เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2562 นายพวงปะลิสัก ปะวงเวียงคํา รองรัฐมนตรีกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สปป. ลาว และนาย Han Sen รองหัวหน้าองค์กรคุ้มครองบริหารภาษีแห่งประเทศจีน (GACC) ได้ร่วมลงนามข้อกําหนดเงื่อนไข ด้านสุขอนามัยพืชสําหรับการส่งออกมันเทศจาก สปป. ลาวไปยังจีน ในช่วงการประชุมทบทวนการปฏิบัติตามบันทึก ความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการกักกันพืชและสัตว์ และความปลอดภัยด้านอาหาร โดยเฉพาะมาตรฐานสินค้า เกษตรของ สปป. ลาวที่ส่งออกไปยังจีน ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ที่ผ่านมา สปป. ลาวได้ลงนามข้อกําหนดด้านสุขอนามัยพืชและสัตว์ ได้แก่ ข้าวโพด กล้วย มันสําปะหลัง ข้าว แตงโม และข้อกําหนดด้านสุขอนามัยเกี่ยวกับการกักกันและตรวจสุขภาพสัตว์ใหญ่ที่ส่งออกไปยังจีน เช่น วัว ทั้งนี้มาตรการสุขอนามัยพืชเป็นมาตรการที่ใช้ในการจํากัดการนําเข้าสินค้าเกษตรเพื่อป้องกันและคุ้มครองพืช และสุขภาพมนุษย์และสัตว์ภายในประเทศ โดยเฉพาะความเสี่ยงที่เกิดจากการบริโภคหรือต่อโรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต ที่ติดมากับพืชสัตว์และผลิตภัณฑ์ รวมทั้งสารเจือปนในอาหาร สารพิษหรือจุลินทรีย์ที่เป็นพาหะของโรค โดยการกําหนด ระดับความปลอดภัยและการตรวจสอบมาตรฐานสินค้านําเข้าจะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ และตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้
[su_spacer]
ปัจจุบัน สปป. ลาวมีพื้นที่ปลูกมันเทศ 4,600 เฮกตาร์ มีผลผลิตเฉลี่ย 17 ตันต่อ 1 เฮกตาร์ ในอนาคตทั้งสองฝ่ายจะเจรจา และลงนามข้อกําหนดด้านสุขอนามัยพืชสําหรับการส่งออกสินค้าไปยังจีนอีก 23 ชนิด ซึ่งจะช่วยอํานวยความสะดวก การส่งออกสินค้า โดยปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย คุณภาพอาหารและสินค้า และมาตรฐานสุขอนามัยพืช และสัตว์ขององค์การการค้าโลก (WTO/SPS) การดําเนินการดังกล่าวเป็นการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรภายในสปป. ลาว โดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน ซึ่งเป็นจุดเด่นของ สปป. ลาวที่มีพื้นที่เหมาะสมต่อการทําการเกษตร โดยประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ทั้งนี้ การผลิตสินค้าเพื่อส่งออกยังมีปริมาณน้อย ดังนั้น สปป. ลาวต้องปรับตัวเพื่อใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันจีนถือเป็นตลาดใหญ่ที่พร้อมจะรองรับสินค้าที่ผลิตใน สปป. ลาว จากข้อมูลสถิติขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) พบว่า ในปี 2560 สปป. ลาว ผลิตมันเทศได้จํานวน 110,130 ตัน จัดอยู่ในอันดับ 39 ของโลก
[su_spacer]