เมื่อวันที่ 14-17 พ.ย. 2561 กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามจัดงาน Vietnam Food Expo 2018 ณ ศูนย์การจัดแสดงสินค้า SECC นครโฮจิมินห์ โดยภายในงานประกอบด้วยการสัมมนาและงานแสดงสินค้าด้านอาหารและเทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร (Foodtech Vietnam) โดยมีผู้ร่วมแสดงสินค้าประมาณ 400 ราย จาก 15 ประเทศ อาทิ เวียดนาม อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และสหรัฐฯ มีผู้ร่วมงานประมาณ 15,000 ราย [su_spacer size=”20″]
โดยจากการวิเคราะห์ ของงานพบว่า มีประเด็นที่เวียดนามให้ความสําคัญในอุตสาหกรรมด้านอาหาร ได้แก่ [su_spacer size=”20″]
1.ความปลอดภัยด้านอาหารและความยั่งยืน โดยรัฐบาลเวียดนามได้ออกกฎหมายด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและความยั่งยืนในการผลิตตามมาตรฐานสากล เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์เชิงบวกของผลิตภัณฑ์จากเวียดนาม โดยให้ความสําคัญกับการตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) และในปัจจุบันนิยมประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain ซึ่งช่วยให้เข้าถึงข้อมูลที่ทันสมัยและปลอดภัยโดยไม่มีคนกลาง เช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าการเกษตรแก่ผู้บริโภคผ่านการสแกนบาร์โค้ด และการใช้เทคโนโลยีจดจําใบหน้าลูกค้าและ รายการการสั่งอาหารในร้าน [su_spacer size=”20″]
2.อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารและเครื่องดื่มเติบโตสูงและตลาดผู้บริโภคขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสําคัญภายใต้วิสัยทัศน์ ค.ศ. 2035 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยระหว่างปี 2553-2560 ร้อยละ 6.82 ต่อปี และสําหรับอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม เติบโตร้อยละ 9.76 ต่อปี ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกในปี 2561 อุตสาหกรรมทั้งสองสาขาเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา มูลค่าการจดทะเบียน FDI สะสมด้านอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารและเครื่องดื่มถึงเดือน ต.ค. 61 มีทั้งหมด 717 โครงการ มูลค่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่จํากัดในภาคการแปรรูปการเกษตร อาหารทะเล และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ การใช้จ่ายสําหรับอาหารและเครื่องดื่มของชาวเวียดนามมีสัดส่วนสูงสุดถึงร้อยละ 35 และคิดเป็นร้อยละ 15 ของ GDP ในขณะที่การบริโภคอาหารแปรรูปเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.12 ต่อปี และเครื่องดื่ม 11.28 ต่อปี โดยภาคธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มคิดเป็นร้อยละ 30 ของ GDP [su_spacer size=”20″]
3.แนวโน้มอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารดาวรุ่งในเวียดนามได้แก่ (1) การแปรรูปอาหารทะเล ซึ่งมูลค่าเติบโตร้อยละ 13 ต่อปี ซึ่งในปี 2560 ผลิตได้มากกว่า 548,000 ตัน และเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลลําดับที่ 5 ของโลก (2) นมและผลิตภัณฑ์จากนม ซึ่งกําลังเปลี่ยนผ่านจากการพึ่งพิงการนําเข้าเป็นการผลิตภายในประเทศมีประสิทธิภาพ การผลิต 5.1 ตันต่อรอบ มากกว่าจีน ไทย และอินโดนีเซีย (3.4 3.2 และ 3.1 ตันต่อรอบ ตามลําดับ) โดยคาดการณ์ว่าจะเติบโตร้อยละ 12 ต่อปี จนถึงปี 2568 (3) การแปรรูปผัก ซึ่งในปี 2560 มีมูลค่าการส่งออกถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 (4) เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งน้ำแร่ ชาเขียวบรรจุขวด และเครื่องดื่มน้ำอัดลม มีสัดส่วนการบริโภคสูงสุดร้อยละ 40 35 และ 19 ตามลําดับ รวมทั้งเวียดนามตั้งเป้าการผลิตเครื่องดื่มให้ได้ 9.1 พันล้านลิตรในปี 2568 และ 15.2 พันล้านลิตรในปี 2578 ตามลําดับ [su_spacer size=”20″]
4.การบังคับใช้ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVFTA) และความตกลงการค้าเสรีกว่า 16 ฉบับที่แล้วเสร็จและกําลังเจรจา รวมถึง CPTPP จะช่วยส่งเสริมการส่งออกสินค้าจากเวียดนามมากขึ้น ซึ่ง EVFTA จะช่วยยกระดับมาตรฐานการผลิตอาหารที่ปลอดภัยและยั่งยืนและส่งเสริมให้การส่งออกสินค้าเวียดนามไปสหภาพยุโรปสูงขึ้น (ในปี 2558 การค้าระหว่างทั้งสองเพิ่มขึ้นกว่า 3.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นสัดส่วนการส่งออกมูลค่า 2.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยเฉพาะด้านอาหาร สินค้าเกษตร (พริกไทย กาแฟ ถั่ว) อาหารทะเล ไวน์และเครื่องดื่ม โดยข้อตกลงฯ ยังได้กําหนดให้สหภาพยุโรปปรับปรุงมาตรฐานการผลิตเพื่อส่งออกสินค้าอาหารในเวียดนาม และเป็นโอกาสสําหรับเวียดนามในการเข้าถึงเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ตลอดจนพัฒนาคุณภาพแรงงาน โดยเฉพาะด้านการแปรรูปอาหารและการเกษตร [su_spacer size=”20″]
5.นโยบายการส่งเสริมการแปรรูปอาหารตามกฤษฎีกาหมายเลข 57 และ 98 อาทิ อัตราภาษีเงินได้ นิติบุคคลและภาษีการนําเข้าพิเศษ การยกเว้นค่าเช่าที่ดินและให้สิทธิการใช้ที่ดิน โดยเน้นดึงดูดการลงทุนด้านการพัฒนาวัตถุดิบให้ได้มาตรฐานสําหรับการแปรรูป การถ่ายโอนเทคโนโลยีด้านการแปรรูป บรรจุภัณฑ์ การเก็บรักษาผลผลิต นอกจากนี้รัฐบาลจะให้การสนับสนุนด้านการบริโภคสินค้าเกษตร อาทิ การก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน การประชาสัมพันธ์บรรจุภัณฑ์ วัตถุดิบด้านเมล็ดพันธุ์ โดยในระดับท้องถิ่น จังหวัดสามารถสนับสนุนด้านการจัดสรรค์ที่ดินจากเกษตรกร และแผนการสนับสนุนด้านวัตถุดิบ [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี ยังมีความท้าทายในอุตสาหกรรมด้านอาหารสำหรับเวียดนาม ได้แก่ (1) การลงทุน FDI ที่ไม่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เกี่ยวกับการพัฒนาวัตถุดิบ เช่น การเก็บเกี่ยว การเลี้ยงปศุสัตว์ (2) วัตถุดิบในประเทศยังมีมาตรฐานต่ำ ไม่สามารถสนับสนุนการแปรรูปอาหารจาก FDI ได้ (3) การแปรรูปอาหารจํากัดอยู่เพียงการแปรรูปขั้นต้น อาทิ กาแฟ ชา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ พริกไทย ผัก ผลไม้ และอาหารทะเล เนื่องจากขาดเทคโนโลยีแปรรูปที่ทันสมัยและมีราคาสูง (4) ขาดเทคโนโลยีการเก็บรักษาและถนอมอาหารในผลผลิตการเกษตรหลังเก็บเกี่ยวให้มีอายุยาวนานขึ้น ทําผลผลิตต่อตันต่ำกว่าประเทศอื่น เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ และสหรัฐฯ (5) ขาดฐานข้อมูล ขาดการสนับสนุนเทคโนโลยีเกี่ยวกับการจัดเก็บฐานข้อมูลของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนขาดความตระหนักรู้ของผู้บริโภคเกี่ยวกับการตรวจสอบย้อนกลับ [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์