Tuesday, May 20, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ชี้ช่องจากทีมทูต

เกียวโต: เมืองแห่งบริษัท Venture

25/09/2020
in ชี้ช่องจากทีมทูต, ทวีปเอเชีย
0
รัฐทมิฬนาฑูมุ่งสู่การเป็นแหล่งอุตสาหกรรม ESDM ออกนโยบายการผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ประจำปี 2563
1
SHARES
377
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

นครเกียวโตเคยเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นกว่า 1,000 ปี มีประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมมากมายที่พัฒนาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ จนขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมอันดับต้น ๆ ของโลก ที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งญี่ปุ่นและชาวต่างชาติกว่า 80 ล้านคนต่อปี แต่น้อยคนที่รู้จักศักยภาพของเกียวโตในเชิงนวัตกรรมและเทคโนโลยีว่าเป็นจังหวัดที่มีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจยาวนานเกิน 100 ปี ตั้งอยู่จำนวนมากถึง 1,403 บริษัท และยังเป็นที่ตั้งของบริษัทระดับโลกหลายแห่ง เช่น Kyocera Shimadzu Nintendo [1] เป็นต้น บริษัทชั้นนำเหล่านี้ มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของนครเกียวโตมาอย่างยาวนาน และต่างก็มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นบริษัท “Venture” ซึ่งเป็นศัพท์ภาษาอังกฤษที่ญี่ปุ่นประดิษฐ์ขึ้น (Wasei-eigo – Japanese-made English) มีความหมายคล้ายกับสตาร์ทอัพ หมายถึง บริษัทที่เริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ที่มีเทคโนโลยี นวัตกรรม แนวคิดใหม่ เป็นบริษัทที่อยู่ระหว่างการเติบโตและมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็วในอนาคต และยังหมายถึงบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน (venture capital) อีกด้วย

[su_spacer]

ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาของนครเกียวโตตระหนักถึงความสำคัญของบริษัท Venture ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี จึงได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อให้นครเกียวโตเป็น “เมืองแห่ง Venture” โดยสนับสนุนคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีเป้าหมายที่จะก่อตั้งธุรกิจหรือบริษัท Venture การดำเนินการของภาคส่วนต่าง ๆ มีดังนี้

[su_spacer]

ภาครัฐ นครเกียวโตมีสำนักงานส่งเสริมนวัตกรรมบริษัทท้องถิ่นนครเกียวโต ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักด้านการส่งเสริมการก่อตั้งบริษัท Venture และการสร้างธุรกิจจากภูมิปัญญาและความรู้ต่าง ๆ นอกจากนี้ นครเกียวโตยังมีพื้นที่สำหรับคนรุ่นใหม่ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น วางแผนและปรึกษาหารือเกี่ยวกับการสร้างธุรกิจ เช่น Kyoto Open Innovation Cafe (KOIN) ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดให้คนรุ่นใหม่ที่ต้องการเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจได้พบปะแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เป็นศูนย์รวมของความรู้และเทคโนโลยีโดยไม่จำกัดสาขาและยุคสมัย มีเจ้าหน้าที่ของ KOIN ให้คำปรึกษาแนะนำ

[su_spacer]

ภาคเอกชน นครเกียวโตมี Kyoto Research Park (KRP) ก่อตั้งโดยบริษัท Osaka Gas เมื่อปี 2530 KRP เป็นแหล่งบ่มเพาะธุรกิจที่ดีเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศญี่ปุ่น นอกจากบริการให้เช่ายืมพื้นที่สำนักงานแล้ว ยังให้การสนับสนุนเฉพาะทางเรื่องการสร้างตลาดใหม่ การสร้างแพลตฟอร์มเพื่อสร้างธุรกิจใหม่โดยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในสาขาที่มีศักยภาพระหว่างภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรมและสถาบันศึกษา เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์ พลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ซึ่งศาสตราจารย์ Shinya Yamanaka แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโตเคยได้รับรางวัลโนเบลจากงานวิจัยในด้านดังกล่าว นอกจากนี้ บริษัท Darma Tech Labs เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของภาคเอกชนที่มีส่วนส่งเสริมการสร้างบริษัท Venture  Mr. Narimasa Makino ประธานของบริษัทฯ ต้องการให้นครเกียวโตมีบริษัท Venture เพิ่มขึ้น จึงเปิดให้ใช้พื้นที่สำหรับสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ (Monozukuri) โดยให้เช่าอุปกรณ์ เช่น เครื่อง Laser Cutter หรือ 3D printer ในราคาย่อมเยา ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 มีผู้มาใช้บริการที่บริษัทฯ เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ เช่น มือจับเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสราวจับรถไฟโดยตรง กรอบรูปดิจิทัลที่ให้บรรยากาศเสมือนมองทิวทัศน์นอกหน้าต่าง ช่วยผ่อนคลายให้ผู้ที่ต้องทำงานที่บ้านในช่วงการแพร่ระบาด และตัวจับสัญญาณ (sensor) สำหรับฝังไว้ที่รองเท้าเพื่อวัดระยะห่างสำหรับหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดในโรงงานหรือระหว่างการวิ่งออกกำลังกาย

[su_spacer]

สถาบันการศึกษา นครเกียวโตมีสถาบันอุดมศึกษาและนักศึกษาจำนวนมากที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้นครเกียวโตเป็นเมืองแห่งบริษัท Venture ด้วยการนำผลงานวิจัยทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาที่มีศักยภาพไปต่อยอดให้กลายเป็นธุรกิจเชิงพาณิชย์ ดังนั้น มหาวิทยาลัยที่มีบทบาทนำในด้านนี้ คือ มหาวิทยาลัยเกียวโต (Kyoto University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก มีผลงานทางวิชาการที่โดดเด่นจำนวนมาก โดยเฉพาะงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก เห็นได้จากศิษย์เก่าและผู้เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยฯ ได้รับรางวัลโนเบลมากถึง 10 คน ซึ่งปัจจุบัน มีบริษัท Venture ที่เกิดจากการต่อยอดผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยเกียวโตจำนวน 191 บริษัท มากเป็นอันดับสองรองจากมหาวิทยาลัยโตเกียว (268 บริษัท) เช่น บริษัท Delta-Fly Pharma ผู้พัฒนายาต้านมะเร็งโดยใช้ Module Technology ซึ่งนำสารประกอบ (Module) แต่ละชนิดในตัวยามาผสมเป็นตัวยาชนิดใหม่ ช่วยประหยัดเวลาในการวิจัยพัฒนายาและทำให้ได้ยาชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย และบริษัท REPROCELL บริษัทชั้นนำของประเทศด้านการวิจัยเซลล์ตั้งต้น (stem cell) และเป็นบริษัทแรกของญี่ปุ่นที่สร้างเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ตับ และเซลล์ประสาทเพื่อใช้ในการวิจัยทางการแพทย์ เป็นต้น

[su_spacer]

การส่งเสริมบริษัท Venture ของมหาวิทยาลัยเกียวโตดำเนินการผ่าน 3 กลไกหลัก ได้แก่

  1. ธุรกิจเงินร่วมลงทุน เช่น บริษัท Kyoto University Innovation Capital (Kyoto-ICAP) ที่เน้น ลงทุนในบริษัทนอกตลาดหุ้นที่มีแผนขยายธุรกิจและนำผลงานวิจัยและเทคโนโลยีระดับสูงของมหาวิทยาลัยฯ ไปพัฒนาเป็นธุรกิจเชิงพาณิชย์ และบริษัท Miyako Capital ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ภายในมหาวิทยาลัยฯ ทำให้เข้าถึงทรัพย์สินทางปัญญาและทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยฯ เช่น ความร่วมมือจากอาจารย์ในการทำแบบสำรวจด้านเทคโนโลยี การขอรับคำปรึกษาและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ
  2. Innovation Hub Kyoto ภายใต้การบริหารจัดการของ Kyoto University Medical Science and Business Liaison Organization (KUMBL) มีภารกิจหลักประกอบด้วยการนำผลวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ไปต่อยอดเพื่อคืนประโยชน์สู่สังคม การช่วยจัดตั้งและสนับสนุนบริษัท Venture ของมหาวิทยาลัยฯ การสร้าง สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้นักวิจัยและบริษัทต่าง ๆ สามารถพัฒนางานวิจัยพื้นฐานไปสู่การสร้างธุรกิจเชิงพาณิชย์ได้อย่างราบรื่น รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในบริษัทต่าง ๆ รูปแบบการสนับสนุนของ Innovation Hub Kyoto มีการจัดพื้นที่และอุปกรณ์ในการทดลองผลิตภัณฑ์ การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนและโครงการต่าง ๆ
  3. ชมรมสนับสนุนสตาร์ทอัพของนักศึกษามหาวิทยาลัยฯ ตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2563 และได้จัด online idea contest มีผู้เข้าร่วม 260 คน จาก 40 ประเทศ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นเวลา 3 วัน โดยให้นำเสนอแนวคิดที่จะสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19

[su_spacer]

ทั้งนี้ ตัวอย่างข้างต้นสะท้อนถึงการมีเป้าหมายที่เป็นเอกภาพของภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของนครเกียวโต ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยอาจจะสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานของนครเกียวโตเกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินนโยบายส่งเสริมบริษัท Venture เพื่อนำมาปรับใช้กับนโยบายการส่งเสริมสตาร์ทอัพของประเทศไทยได้

[su_spacer]

พบกับอัพเดทความเคลื่อนไหวและโอกาสในตลาดต่างประเทศที่สถานทูตไทยทั่วโลกตั้งใจติดตามมาให้ภาคเอกชนไทยได้ที่เว็บไซต์ www.globthailand.com หากมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สามารถเขียนมาคุยกันได้ที่ in**@**********nd.com

[su_spacer]

โดยศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์

กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา

[su_spacer]

[1] แต่ละบริษัทมีเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น เช่น Kyocera – Advanced Ceramics/ เซมิคอนดักเตอร์/ อุปกรณ์สื่อสาร/ solar celt ฯลฯ Omron – ระบบและอุปกรณ์ควบคุมในอุตสาหกรรมโดยใช้ sensing & Control technology/ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์/ ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ ฯลฯ Shimadzu – อุปกรณ์ตรวจวัดที่มีความละเอียดสูง/ อุปกรณ์การแพทย์/ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ในเครื่องบิน ฯลฯ Nintendo – ของเล่น/เกมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

Tags: ญี่ปุ่นเศรษฐกิจ/ธุรกิจ/การค้า
Previous Post

จับตา การท่องเที่ยวระหว่างยูเออีและอิสราเอลจะเติบโตสูงมากหลังเปิดตลาดขนาดใหญ่ระหว่างกัน

Next Post

นโยบายการเงินของ ECB และภาพรวมเศรษฐกิจของ EU ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563

Tanakorn

Tanakorn

Glob Thailand Administrator

Next Post
นโยบายการเงินของ ECB และภาพรวมเศรษฐกิจของ EU ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563

นโยบายการเงินของ ECB และภาพรวมเศรษฐกิจของ EU ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563

Post Views: 1,067

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X