Tuesday, May 20, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

เอกชนไทยเข้าร่วมงาน Gulfood 2020 และผลกระทบต่ออุปทานสินค้าอาหารจากไวรัสโคโรนา

06/03/2020
in ทันโลก, เอเชีย
0
0
SHARES
53
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

ดูไบได้จัดงาน Gulfood 2020 ครั้งที่ 15 เมื่อวันที่ 16 – 20 กุมภาพันธ์ 2563 โดย Sheikh Hamdan รองเจ้าผู้ครองรัฐดูไบและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาเปิดงาน ซึ่งเป็นงานนิทรรศการสินค้าอาหารและบริษัทผู้ส่งออกอาหารของ ทั่วโลกมาออกร้านและพบกับผู้นําเข้าของดูไบยูเออี และประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลางและ MENA และเป็นนิทรรศการสินค้าอาหารที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง มีบริษัทเข้าร่วมกว่า 5,000 บริษัท โดยในปีนี้มีบริษัทผู้ผลิตสินค้าอาหาร/เครื่องดื่มไทยเข้าร่วม 127 รายและกงสุลใหญ่ได้ไปเยี่ยมให้กําลังใจกับผู้ประกอบการไทย เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งในการจัดงานดังกล่าวผู้จัดได้ให้ความมั่นใจว่า อาหารที่บริโภคในยูเออีและ GCC ปลอดจากโรคไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 โดยบริษัทผู้นําเข้าส่วนใหญ่นําสินค้าจากยุโรป สหรัฐอเมริกา บราซิล และเอเชียใต้มากกว่านําเข้าจากจีน และบริษัทผู้นําเข้าอาหารและบริษัทในภูมิภาคนี้มีมาตรฐานและมั่นใจได้ในคุณภาพจากบริษัทระหว่างประเทศที่ค้าขายกันมานาน ซึ่ง Dr. Ahmed Eitigani CEO ของบริษัท AI Rawabi Dairy Co. กล่าวว่าบริษัทตนไม่ได้นําเข้าสินค้าใดจากจีนและธุรกิจ อาหารและเครื่องดื่ม (F&B) โดยทั่วไปของยูเออีจะนําเข้าจากอิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี เดนมาร์ก สวีเดน เพราะยูเออีมีกําลังซื้อสูงและมองหาสินค้าคุณภาพ ซึ่งบริษัทในภาคอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้ นําเข้าอาหารจากแหล่งที่ไว้ใจได้และน่าเชื่อถือ และผู้บริโภคยูเออีมีความฉลาดและมีการศึกษามากขึ้น นอกจากดูวันหมดอายุสินค้าแล้ว ยังดูส่วนผสมของสินค้าว่ามีคุณภาพเช่นใดด้วย ขณะที่บริษัทในกลุ่ม Sahar Enterprises และบริษัทในกลุ่ม Alkabeer ก็กล่าวว่าบริษัทตนนําเข้าสินค้าอาหารจากบราซิลและเป็นอาหารฮาลาลแท้และมีมาตรฐานสูง สําหรับ นาย Kamal Vachani บริษัท AI Maya Group ระบุว่าธุรกิจอาหารในยูเออีมิได้ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์อาหารจากจีน อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปอาหารมาจากอินเดียมาก กระเทียมและขิงที่เคยนําเข้าจากจีนก็เปลี่ยนมาเป็นนําเข้าจาก อินเดียแทน สําหรับคอร์นเฟลค ก็นําเข้าจาก สอ. และยุโรป ผักต่างๆ บางส่วนนําเข้าจากจอร์แดน อาการกระป๋อง ผลิตหลายส่วนในรัฐชาร์จาห์ของยูเออี และว่าในยูเออีมีแต่ผลิตภัณฑ์และอาหารที่ปลอดภัยไม่มีนําเข้าจากจีนแล้ว และพวกซอสต่าง ๆ บางส่วนที่เคยนําเข้าจากจีน ก็ถูกนําเข้าจากประเทศอื่น ๆ เช่น เกาหลีใต้แทน

[su_spacer]

ส่วนนาย Krishna Dhanal บ. Alpen Capital กล่าวว่า ไวรัสโคโรนา ซึ่งจีนอยู่ในซัพพลายเชนของโลกก็ กระทบกับทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก ยูเออีและ GCC ซึ่งได้รับผลกระทบบางส่วนด้วยเช่นกันเหมือนกับธุรกิจทั่วโลก และว่าในส่วนของอาหารที่นําเข้าใน GCC มากเช่นกัน ราคาสินค้าก็จะเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่ราคาตกลงในช่วงปี 2016 และ 2017 Alpen Capital ประมาณว่า GCC จะนําเข้าสินค้าอาหาร 60 ล้านตันในปี 2023 และ 85% ของสินค้าอาหาร GCC จะนําเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด เพราะตะวันออกกลางพื้นดินเป็นทรายและแห้งแล้ง ไม่มีน้ําเพียงพอจะ ผลิตอาหาร สินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มใน GCC มีความต้องการสูงมากและจะถึงระดับ 60.7 ล้านตันในปี 2023 โดยมีความต้องการสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นใน GCC ปีละ 3.3% ภายในปี 2023 และ 85% ของอาหารที่บริโภค ใน GCC เป็นสินค้านําเข้าทั้งหมด สําหรับการบริโภคต่อหัวในภาคอาหารของ GCC กาตาร์นํามาเป็นอันดับ 1 โดยการใช้จ่ายถึง 115,979 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว ยูเออีอันดับ 2 61,673 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว คูเวตอันดับ 3 59,556 ดอลลาร์ต่อหัว GCC โดยรวม 55,137 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว ซาอุดิอาระเบีย 49,728 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว และขณะนี้บริษัทนําเข้าต่าง ๆ จะเน้น สินค้าเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะยูเออี สินค้าเพื่อสุขภาพกําลังมาแรง เป็นต้น

[su_spacer]

สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ

Tags: ยูเออีอาหารอุตสาหกรรม
Previous Post

นครเกิ่นเทอของเวียดนามติดอันดับเมืองที่มีการขยายตัวของประชากรสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของโลก

Next Post

บริษัทในมณฑลกวางตุ้งใช้ “เทคโนโลยีโดรน” ป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19

Tanakorn

Tanakorn

Glob Thailand Administrator

Next Post

บริษัทในมณฑลกวางตุ้งใช้ “เทคโนโลยีโดรน” ป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19

Post Views: 530

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X