Tuesday, May 20, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ชี้ช่องจากทีมทูต

เกาะติดพฤติกรรมบริโภคจีนหลังวิกฤต COVID-19 เปลี่ยนวิถีการจับจ่าย “ออฟไลน์” สู่ “ออนไลน์”

04/05/2020
in ชี้ช่องจากทีมทูต, ทวีปเอเชีย
0
20
SHARES
189
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในหลาย ๆ ประเทศกำลังเลวร้ายลง ซึ่งเห็นได้ชัดจากอเมริกา อังกฤษ อิตาลี ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตรายวันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบเชิงลบเป็นอย่างมาก และมีแนวโน้มว่าการแพร่ระบาดจะยังคงยืดเยื้อต่อไปเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน เมืองที่เคยเป็นจุดศูนย์กลางของการแพร่ระบาด เริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้วเมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อในแต่ละวันมีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด อันเป็นผลมาจากการออกมาตรการปิดเมืองขั้นเด็ดขาดของจีน รวมทั้งการรณรงค์ของภาครัฐที่ต้องการให้ประชาชนทุกคนอยู่บ้าน และอนุญาตให้ออกมาข้างนอกได้เมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อที่อาจมาจากการรวมกลุ่มของคนหมู่มาก ซึ่งประชาชนต่างให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามแนวทางของจีนได้เป็นอย่างดี จึงเป็นเหตุผลที่จีนได้กลายเป็นประเทศที่สามารถรับมือและควบคุมสถานการณ์ให้ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น

[su_spacer]

แต่ผลพวงจากการแพร่ระบาดประกอบกับการออกมาตรการควบคุมสถานการณ์ขั้นเด็ดขาดในจีน ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจหลายภาคส่วน ทั้งภาคการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค ภาคบริการ และภาคการท่องเที่ยว โดยนักวิเคราะห์จากศูนย์แลกเปลี่ยนเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีน (China Center for International Economic Exchanges – CCIEE) ได้ประเมินว่า ช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจะได้รับความสูญเสียทางเศรษฐกิจ คิดเป็นมูลค่ากว่า 500,000 ล้านหยวน ก็ตาม แต่ความต้องการปัจจัย 4 ของผู้บริโภคชาวจีนไม่ได้ลดน้อยลงหรือหดหายไป โดยเฉพาะความต้องการสินค้าอาหารและของใช้ประจำวัน เพียงแต่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมการบริโภคจาก “ออฟไลน์” สู่ “ออนไลน์” เพื่อตอบสนองความต้องการและเข้าถึงปัจจัย 4 ได้ง่ายและสะดวกขึ้นในยามที่ต้องเผชิญกับวิกฤต COVID-19 เท่านั้น

[su_spacer]

นครเซี่ยงไฮ้ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ผู้บริโภคได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเป็นรูปแบบออนไลน์มากขึ้น แม้ว่าร้านสะดวกซื้อหรือซุปเปอร์มาร์เก็ตจะเปิดให้บริการตามปกติก็ตาม แต่ประชาชนจะต้องเก็บตัวอยู่ในบ้านเป็นหลัก ดังนั้น พฤติกรรมการจับจ่ายจึงต้องปรับเปลี่ยนเป็นการใช้แพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชั่นออนไลน์ ร้านสะดวกซื้อและซุปเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ จึงได้ปรับกลยุทธ์ใหม่ โดยเพิ่มช่องทางการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์และเพิ่มบริการจัดส่งให้ถึงชุมชนและที่พักอาศัย ซึ่งการปรับตัวดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงความสะดวก ความรวดเร็วในการจัดส่ง และราคาที่ไม่ได้แพงไปกว่าการออกไปหาซื้อด้วยตนเอง จึงกลายเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะการสั่งอาหารสดมาปรุงเองในบ้าน สำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ได้ปรุงอาหารเองก็สามารถสั่งอาหารออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้ เช่น “เอ้อเลอเมอ (Ele.me)” และ “เหม่ยถวนว่ายม่าย (Meituan Dianping)” โดยเฉพาะแอปพลิเคชั่นเหม่ยถวนว่ายม่าย (Meituan Dianping) ที่มียอดผู้สั่งอาหารเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว ในช่วงวันที่ 19 ม.ค. – 19 ก.พ. 2563 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ สื่อมวลชนฮ่องกงยังได้คาดการณ์ว่า ภาคการบริโภคโดยรวมจะกลับมาเพิ่มสูงขึ้น และพฤติกรรมการบริโภคใน 4 ลักษณะที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตนี้จะยังคงปรากฏให้เห็นภายหลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดในจีนสิ้นสุดลง ได้แก่

[su_spacer]

  1. การซื้อขายออนไลน์จะเติบโตขึ้นจากเดิม โดยวิกฤต COVID-19 อาจกระตุ้นให้เศรษฐกิจดิจิทัลของจีนเติบโตเร็วขึ้นกว่าเดิม เนื่องด้วยมีผู้บริโภคในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มพื้นที่ชนบทเริ่มเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนการจับจ่ายบนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น
  2. การประยุกต์ใช้ AI และหุ่นยนต์ที่เพิ่มขึ้นมากขึ้นในช่วงป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด เป็นผลให้ผู้บริโภค ผู้ผลิต และผู้จัดจัดหน่ายเห็นถึงศักยภาพและประโยชน์ที่ AI และหุ่นยนต์ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตมากขึ้น จึงอาจเป็นผลให้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในจีนได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
  3. ธุรกิจการค้าใกล้ชุมชนอย่างซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็ก/ร้านสะดวกซื้อจะมีบทบาทต่อผู้บริโภคจีนมากขึ้น ซึ่งเป็นตามไปนโยบายและมาตรการของจีนในช่วงป้องกันการแพร่ระบาดที่มุ่งเน้นให้ผู้บริโภคจีนหันมาจับจ่ายในร้านใกล้ชุมชนแทนการเดินทางไปซื้อสินค้า ณ ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ร้านใกล้ชุมชนต่างก็ปรับกลยุทธ์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น ด้วยการจัดส่งถึงที่พักแบบไม่มีค่าใช้จ่าย
  4. ผู้บริโภคจีนตระหนักรู้ถึงความปลอดภัยในอาหารมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ SARS และ COVID-19 มีข้อสันนิษฐานว่ามีต้นเหตุมาจากอาหารในตลาดสินค้าสด ซึ่งอาจบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยได้ไม่ดีพอ ในอนาคตจึงคาดการณ์ว่าผู้บริโภคจีนจะให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยในสินค้าอาหารมากขึ้นตามลำดับ

[su_spacer]

ทั้งนี้ พฤติกรรมการบริโภคของจีนทั้ง 4 ลักษณะข้างต้น ถือเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการปรับตัวในการดำรงชีวิตของชาวจีนที่ต้องเผชิญกับวิกฤตโรคระบาดที่ยืดเยื้อและยาวนาน ส่งผลให้ธุรกิจออนไลน์ โดยเฉพาะธุรกิจอาหารและธุรกิจขนส่งสินค้าแบบเดลิเวอรี่ขยายตัวมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจดังกล่าวในไทยควรศึกษาพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคชาวจีนเพื่อนำมาปรับใช้และอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคชาวไทยเข้าสินค้าอาหารและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ พฤติกรรมข้างต้นยังสอดคล้องกับ บรรทัดฐานใหม่ หรือ ความปกติแบบใหม่ (The New Normal) ที่ McKinsey & Company สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้ทำการวิเคราะห์ออกมาว่า “เมื่อโลกกลับเข้าสู่สภาวะปกติ และการระบาดของ COVID-19 หมดไปอย่างถาวรแล้ว พฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน เริ่มจากการพึ่งพาเทคโนโลยี หรืออยู่ในโลกของดิจิทัลมากขึ้น”

[su_spacer]

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/876259 https://thaibizchina.com/article/consumer_behavior/
  • https://thestandard.co/havard-researchers-say-social-distancing-should-continue-until-2022/
  • https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-04-14/harvard-researchers-say-some-distancing-may-be-needed-into-2022
  • https://www.terrabkk.com/articles/197543

[su_spacer]

โดยศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์

กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้

 

Tags: จีนธุรกิจบริโภคออนไลน์
Previous Post

แนวโน้มการปกป้องตลาดสินค้าเกษตรของอียู สืบเนื่องจากวิกฤต COVID-19

Next Post

เวียดนามเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดชั่วคราวสำหรับผลิตภัณฑ์พลาสติกไทย

Tanakorn

Tanakorn

Glob Thailand Administrator

Next Post

เวียดนามเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดชั่วคราวสำหรับผลิตภัณฑ์พลาสติกไทย

Post Views: 912

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X