‘Rainbow Economy’ หรือที่เรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ‘เศรษฐกิจสีรุ้ง’ หลายคนคงเดาได้ไม่ยากว่าเกี่ยวข้องกับกลุ่มเพศหลากหลาย หรือกลุ่ม LGBTQIAN+ แต่เดิม Rainbow Economy ถูกเรียกว่า Pink Economy หรือ Pink Money ใช้กล่าวถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของกลุ่มเพศหลากหลายที่สูงกว่าผู้บริโภคกลุ่มอื่น ๆ พบการใช้คำดังกล่าวครั้งแรกในช่วงกลางปี 1960 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนในอังกฤษและจีน มีการเรียกว่า Pink Pound และ Pink Yuan ตามลำดับ หลายปีที่ผ่านมามีธุรกิจจำนวนไม่น้อยได้เริ่มทำการตลาดหรือปรับรูปแบบการผลิตสินค้าและการบริการเพื่อดึงดูดผู้บริโภคกลุ่มเพศหลากหลายมากขึ้น เช่น การออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องประดับแบบ Unisex และการผลิตสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์แนวรักเพศเดียวกัน
ทำไม Rainbow Economy ถึงเป็นโอกาสทองของภาคธุรกิจไทย?
กลุ่มเพศหลากหลายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง LGBT Capital ระบุว่า ในปี 2022 กลุ่มเพศหลากหลายทั่วโลกที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวนสูงถึง 388 ล้านคน เว็บไซต์ GAY TIMES คาดการณ์ว่า ปริมาณของประชากรกลุ่มเพศหลากหลายทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้นราว 1 พันล้านคนในปี 2050 ในขณะที่ไทยมีประชากรกลุ่มเพศหลากหลายประมาณ 3.7 ล้านคน โดยส่วนใหญ่มีศักยภาพทางการเงินที่ดี ทั้งนี้ TERRA BKK ระบุว่า กลุ่มเพศหลากหลายชาวไทยมีรายได้อยู่ในช่วง 5 – 8.5 หมื่นบาท/เดือน
ปัจจุบัน ไทยเปิดกว้างเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้น จึงเป็นโอกาสดีของภาคธุรกิจไทยในการเร่งปรับตัวและต่อยอดอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Lifestyle ของกลุ่มเพศหลากหลาย เพื่อดึงดูดเม็ดเงินจากผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าวทั้งในและนอกประเทศ
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://rinap.me/inter-econ/#p=29 (หน้า 26-28)