เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2562 สื่อหนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์ในเมืองการาจี รายงานข่าวเกี่ยวกับ ภาวะการขาดตลาดอย่างรุนแรง ของสินค้านําเข้าประเภทอาหาร ซึ่งผู้ประกอบการค้าเห็นว่า เป็นผลมาจากการนําเข้าสินค้า ประเภทอาหารที่ลดลงอัน เนื่องมาจากเงินรูปีฯ ที่อ่อนค่าลง ตลอดจนการปรับขึ้นของภาษีอากรนําเข้า และการออกออกคําสั่ง Statutory Regulatory Order – SBO ที่ 2557 (SRO237) ของ พณ. และสิ่งทอ ของประเทศปากีสถาน เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ที่กําหนดให้พิมพ์ฉลากสินค้าเป็นภาษาอูรดูและอังกฤษ พิมพ์เครื่องหมายตราฮาลาลบนกล่องบรรจุสินค้า ให้มีรายละเอียดทาง โภชนาการ การกําหนดราคาสินค้า (Maximum Retail Price – MRP) และอายุสินค้า (Shelf Life) เป็นต้น
[su_spacer]
ซึ่งทางหนังสือพิมพ์ Business Recorder ได้ทําการสํารวจตลาดทั่วประเทศปากีสถาน และพบว่า ปัจจุบัน สินค้านําเข้าประเภท อาหารขาดตลาดอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเนยแข็ง ช็อกโกแลต น้ําผลไม้ นาย Anis Majeed ประธานผู้อุปถัมภ์สมาคม The Karachi Wholesalers Grocers Association (KWGA) กล่าวว่า ค่าเงินรูปีฯ ที่อ่อนตัวลง ตลอดจนการปรับขึ้นของ ภาษีอากร รวมถึงการเพิ่มเงื่อนไขอื่น ๆ สําหรับสินค้านําเข้า ทําให้ค่าใช้จ่ายในการนําเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นตามไปด้วย สถานการณ์ ปัจจุบัน ทําให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ตัดสินใจนําสินค้าออกจากท่าเรือเพื่อเก็บไว้ในคลังสินค้าเท่านั้น และไม่สามารถ นําออกไปจําหน่ายได้ เพราะจะยิ่งทําให้ขาดทุนมหาศาล ในขณะที่ผู้ประกอบการร้านค้าบางรายระบุว่า ขณะนี้ ผู้ประกอบการนําเข้าสินค้าส่วนใหญ่ ได้หยุดการสั่งซื้อสินค้าประเภทอาหาร (Edible Items) จากต่างประเทศ แล้ว โดยเฉพาะ อาหารที่เน่าเสียง่ายเพราะไม่อาจแบกรับภาระขาดทุนท่ามกลางสินค้าที่ปรับราคาสูงขึ้นโดยที่กําลังซื้อของผู้บริโภคอ่อนตัวลง
[su_spacer]
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการบางรายให้ข้อมูลว่า จากการที่เงินรูปีฯ อ่อนค่าลง ทําให้ค่าใช้จ่าย สําหรับการนําเข้าสินค้า อุปโภคบริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Fast Moving Consumer Goods – FMCGs) เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 – 20 ทั้งนี้ Federal Board of Revenue ได้กําหนดเก็บ/ปรับขึ้นค่าอากรปกติ (Regulatory Duty) สําหรับสินค้านําเข้าจํานวน 569 รายการ เริ่มตั้งแต่ร้อยละ 5 จนถึงร้อยละ ๙๐ แล้วแต่ประเภทสินค้า อย่างไรก็ตาม มาตรการจํากัดการนําเข้าสินค้า จากต่างประเทศ ทําให้ FBR สูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีนําเข้าสินค้า โดยในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ ค.ศ. 2019-2020 (ก.ค. – ก.ย. 2562) FBR สูญเสียรายได้จากการจัดเก็บ ประมาณ 100 – 150 พันล้านรูปีฯ เนื่องจากการชะลอการ นําเข้าของนักธุรกิจและผู้ประกอบการนําเข้าสินค้าประเภทอาหารจากต่างประเทศ ทั้งนี้ สถิติการนําเข้าสินค้าประเภทอาหาร จัดอยู่ลําดับที่ 2 ของการนําเข้าสินค้าทั้งหมดของประเทศปากีสถาน จากต่างประเทศ
[su_spacer]
จากข้อมูลดังกล่าว นอกจากสินค้านําเข้าประเภทอาหารที่มีแนวโน้มขาดตลาดแล้ว ปรากฏว่า สถิติการนําเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตภายในประเทศ ก็ลดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งทางนายกรัฐมนตรีปากีสถาน ด้านการพาณิชย์ ยอมรับว่า การนําเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตภายในประเทศลดลงจริง รวมทั้งได้แสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว จะเชิงลบต่อภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศนั้น อย่างไรก็ตาม ที่ปรึกษา นายกรัฐมนตรีปากีสถาน แสดงความพอใจต่อผลการปฏิบัติงานของพาณิชย์ปากีสถาน ที่พยายามเพิ่มสถิติการส่งออกและ ลดการนําเข้า โดยสินค้าส่งออกสําคัญของประเทศปากีสถานคือ ข้าว เสื้อสําเร็จรูป เสื้อยืดผ้าฝ้าย ทองแดงและผลิตภัณฑ์จากทองแดง ผักและผลไม้ และอาหารทะเล
[su_spacer]
ในทางเดียวกันสมาคม KWGA ได้วิเคราะห์สถานการณ์การไว้ว่า มาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลปากีสถาน ย่อมทํา ให้การใช้จ่ายต่อครัวเรือนปรับสูงขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 30 เป็นผลมาจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคขึ้น เพราะต้นทุนการผลิตและการขนส่งสินค้าภายในประเทศสูงขึ้น จากการปรับขึ้นของราคาสินค้าพลังงาน
[su_spacer]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองการาจี