้าสินค้าไก่เป็นการชั่วคราวไปจนถึงสิ้นปีนี้
[su_spacer]
นอกจากนี้ ยังมีสินค้าเกษตรหลายประเภทล้นตลาด เช่น มันฝรั่ง เนื้อสัตว์ นม และดอกไม้ เป็นต้น คณะกรรมาธิการยุโรปแสดงความห่วงกังวลต่อมาตรการหรือท่าทีของสมาชิกอียูบางประเทศเกี่ยวกับการจํากัดการส่งออกหรือนําเข้าสินค้าเกษตร ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบตลาดเดียวของอียู และอาจขัดต่อกฎหมายการแข่งขันของอียู เช่น กรณีรองนายกรัฐมนตรีบัลกาเรียเสนอให้จํากัดการนําเข้าสินค้าเกษตรมายังบัลกาเรีย อย่างไรก็ดี ในชั้นนี้ การจํากัดการนําเข้าดังกล่าวยังเป็นเพียงข้อเสนอในส่วนของประเทศอียูอื่น ๆ เช่น สาธารณรัฐเช็ก ออสเตรีย กรีซ และเยอรมนี ได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนบริโภคสินค้าเกษตรท้องถิ่น โดยให้เหตุผลทั้งเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรภายในประเทศและเหตุผลทาง
[su_spacer]
ข้อกังวลของคณะกรรมาธิการยุโรปตามเกี่ยวข้องกับไหลเวียนสินค้าภายในอียู ซึ่งหากสมาชิกอียูประเทศใดประเทศหนึ่งออกมาตรการจํากัดการนําเข้าสินค้าจากประเทศอียูอื่นก็อาจขัดต่อระบบตลาดเดียว ซึ่งมีหลักการสําคัญคือการการเคลื่อนย้ายโดยเสรีของสินค้า
[su_spacer]
สําหรับการค้าระหว่างอียูกับประเทศที่สาม ข้อเรียกร้องของสมาคมผู้ผลิตสินค้าเกษตรต่าง ๆ อาจกดดันให้อียูต้องพิจารณาหาแนวทางปกป้องตลาดมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับคํากล่าวของนาย Phil Hogan กรรมาธิการการค้ายุโรป ในการประชุม INTA เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 ซึ่งระบุว่า สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศที่ตกต่ำสืบเนื่องจากวิกฤตโควิด-19 ทําให้อียูต้องทบทวนนโยบายการค้า รวมถึงการทบทวนเรื่องเครื่องมือปกป้องทางการค้าด้วย
[su_spacer]
ในการนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ เห็นสมควรว่า หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาท่าที และเตรียมการรองรับ หากอียูได้รับแรงกดดันจากกลุ่มผู้ผลิตต่าง ๆ ที่จะใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อลดการนําเข้าหรือปกป้องตลาดอียูสืบเนื่องจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 ในขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยอาจพิจารณาแสดงความห่วงกังวลต่อแนวโน้มที่ประเทศต่าง ๆ จะใช้มาตรการกีดกันหรือปกป้องตลาดสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นสืบเนื่องจากวิกฤตโควิด-19 ผ่านช่องทางการทูต องค์การระหว่างประเทศ และกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในโอกาสการหารือต่าง ๆ รวมทั้งอาจต้องเตรียมความพร้อมภายใต้กรอบ WTO หากจําเป็นต้องมีคัดค้านมาตรการปกป้องทางการค้าของอียูในอนาคต
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ / คณะผู้แทนไทยประจําสหภาพยุโรป