Tuesday, May 20, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารในอินเดีย ปี 2567

23/02/2024
in ทันโลก
0
แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารในอินเดีย ปี 2567
0
SHARES
450
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

นักวิเคราะห์ประเมินว่า อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในอินเดียมีแนวโน้มที่จะเติบโตอยางแข็งแกร่ง โดยจะมี มูลค่า 4.7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2568 หรือเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 80 ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา  โดยมีปัจจัยหนุนต่าง ๆ เช่น 1) กลุ่มชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2) ไลฟ์สไตลผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป  และต้องการตัวเลือกที่คุณภาพสูงและหลากหลาย 3) ชุมชนเมืองที่เติบโตอยางรวดเร็วเปิดโอกาสให้ธุรกิจฟูดเดลิเวอรี่ และอาหารกึ่งสำเร็จรูปเป็นที่ตองการมากขึ้น และ 4) รัฐบาลอินเดียมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนภาคเกษตรและ อุตสาหกรรมอาหารเพื่อเพิ่มการส่งออกสินค้าอาหารสู่ตลาดโลก 

นักวิเคราะห์มองแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในอินเดีย ปี 2567 อย่างไร  เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางกลยุทธรุกตลาดอินเดียต่อไปสำหรับผู้ประกอบการไทยต่อไป  

1) วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นจะได้รับความสนใจมีมากขึ้น 

อินเดียเป็นประเทศใหญ่ที่มีวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นที่หลากหลายและเป็นที่รู้จักในเวทีนานาชาติ ส่งผลให้คนอินเดียยุคใหม่หันกลับมาสนใจเรียนรู้รากเหง้าทางวัฒนธรรมของตนเอง และมีความพิถีพิถันในการเลือกรับประทานอาหารมากขึ้น โดยอาหารแนวคราฟท์ หรือสไตล์ Chef’s Table มีแนวโน้มเปนที่นิยมมากขึ้น ดังนั้น การพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ โดยร่วมมือกับเชฟที่มีชื่อเสียงในกลุ่มคนอินเดียรุ่นใหมก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่น่าสนใจในการนำเสนอความเป็นไทย ให้เข้ากับความชื่นชอบของคนอินเดีย  

2) อาหารชวนคิดถึงวันวาน (nostalgia) จะได้รับความนิยมมากขึ้น 

เป็นผลจากกลุ่มคน Gen-X และ Gen-Y (millennium) อยู่ในวัยทำงานที่มีรายได้สูง มีแนวโน้มเลือกบริโภคอาหารที่ทำให้รำลึกถึงความสุขในวัยเด็กในอดีต  รวมทั้งอาหารที่ให้ความรูสึกโฮมเมดหรือเป็นสูตรโบราณดั้งเดิม ในขณะที่อาหารแนวยุคใหม่อาจให้ความรูสึกจำเจและไม่มีเรื่องราว (no storytelling) ผู้ประกอบการจึงอาจให้ความสำคัญกับมิติ nostalgia ในการทำการตลาดและกำหนดภาพลักษณ์ของสินค้าด้วย 

3) ซอสจิ้มและเครื่องปรุงรสใหม่ ๆ จะเป็นที่ต้องการมากขึ้น

 สืบเนื่องจากที่คนอินเดียนิยมรับประทานของทานเล่น โดยเฉพาะของทอด และรับประทานอาหารจานหลักควบคู่กับเครื่องปรุงรส เช่น ชัทนี่ (chutney) ซอสจิ้มและ เครื่องปรุงรสใหม่ ๆ จึงเป็นทางเลือกที่สะดวกในการนำเสนอรสชาติอาหารไทยเพื่อสร้างสีสันให้กับอาหารประจำวันชาวอินเดีย  อีกทั้งคนอินเดียคุ้นเคยกับซอสต่าง ๆ ของไทยอยูแล้ว เช่น น้ำจิ้มไก่ น้ำจิ้มสะเต๊ะ ซอสมะขาม และซอสศรีรีาชา 

4) สินค้าของทานเล่นมีอนาคตสดใส 

 คนอินเดียนิยมรับประทานของทานเล่นระหว่างมื้อ หรือพักเบรกดื่มชา ซึ่งรวมถึง ซาโมซา (คล้ายกะหรี่ปั๊บ) เกี๊ยวสไตล์จีน (คนอินเดียเรียกว่าโมโม) ข้าวพอง/ถั่วคลุกเครื่องเทศ (chivda) คุกกี้ เค้ก และ ขนมเบเกอรี่ต่าง ๆ โดยมีแนวโน้มที่ของทานเล่นที่ปรุงได้ง่ายไม่ยุ่งยาก และมีคุณค่าทางโภชนาการจะได้รับความนิยม มากขึ้น เช่น สินค้าสำเร็จรูปแช่แข็ง การนำเสนอรสชาติใหม่ ๆ จากต่างวัฒนธรรม การใช้วิธีอบแทนการทอด การใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติและทำจากพืช (plant-based) การงดการใช้สารเคมีปรุ่งแตง และการเสริมวิตามินและแร่ธาตุ  

5) ของหวานต้องมีคุณค่าทางโภชนาการและดีต่อสุขภาพด้วย 

แม้ของหวานอินเดียมักขึ้นชื่อว่าหวานจัดจนแสบคอ  แต่คนอินเดียก็มีความระมัดระวังมากขึ้นในการรับประทานของหวาน โดยนิยมบริโภคของหวานที่ใช้สารให้ความหวานจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาลทำจากอ้อย (jaggery/gur) หญ้าหวาน และน้ำผึ้ง  รวมถึงของหวานที่มีธัญพืชที่อุดมด้วยไฟเบอร์ เช่น ข้าวฟ่าง (millet) และเมล็ดบัวอบพอง (makhana) โดยเฉพาะข้าวฟ่างเปนพืชที่ทนแล้งได้ดีและมี โภชนาการสูง รัฐบาลอินเดียจึงส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกขาวฟ่างมากขึ้นเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  อีกทั้งได้เสนอให้สหประชาชาติรับรองให้ปี 2566 เป็นปีข้าวฟ่างสากล (International Millet Year) อีกด้วย นอกจากนี้ ชาวอินเดียยังหันมาแบ่งรับประทานพอดีหนึ่งหน่วยบริโภค (single portion) เพื่อควบคุมปริมาณแคลอรี่ได้สะดวกขึ้น 

6) การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (gastronomy tourism) 

คนอินเดียยุคใหม่มีประสบการณ์ท่องเที่ยวในต่างประเทศ  และมีทัศนคติเปิดกว้างกับวัฒนธรรมอาหารแปลกใหม่มากขึ้น โดยอาหารต่างชาติที่อินเทรนด์มักผูกโยงกับ “Soft power” และ “การเล่าเรื่อง (storytelling)” ของประเทศนั้น ๆ ได้แก่ 

1) สื่อบันเทิงที่เป็นที่นิยม โดยเฉพาะอาหารเกาหลีที่มาแรงในระยะหลายปีที่ผ่านมาเนื่องจากความนิยมละครเกาหลี และดนตรี K-POP 

2) การสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านสตรีทฟู้ด นักท่องเที่ยวยุคปัจจุบันตองการประสบการณ์ของแท้ที่ไม่ปรุงแต่ง (authentic) และความรูสึกได้ผจญภัยลิ้มลองสิ่งแปลกใหม่ด้วยตนเอง 

3) การนำเสนอผ่านสตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะ Netflix ซึ่งคนอินเดีย จำนวนไม่น้อยรู้จักไข่เจียวปูเจ๊ไฝจากรายการ Street Food: Asia และความสำเร็จในระดับโลกของเจ๊ไฝเป็น  แรงบันดาลใจให้คนอินเดียหันมาส่งเสริมอาหารอินเดียให้เป็นที่รู้จักในเวทีโลกมากขึ้น 

4) การเปิดจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวใหม่ ๆ สำหรับคนอินเดีย เช่น เวียดนาม เป็นประเทศที่คนอินเดียเสิร์ชกูเกิลมากที่สุดในปี 2566 สะท้อนให้เห็นถึงความตองการเรียนรู้วัฒนธรรมอาหารใหม่ ๆ ของนักทองเที่ยวชาวอินเดีย 

7) อาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 รัฐบาลอินเดียออกนโยบายห้ามและลดการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวที่ไม่จำเป็น ซึ่งรวมถึงถุงหิ้ว บรรจุภัณฑ์อาหาร จาน ถ้วย ช้อนส้อม หลอดดื่มน้ำ และพลาสติกห่ออาหาร ซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนเป็นอยางดี เช่น ห้างสรรพสินค้างดแจกถุงหิ้วพลาสติก แอปพลิเคชันสั่งอาหารมีเมนูให้เลือกไม่รับช้อนส่อมพลาสติกได้ และร้านอาหารหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ทำจากวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ ดังนั้น คนอินเดียจึงมีความคาดหวังให้ผู้ประกอบการแสดงความใส่ใจในมิติ สิ่งแวดล้อมในการพัฒนาสินค้าอาหารด้วย 


แนวโน้มข้างต้นสะท้อนถึงทัศนคติของผู้บริโภคชาวอินเดียที่เปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็วและพร้อมจะทดลองรับประทานอาหารแปลกใหม่ที่มาแรงตามกระแสสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งผู้ประกอบการไทย ควรใช้ประโยชน์จากความนิยมอาหารไทยที่มีอยู่แล้ว เช่น แกงเขียวหวาน แกงเผ็ด ต้มข่า ส้มตำ ผัดไทย ซึ่งเป็นเมนูที่ขาดไม่ได้สำหรับคนอินเดีย และอาจนำรสชาติไปประยุกต์เป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและขนมขบเคี้ยว 

ผู้ประกอบการไทยยังสามารถขยายตลาดสำหรับเหล่าผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทาน/แช่แข็งของไทยที่มีคุณภาพ เช่น ข้าวสวยพร้อมกับข้าว ขนมจีบ ลูกชิ้น เกี๊ยว ที่เป็นที่รู้จักในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติจากร้านสะดวกซื้อ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายในอินเดีย จึงเป็นโอกาสดีที่ผู้ประกอบการไทยจะเริ่มเปิดตลาด นอกจากนี้ ไทยยังโด่งดังเรื่องสตรีทฟู้ดที่มีชี่อเสียง ซึ่งเจ๊ไฝเป็นตัวอย่างที่ดี  โดยอาจร่วมมือกับเชฟ/ร้านอาหารเก่าแก่/ร้านอาหารที่ได้รับดาวมิชิลิน ในการสร้างเรื่องราวให้กับผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ 

ในห้วงปี 2566 ที่ผ่านมา สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความนิยมอาหารไทยและเพิ่มโอกาสการส่งออกสินค้าอาหารไทยมาอินเดียมากขึ้น เช่น เทศกาลส่งเสริมอาหารและผลไม้ไทย “Thailand Food and Fruit Fiesta 2023” ณ ซูเปอรมาร์เก็ต Spencer’s, South City Mall โดยร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี รวมถึงมีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการประกอบอาหารไทยกับสถาบัน International Institute of Hotel Management (IIHM) และมหาวิทยาลัย Sister Nivedita ซึ่งได้เชิญ food blogger ในเมืองกัลกัตตามาเรียนทำอาหารไทย โดยสถานกงสุลใหญ่ฯ จะศึกษาลู่ทางการร่วมมือ กับ food blogger เพื่อนำไปสู่การเผยแพร่คอนเท้นท์เกี่ยวกับอาหารไทยและนำเสนอผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ ๆ จากผู้ประกอบการไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในกลุ่มตลาดคนอินเดียรุ่นใหม่มากยิ่งขึ้น  

ข้อมูล: สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา

เรียบเรียงโดย ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์

Tags: #2567#gastronomytourism#globthailand#globทันโลก#ข่าวต่างประเทศ#ข่าววันนี้#ข่าวเศรษฐกิจ#นโยบายต่างประเทศ#อาหาร#อาหารอินเดีย#อุตสาหกรรมอาหาร#เทรนด์2024slideshow
Previous Post

ข้อมูลสำคัญจากงาน 5Th Frankfurt Digital Finance ที่นักลงทุน & ผู้ประกอบการไทยในเยอรมนีต้องรู้!

Next Post

“แบตเตอรี่ลิเธียม” อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ที่โดดเด่นของมณฑลเจียงซี

Globthailand

Globthailand

Next Post
“แบตเตอรี่ลิเธียม” อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ที่โดดเด่นของมณฑลเจียงซี

“แบตเตอรี่ลิเธียม” อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ที่โดดเด่นของมณฑลเจียงซี

Post Views: 1,458

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X