เมื่อวันที่ 6-7 มิถุนายน 2561 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบัวโนสไอเรสได้ส่งผู้แทนเข้ าร่วมการประชุมนานาชาติเรื่ องแร่ลิเทียมในภูมิภาคอเมริ กาใต้ ครั้งที่ 7 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้[su_spacer size=”20″]
ปัจจุบันมีการค้นพบทรัพยากรแร่ ลิเทียมราว 16 ล้านตันทั่วโลก โดยออสเตรเลีย ชิลี และอาร์เจนตินา เป็นประเทศที่สกัดแร่ลิเที ยมมาใช้มากที่สุดในโลก 3 อันดับแรก โดยจุดเชื่อมต่อระหว่างประเทศชิ ลี โบลิเวีย และอาร์เจนตินาเป็นบริเวณ “สามเหลี่ยมลิเทียม” (Lithium Triangle) ซึ่งมีบ่อเกลือขนาดใหญ่ที่เป็ นแหล่งสกัดลิเทียมที่มีคุณภาพสู ง ได้แก่ Salar de Uyuni (โบลิเวีย) Salar de Atacama (ชิลี) และ Salar de Arizaro (อาร์เจนตินา) มีปริมาณเป็นร้อยละ 75 ของทรัพยากรลิเทียมที่มีการค้ นพบแล้วของ โลก โดยในภูมิภาคอเมริกาใต้ สามารถพบแร่ลิเทียมได้ ตลอดแนวเทือกเขา Andes[su_spacer size=”20″]
โดยห่วงโซ่อุปทานของแร่ลิเที ยมส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศจีน และร้อยละ 80 ของการใช้แร่ลิเทียมอยู่ในอุ ตสาหกรรมการผลิตยานยนต์เป็นหลัก และคาดการณ์ว่าจะมีการนำมาผลิ ตแบตเตอรี่สําหรับรถยนต์ไฟฟ้ าในอีก 20 ปีข้างหน้า เนื่องจากปัจจุบันบริษัทผู้ผลิ ตรถยนต์ชั้นนําของโลกมีแนวโน้ มหันมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้ นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ แร่ลิเทียมยังเป็นส่วนประกอบสํ าคัญของการผลิตโทรศัพท์ Smart Phone อีกด้วย อย่างไรก็ดีในอุตสาหกรรมยานยนต์ มีการใช้แร่ลิเทียมในปริ มาณมากกว่าอุตสาหกรรมการผลิ ตโทรศัพท์ค่อนข้างมาก โดยมีการใช้แร่ลิเทียมในรถยนต์ หนึ่งคันถึง 30-50 กิโลกรัม ในขณะที่โทรศัพท์หนึ่งเครื่ องใช้เพียง 2 กรัม [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้แม้ทรัพยากรแร่ลิเทียมจํ านวนมากจะอยู่ในภูมิภาคอเมริ กาใต้ แต่ภูมิภาคนี้ยังไม่สามารถใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านี้ได้ อย่างเต็มที่ เนื่องจากการขาดแคลนเงินทุ นและความพร้อมด้านโครงสร้างพื้ นฐานคมนาคมในการสนับสนุนอุ ตสาหกรรมเหมืองแร่ลิเทียม โดยมีหลายโครงการที่เริ่มต้นแล้ ว แต่ไม่ประสบความสําเร็จ รวมทั้งความห่วงกังวลเรื่ องความปลอดภัยของแบตเตอรี่ที่ ผลิตจากแร่ลิเทียม จึงทําให้ปัจจุบันมี ความพยายามคิดค้นแบตเตอรี่ชนิ ดใหม่ที่มีประสิทธิภาพโดยไม่ต้ องอาศัยแร่ลิเทียม และคาดการณ์ว่าในอนาคตจะมีการนํ าพลังงานหมุนเวียนมาใช้ ทดแทนแบตเตอรี่อีกด้วย [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีจำนวนผู้ผลิตแปรรู ปแร่ลิเทียมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สะท้อนให้เห็นถึงศั กยภาพของตลาดแร่ลิเทียม แต่ market share ของแร่ลิเทียมมีการแบ่งสัดส่ วนกันอย่างลงตัวระหว่างบริษั ทใหญ่ของโลกแล้ว จึงเป็นการยากที่ผู้ผลิตใหม่ จะสามารถเจาะตลาดได้อย่างมี ประสิทธิภาพ การลงทุนด้านแร่ลิเทียมที่ ประสบความสําเร็จในปัจจุบันจึ งมักจะเป็นไปในลักษณะการลงทุนร่ วมกับบริษัทที่มีส่วนแบ่ งการตลาดอยู่แล้ว อาทิ การลงนามในสัญญาร่วมกันระหว่ างบริษัท BCP Innovation Pte. Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษั ทบางจากฯ กับบริษัท Lithium Americas Corp. (LAC) ในวงเงินไม่เกิน 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการลงนามในสัญญาซื้อผลผลิ ตแร่ลิเทียมจากโครงการ Cauchai Olaroz ซึ่งเป็นเหมืองลิเทียมในจังหวัด Jujuy ประเทศอาร์เจนตินาเป็นเวลา 20 ปี ซึ่งมีกําลังการผลิต 25,000 ตันปีในระยะแรก และเพิ่มเป็น 50,000 ตันปี ในระยะที่สอง ในปี 2560[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบัวโนสไอเรส