เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา สถาบันการวิจัยตราสินค้าและกลยุทธ์การแข่งขันของเวียดนาม (Institute for Brand and Competitiveness Strategy) ได้จัดการสัมมนาในหัวข้อการพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรม (Enterprises Development and Innovation)
เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาธุรกิจเวียดนามในอนาคต ตลอดจนแลกเปลี่ยนทัศนะและเสนอแนะข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการและแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ผลการสัมมนามีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจดทะเบียนธุรกิจและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และสตาร์ทอัพ ดังนี้
[su_spacer]
1. การจดทะเบียนธุรกิจและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
การจดทะเบียนธุรกิจและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเวียดนามคาดการณ์ว่าในปี 2562 จำนวนการจดทะเบียนธุรกิจจะเติบโตเล็กน้อย โดยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 140,000 ราย โครงสร้างของจำนวนและทุนจดทะเบียนของธุรกิจเปลี่ยนแปลงตามโครงสร้างเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับภาคอุตสาหกรรมการผลิต การแปรรูป และอุตสาหกรรมสนับสนุนมากขึ้น ขณะที่คาดการณ์ว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจะเติบโตขึ้นเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา โดยมูลค่าทุนจดทะเบียนคาดว่าอยู่ที่ 30,000 – 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
[su_spacer]
2. สตาร์ทอัพ
จนถึงปี 2561 เวียดนามมีสตาร์อัพรวม 3,000 ราย ด้วยมูลค่าการลงทุนรวม 889 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่าการลงทุนประมาณร้อยละ 83 ของข้อตกลงทางธุรกิจ 92 รายการ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 734 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสตาร์อัพซีรีส์ D เข้าลงทุนในเวียดนามแล้ว เช่น Topica Tiki Foody เป็นต้น ขณะที่นักลงทุนท้องถิ่น อาทิ Vingroup Viettel FPT ฯลฯ เป็นผู้ที่มีบทบาทในการลงทุนในธุรกิจนี้ด้วยสัดส่วนร้อยละ 55 สาขาธุรกิจในกลุ่มสตาร์ทอัพที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ได้แก่ ฟินเทค และอีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้ ธุรกิจการให้บริการซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะในด้านการให้คำปรึกษา การออกแบบ และการโฆษณา ก็ได้รับความสนใจและเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ทั้งนี้ ปัจจุบัน นครโฮจิมินห์เป็นพื้นที่รองรับการเติบโตของสตาร์ทอัพมากที่สุดในเวียดนาม โดยคาดว่ามีจำนวนธุรกิจสตาร์ทอัพในนครโฮจิมินห์ประมาณ 2,000 ราย ลำดับที่สอง ได้แก่ กรุงฮานอย มีจำนวนธุรกิจสตาร์ทอัพประมาณ 1,000 ราย และพื้นที่รองลงมาได้แก่ นครดานัง
[su_spacer]
อนึ่ง งานสัมมนายังได้กล่าวถึงการที่ผู้มีอำนาจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของเวียดนามจะต้องปรับแนวคิดต่อธุรกิจสตาร์ทอัพและยอมรับว่าธุรกิจสตาร์ทอัพเป็นธุรกิจที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ในอนาคต รวมถึงภาครัฐและภาคเอกชนของเวียดนามจะต้องเร่งสร้างระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ (Startup ecosystem) ให้เอื้อต่อการบ่มเพาะสตาร์ทอัพของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตว่า เวียดนามเริ่มให้ความสำคัญต่อการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพผ่านการประกาศใช้นโยบายและกฎหมายหลายฉบับในตลอดช่วงที่ผ่านมา เช่น โครงการหมายเลข 844 ว่าด้วยการสนับสนุน Startup ecosystem จนถึงปี 2569 การให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก และการสนับสนุนเงินผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการพันธมิตรนวัตกรรมเวียดนาม – ฟินแลนด์ เป็นต้น
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย