ด้วยเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2562 หนังสือ Arab News ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ (ท้องถิ่นฉบับภาษาอังกฤษของซาอุดีฯ ได้นําเสนอข่าว ในหัวข้อ “Saudi project aims to make Kingdom self-sufficient in seafood production” โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
[su_spacer]
นาย Ali Al-Shaikhi ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโครงการพัฒนาการประมงแห่งชาติของซาอุดีฯ (Saudi National Fisheries Development Program – NFDP) ได้ให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลซาอุดีฯ ได้ตั้งเป้าหมายการส่งเสริมอุตสาหกรรมการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องของซาอุดีฯ โดยมุ่งหวังที่จะทำให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองในการผลิตอาหารทะเล รวมทั้งสามารถที่จะขยายตลาดไปยังต่างประเทศได้ โดยใช้กองทุนเพื่อการพัฒนามูลค่า 1.3 พันล้านริยาลซาอุดีฯ (350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการขับเคลื่อนโครงการเพื่อกระตุ้นการลงทุนและการเติบโตใน ภาคอุตสาหกรรมประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศ โดยตั้งเป้าหมายการผลิตปีละ 600,000 ตันภายในปี 2573
[su_spacer]
นาย Ali Al-Shaikhi ระบุว่า ปัจจุบันปริมาณการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปริมาณ การผลิต 27,000 ตันในปี 2559 เพิ่มขึ้นเป็น 77,000 ตันในปี 2561 และเชื่อว่าอุตสาหกรรมด้านนี้จะมีศักยภาพในการสร้างความมั่นคงทางอาหารและการพึ่งพาตนเองให้กับประเทศ รวมทั้งสามารถตอบสนองความต้องการบริโภคอาหารทะเลที่เพิ่มมากขึ้นภายในประเทศ ซึ่งมีปริมาณการนําเข้าโดยเฉลี่ยในช่วงสามปีที่ผ่านมามีมากกว่า 200,000 ตัน มีมูลค่าราว 2.5 พันล้านริยาลซาอุดีฯ โดยมีประเทศผู้ส่งออกอาหารทะเลไปยังซาอุดีฯ รายใหญ่ ได้แก่ ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน อินโดนีเซีย และนอร์เวย์ ที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
[su_spacer]
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ชลประทาน และการเกษตรซาอุดีฯ (Ministry of Environment, Water and Agriculture – MEWA) ได้จัดทําแผนพัฒนาการประมงภายใต้ Vision 2030 โดยกําหนดให้ NFDP เป็นผู้ดําเนินงาน โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาสาขาหลักต่าง ๆ อาทิ (1) การผลักดันการพัฒนาตลาดและผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น (2) การจัดทําแผนงานสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น โรงเพาะฟักไข่และโรงงานอาหารสัตว์ อีกทั้ง (3) มีการวางแผนงานที่จะให้ทุนสนับสนุนโครงการวิจัยและพัฒนาโดยทํางานร่วมกับมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสัตว์น้ำสายพันธุ์ที่มีอยู่เดิม รวมทั้งศึกษาเทคนิคในการผลิตสําหรับสัตว์น้ำสายพันธุ์ใหม่ ๆ ด้วย
[su_spacer]
ซาอุดีอาระเบียมีแนวชายฝั่งทะเลยาว 2,800 กม. (โดยเฉพาะในฝั่งทะเลแดง) ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีความลึกของระดับน้ำทะเลใกล้ชายฝั่งอยู่ที่ 25 ถึง 50 เมตร และมีคลื่นลมที่เหมาะสม จึงทําให้มีศักยภาพสําหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในทะเล โดยปัจจุบันมีบริษัทขนาดใหญ่ 12 แห่งที่ดําเนินธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางทะเลและน้ำจืดในประเทศตามแนวชายฝั่ง ตั้งแต่เมืองตาบูก (Tabuk) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ไปจนถึงเมืองจาซาน (Azan) ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ และยังมีโครงการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดในบริเวณกรุงริยาดอีกด้วย
[su_spacer]
นอกจากนี้ ซาอุดีฯ ยังมีอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศที่สามารถผลิตไข่ปลาคาเวียร์ได้ โดยบริษัท Caviar Court ซึ่งเป็นผู้ประกอบการผลิตไข่ปลาคาเวียร์ ประสบกับผลสําเร็จด้วยดีในอุตสาหกรรมดังกล่าว ซึ่งปัจจุบัน สินค้าผลิตภัณฑ์ประมงของซาอุดีฯ มีการพัฒนาในด้านคุณภาพและมาตรฐาน โดยผ่านการรับรองและติดฉลากตามโปรแกรม SAMAQ ซึ่ง NFDP ได้ตั้งความหวังที่จะเปิดตลาดส่งออกใหม่ ๆ ในประเทศต่าง ๆ อาทิ จีน และรัสเซีย ให้กับผู้ประกอบการซาอุดีฯ อีกด้วย ปัจจุบัน NFDP ได้จัดทําระเบียบการลงทุน (ready-to-invest packages) ที่สามารถลดระยะเวลาในการออก ใบอนุญาตลงเหลือเพียง 3 เดือน ละยังทํางานร่วมกับกองทุนเพื่อการพัฒนาการเกษตร (Agricultural Development Fund – ADF) และกองทุนเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมซาอุดีฯ (Saudi Industrial Development Fund – SIDF) เพื่อให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนสําหรับโครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ง่ายขึ้น อีกทั้ง SIDF พร้อมที่จะให้เงินทุนสนับสนุนในบางโครงการมากถึง 75% และเพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมในด้านนี้ NFDP ยังเป็นผู้ติดต่อประสานงานกับสํานักงานการลงทุนทั่วไปซาอุดีฯ (Saudi Arabian General Investment Authority – SAGIA) ให้กับนักลงทุนต่างชาติที่มีศักยภาพเพื่อที่จะเข้าสู่ตลาดได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วย
[su_spacer]
ข้อสนเทศและข้อสังเกตเพิ่มเติม คือ ปัจจุบัน ชาวซาอุดีฯ ได้เพิ่มความนิยมการบริโภคสินค้าอาหารทะเลเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่เมืองเจดดาห์ที่อยู่บริเวณฝั่งทะเลแดงมีการจําหน่ายอาหารทะเลสด โดยเฉพาะปลาทะเลขนาดใหญ่ต่าง ๆ กุ้ง ปู และปลาหมึกในซุปเปอร์มาร์เกตเป็นจํานวนมาก รวมถึงมีการจําหน่ายปลาน้ำจืดแช่แข็งอีกด้วย
[su_spacer]
ในส่วนของไทยซึ่งเป็นประเทศที่ซาอุดีฯ ระบุว่ามีการนําเข้าสินค้าอาหารทะเลอย่างมาก ส่วนใหญ่ได้แก่ ปลากระป๋อง (ซึ่งตลาดน่าจะเป็นชาวต่างชาติที่อาศัยในซาอุดีฯ) และปลาน้ำจืดแช่แข็ง (ซึ่งปัจจุบัน ซาอุดีฯ เริ่มดําเนินมาตรการห้ามนําเข้าจากตลาดต่าง ๆ เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย แต่ยังคงอนุญาตสําหรับสินค้าไทย) ซึ่งในช่วงตั้งแต่เดือน กรกฎาคมที่ผ่านมา สถานกงสุลใหญ่ได้รับข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองเจดดาห์ ว่า ทางการซาอุดีฯ ได้ระงับการนําเข้าสินค้าประมงของไทยเนื่องจากมิได้ทําการลงทะเบียนตามระบบใหม่ ซึ่งกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้ทําการเจรจาจนสามารถนําเข้าได้ชั่วคราวในขณะนี้ โดยผู้ประกอบการไทยต้องลงทะเบียนให้ถูกต้องก่อนการส่งสินค้าในคราวต่อไป ซึ่งอาจแสดงให้เห็นว่าซาอุดีฯ เริ่มที่จะมีการใช้กลไกเพื่อกีดกันการนําเข้าสินค้าดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นด้วย
[su_spacer]
อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากร ชลประทาน และการเกษตรซาอุดีฯ ได้เชิญคณะผู้แทนจากกรมประมงของไทยเยือนซาอุดีฯ เพื่อหารือเกี่ยวกับกฎระเบียบและแนวปฏิบัติของไทยในการนําเข้าพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กุ้งทะเลเพื่อการเพาะพันธุ์ในประเทศไทยตามที่กรมประมงของไทยได้รับคําร้องจากผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งของไทย (กลุ่มบริษัท CP) ทั้งนี้ SAMAQ เป็นโปรแกรมการรับรองและติดฉลากผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งชาติของซาอุดีฯ ที่พัฒนาโดยสมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำซาอุดีฯ ภายใต้คําแนะนําของ กระทรวงทรัพยากร ชลประทาน และการเกษตรซาอุดีฯ และในโอกาสนี้ คณะฯ ได้เข้าพบหารือกับนาย Ai At Shikhi อธิบดีกรมประมงซาอุดีฯ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NFDP ที่กรุงริยาด และเข้าเยี่ยมชมและตรวจสอบบริษัท National Aquaculture Group (NAQUA) ที่เมือง AI Lith (ใกล้เมืองเจดดาห์) ซึ่งที่ผ่านมาการเยือนซาอุดีฯ ของคณะผู้แทนส่วนราชการไทย มักจะไม่ได้รับการตรวจลงตราเข้าประเทศโดยง่าย การเยือนของคณะผู้แทนกรมประมงจึงแสดงถึงการให้ความสําคัญของฝ่ายซาอุดีฯ ในการที่จะส่งเสริมความร่วมมือในสาขาที่มีศักยภาพเป็นผลประโยชน์โดยตรงและอยู่ในความสนใจของฝ่ายซาอุดีฯ
[su_spacer]
โดยที่ไทยเป็นประเทศที่มีการพัฒนาในอุตสาหกรรมการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างมากประเทศหนึ่งของโลก จึงเห็นว่า น่าจะเป็นโอกาสที่ไทยจะพิจารณาบรรจุสาขาประมงเป็นสาขาหนึ่งในการส่งเสริมความร่วมมือกับซาอุดีฯ ภายใต้การดําเนินตามนโยบาย Vision 2030 รวมทั้งเพื่อเตรียมพร้อมสําหรับการฟื้นฟูความสัมพันธ์ ไทย-ซาอุดีฯ โดยอาจประสานงานกับกรมประมงเพื่อแสวงหาลู่ทางการเชิญผู้แทน NFDP มาดูงานด้านการประมงในประเทศไทย รวมทั้ง หารือกับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมการประมงของไทยเพื่อแสวงหาโอกาสในการลงทุนในอุตสาหกรรมที่จะสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของซาอุดีฯ อาทิ โรงงานอาหารปลา โรงงานเพาะเลี้ยงพันธ์ปลา เป็นต้น
[su_spacer]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์