สถาบัน Statista เผยมูลค่าการชําระเงินผ่านระบบ E-Payment ปี 2560 ของเวียดนามมีจำนวนรวม 6,140 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับปี 2559 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 12,330 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2565 ทั้งนี้ รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศกฤษฎีกาที่ 2454/QD-TTq ว่าด้วยโครงการพัฒนาการชําระเงินแบบไร้เงินสดช่วงปี 2559 – 2563 ตั้งเป้าเพิ่มจุดชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากกว่า 300,000 จุด ทั่วประเทศ [su_spacer size=”20″]
สถาบัน Statista เผยว่า ปี 2560 มูลค่าการชําระเงินผ่านระบบ E-Payment ในเวียดนามรวม 6,140 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับปี 2559 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 12,330 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2565 ซึ่งในปี 2560 ธนาคารแห่งชาติเวียดนามได้อนุมัติผู้ให้บริการ E-Wallet กว่า 20 ราย โดยมี MoMo เป็นผู้นําด้าน E-Wallet ด้วยจํานวนผู้ใช้บริการกว่า 5 ล้านราย รองลงมา ได้แก่ Bankplus, ViViet, ZatoPay, Wepay, และ NganLuang ฯลฯ นอกจากนี้ ผู้ให้บริการการชําระเงินออนไลน์ระดับโลกอย่าง Samsung Pay ได้เปิดให้บริการในเวียดนามตั้งแต่ปี 2560 รวมถึง Sacombank ที่เปิดตัวการให้บริการชําระเงินด้วย QR Code ในร้านค้า และร้านอาหาร ซึ่งนับเป็นธนาคารพาณิชย์รายแรกในเวียดนามที่เปิดให้บริการการชําระเงินด้วยวิธีดังกล่าวอีกด้วย [su_spacer size=”20″]
ธนาคารแห่งชาติเวียดนามเผยว่า ในปี 2560 มูลค่าการชําระเงินออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับธนาคารและระบบการโอนเงินระหว่างธนาคาร (Switching) เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 30 การชําระเงินผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 81 ผ่านช่องทางโทรศัพท์เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 70 ขณะที่อัตราการถอนเงินสดลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 จากร้อยละ 15 เหลือร้อยละ โดยจํานวนบัญชีธนาคารในเวียดนามเพิ่มขึ้นจาก 16.8 ล้านบัญชีในปี2553 เป็น 67.4 ล้านบัญชีในปี 2560 ทั้งนี้ รัฐบาลเวียดนามตั้งเป้าให้ชาวเวียดนามที่มีอายุมากกว่า 15 ปีกว่าร้อยละ 70 ครอบครองบัญชีธนาคารภายในปี 2563 [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 เวียดนามมีตู้ ATM รวม 18,280 ตู้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 และมีจุดชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Point of Sale: POS) รวม 289,070 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปี 2560 ในขณะที่การใช้อินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนของชาวเวียดนามได้เพิ่มขึ้น โดยสํานักวิจัย Pew Research Center ระบุว่า จํานวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนในเวียดนามในช่วงปี 2558 – 2560 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 และมีสัดส่วนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่ร้อยละ 53 ของประชากรในประเทศเป็นอันดับที่ 25 จาก 39 ทั่วโลก ซึ่งเติบโตดังกล่าว ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสําคัญในการพัฒนาการชําระเงินแบบออนไลน์ในอนาคต [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ รัฐบาลเวียดนามประกาศกฤษฎีกาที่ 2454/QD-TTq ปรับใช้ถึงปี 2563 ว่าด้วยโครงการพัฒนาการชําระเงินแบบไร้เงินสดช่วงปี 2559 – 2563 โดยมีสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้ [su_spacer size=”20″]
(1) ลดการใช้เงินสดในการธุรกรรมน้อยกว่าร้อยละ 10
(2) ร้อยละ 100 ของซุปเปอร์มาร์เก็ต ศูนย์การค้าและตัวแทนจัดจําหน่ายที่ทันสมัยสามารถตอบสนองความต้องการการชําระเงินแบบไร้เงินสด ร้อยละ70 ของหน่วยงานให้บริการน้ำประปา ไฟฟ้า โทรคมนาคมและการสื่อสารสามารถตอบสนองความต้องการของครัวเรือนและประชาชนในการชําระเงินแบบไร้เงินสด และร้อยละ 50 ของประชาชนและครัวเรือนในพื้นที่เมืองขนาดใหญ่ชําระเงินแบบไร้เงินสดในการอุปโภคและบริโภคสินค้าและบริการ
(3)
เพิ่มจุดชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากกว่า 300,000
จุด
(4) กระตุ้นการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจากระดับร้อยละ 2 ในปัจจุบัน (เทียบกับอัตราเฉลี่ยของโลกที่ร้อยละ 18 และของไทยที่ร้อยละ 6
(5) การใช้จ่ายผ่านระบบชําระเงินออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็น 200 ล้านธุรกรรมต่อปีภายในปี 2563 [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย