รายงานของหน่วยงาน Start-Up National Central อิสราเอลในเดือนกันยายน 2562 ระบุว่า อิสราเอลมีบริษัทเทคโนโลยีขั้นสูงในสาขาเกษตรและอาหารมากกว่า 350 บริษัท หนึ่งในสามของบริษัทเหล่านั้นเพิ่งก่อตั้งขึ้นในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึง Startup ที่พัฒนาเทคโนโลยีเนื้อสัตว์เทียมเพื่อแก้ปัญหาจํานวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น และความมั่นคงด้านอาหาร โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อในห้องทดลอเหมือนกับการปลูก stem cells ซึ่งจะช่วยลดการใช้ทรัพยาการต่าง ๆ ในการทําปศุสัตว์ ได้แก่ น้ำ ที่ดิน และพลังงาน ลง 10 เท่า ไม่นับอาหารที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวยังเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีการประเมินว่าการทําการเกษตรก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gas emissions) ทั่วโลกประมาณร้อยละ 13 โดยบริษัทในอิสราเอลเป็นผู้นําการพัฒนาเทคโนโลยีเนื้อสัตว์เทียมแข่งขันกับบริษัทใน Silicon Valley โดยหน่วยงาน Israel Innovation Authority (1A) ของรัฐบาลอิสราเอลสนับสนุนเงินลงทุนแก่ Startup ดังกล่าวจํานวน 25 ล้านดอลลลาร์สหรัฐ
[su_spacer]
Startup ชั้นนําของอิสราเอลที่พัฒนาเนื้อสัตว์เทียม อาทิ (1) Future Meat Technologies ก่อตั้ง ในปี 2561 คิดค้นการปลูกเลี้ยงเนื้อเยื่อจากเซลล์ให้เติบโตเป็นทวีคูณได้ใน 24 ชั่วโมง สามารถใช้เพาะ เนื้อไก่ แกะ และวัว ได้ภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งลดการใช้ที่ดินทําปศุสัตว์ลงร้อยละ 99 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึงร้อยละ 80 โดยเบื้องต้น บริษัทฯ มีแผนที่จะวางจําหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผสมผสานระหว่างเนื้อสัตว์เทียมกับโปรตีนจากพืชเพื่อสร้างกลิ่นและรสชาติเสมือนเนื้อสัตว์จริงในปี 2564 และจะวางจําหน่ายเนื้อสัตว์เทียมล้วนด้วยต้นทุนต่ำกว่า 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อปอนด์ ภายในปี 2565 (2) Aleph Farms ก่อตั้งในปี 2560 คิดค้นเนื้อสเต็กที่เพาะเลี้ยงจากเซลล์ของวัวในห้องทดลองที่มีลักษณะและรสชาติที่คล้ายคลึงกับเนื้อวัวจริงด้วยต้นทุนชิ้นละ 50 ดอลลาร์สหรัฐ และ(3) SuperMeat ก่อตั้งในปี 2558 คิดค้นการเพาะเลี้ยง stem cell สัตว์ปีก
[su_spacer]
ปัจจุบัน บริษัทในอิสราเอลเหล่านี้อยู่ระหว่างระดมทุนเพื่อค้นคว้าวิจัยต่อยอดไปสู่การวางจําหน่าย เนื้อสัตว์เทียมในตลาดควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาด้านกฎระเบียบ ลดต้นทุน และการได้รับการยอมรับจากสาธารณชนโดยในอิสราเอลเอง นักบวชยิว (Rabbi) บางส่วนเห็นว่า เนื้อสัตว์เทียมดังกล่าวน่าจะผ่านข้อกําหนดอาหารโคเชอร์ตามหลัก ศาสนายูดาย เนื่องจากไม่ได้มาจากสัตว์ที่ถูกฆ่า ขณะที่บางส่วนเห็นว่า เนื้อดังกล่าวไม่ใช่ทั้งเนื้อและนม (pareve) ซึ่งจะเปิดทางให้มีแฮมเบอร์เกอร์ที่เป็นโคเชอร์ได้ เนื่องจากตามหลักโคเชอร์ห้ามบริโภคเนื้อคู่กับนม
[su_spacer]
โดยที่อิสราเอลมีประชากรที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ร้อยละ 13 จากประชากรประมาณ 8.7 ล้านคน (มีสัดส่วนเป็นที่สองของโลกรองจากอินเดีย) นวัตกรรมเนื้อสัตว์เทียมจึงเติบโตอย่างรวดเร็วในอิสราเอล นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ภาคเอกชนอิสราเอลสนใจที่จะร่วมมือด้าน Foodtech กับประเทศไทยโดยสภาหอการค้าอิสราเอลแสดงความสนใจจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจกับบริษัทไทยในสาขาดังกล่าว และล่าสุดคณะผู้บริหารบริษัท ซีพีเอฟ ประเทศไทย จํากัด (มหาชน) หรือ CPF นําโดยนายอดิเรก ศรีประทักษ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร ได้เดินทางเยือนอิสราเอลระหว่างวันที่ 20 – 24 ตุลาคม 2562 ทเพื่อศึกษาดูงานด้านนวัตกรรมอาหารและพบปะหารือกับ Startup ในสาขาดังกล่าว
[su_spacer]