สมาคมผู้แปรรูปและส่งออกอาหารทะเลเวียดนามระบุว่า ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2561 การส่งออกผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าแปรรูปไปยังสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 332 คิดเป็นมูลค่าเกือบ 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการส่งออกปลาทูน่าของเวียดนามไปยัง 3 ตลาดขนาดใหญ่ในสหภาพยุโรป ได้แก่ เยอรมนี โปแลนด์ และอิตาลี เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 ร้อยละ 46 และร้อยละ 4 ตามลําดับ[su_spacer size=”20″]
ในช่วงที่ผ่านมา ภาคธุรกิจเวียดนามพยายามผลักดันการส่งออกปลาทูน่าไปยังสหภาพยุโรปโดยใช้วิธีการนำเข้าปลาทูน่าที่ได้มาตรฐานจากเรือประมงระหว่างประเทศ ทำให้สามารถจัดทําเอกสารที่สหภาพยุโรปกําหนดเกี่ยวกับการทําประมง IUU ได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ เวียดนามต้องพึ่งพาการนำเข้าปลาทูน่าจากต่างประเทศ เนื่องจากแหล่งวัตถุดิบในประเทศไม่เพียงพอต่อการส่งออก[su_spacer size=”20″]
ในช่วงต้นปี 2561 สหภาพยุโรปยังคงให้สิทธิพิเศษทางภาษีสําหรับนําเข้าเนื้อปลาทูน่านึ่งสุกจากประเทศที่ 3 โดยไม่ต้องผ่านการเจรจาต่อรองกับสหภาพยุโรปปริมาณรวม 25,000 ตัน อาทิ จากไทย เวียดนาม และจีน ดังนั้น ผู้ประกอบการเวียดนามจึงมุ่งใช้สิทธิประโยชน์จากโอกาสดังกล่าวเพื่อผลักดันการส่งออก[su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ตาม นอกจากการได้ใบเหลืองจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกส่งสินค้ากลับในกรณีผู้ประกอบการไม่สามารถพิสูจน์แหล่งที่มาของสินค้าได้ การได้ใบเหลืองยังเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาไปสู่ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรป เพราะการดําเนินการดังกล่าวเป็นแนวทางของสหภาพยุโรปในการขจัดปัญหาการทำประมง IUU[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย