กระทรวงการเกษตรออสเตรเลียรายงานว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีกรณีการละเมิดระเบียบการนําเข้าสินค้าสู่ออสเตรเลียรวม 33 กรณี ซึ่งเป็นการละเมิดโดยประเทศเวียดนาม 6 กรณี ซึ่งเมื่อตรวจสอบความเสี่ยงจากผลิตภัณฑ์อาหารนําเข้า กระทรวงการเกษตรออสเตรเลียพบว่า อาหารเวียดนาม 2 รายการ ได้แก่ กุ้งแช่แข็งและกุ้งปรุงสุก เจือปนสารต้องห้ามจากการตรวจนับจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย โดยกลุ่มสินค้าดังกล่าวจะถูกห้ามจําหน่ายในออสเตรเลีย ขณะเดียวกัน ผู้นําเข้าต้องยกเลิกหรือส่งสินค้ากลับไปยังประเทศที่นําเข้าภายใต้การควบคุมโดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบของออสเตรเลีย นอกจากนี้ การส่งสินค้าในรอบต่อไปของเวียดนามไปยังออสเตรเลียจะถูกตรวจสอบร้อยละ 100 จนกว่าสินค้าจะตรงตามข้อบังคับ[su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ กระทรวงการเกษตรออสเตรเลียได้ตรวจพบสารปนเปื้อนในสินค้าของเวียดนามอีก 2 รายการ รวมถึงมีสารที่สร้างมลพิษและสารพิษในปลาแมคเคอร์เรลเค็มและปลาแมคเคอร์เรลในน้ำมันถั่วเหลือง โดยสินค้า 2 รายการดังกล่าวถูกตรวจพบสาร Histamine ที่เกิดขึ้นในกระบวนการเน่าเสียของเนื้อปลา สารดังกล่าวมีลักษณะทนความร้อน แม้กระทั่งอาหารผ่านกระบวนการปรุงสุกแล้วก็ยังคงสามารถมีชีวิตอยู่ได้ และเมื่อปริมาณสาร Histamine ในอาหารสูงเกินไปหรือเอนไซม์ที่สลาย Histannine ในร่างกายถูกยับยั้งจะก่อให้เกิดพิษต่อร่างกาย[su_spacer size=”20″]
ภาวะเป็นพิษจากสาร Histamine มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายในหนึ่งถึงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหาร ผู้รับประทานสารดังกล่าวปริมาณตั้งแต่ 8-40 มิลลิกรัม และมีความเร็วต่อความรู้สึกจะมีอาการน้ำตาไหล น้ำลายไหล อาเจียน หากรับประทานปริมาณตั้งแต่ 1,500-4,000 มิลลิกรัม จะมีอาการวิงเวียนศรีษะ ปวดท้อง ท้องเสีย หัวใจเต้นเร็ว หายใจลําบาก ทางเดินหายใจหดตัว ความดันต่ำ เนื่องจากการขยายตัวของหลอดเลือด ซึ่งสินค้า 2 รายการ ของเวียดนามดังกล่าวตรวจพบสาร Histamine เจือปน 234 และ 300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม[su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 กระทรวงการเกษตรออสเตรเลียได้ดําเนินการตรวจสอบเพิ่มเติม และพบเจอสารต้องห้ามในพริกแดงและแก้วมังกรของเวียดนามอีกด้วย โดยพริกแดงที่นําเข้าจากเวียดนามไปยังออสเตรเลียพบสารเจือปนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประกอบด้วย สาร carbendazim, สาร chlorpyrifo5, สาร cyhalothrin, สาร difenoconazole, สาร metalaxyl, สาร profenofos และสาร propiconazole ส่วนสารที่ปนเปื้อนในแก้วมังกร คือ สาร carbendazim[su_spacer size=”20″]
สาร carbendazim จัดอยู่ในกลุ่ม C โดยเป็นกลุ่มสารเคมีที่ก่อมะเร็งและหลายประเทศห้ามใช้ มีเฉพาะในเวียดนามที่นําสารออกฤทธิ์ดังกล่าวออกจากรายชื่อกลุ่มยาถนอมอาหารที่อนุญาตให้ใช้ได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนามยังคงอนุญาตให้ผู้ประกอบการผลิตและนําเข้าสารถนอมอาหารที่มีสาร Carbendazim เจือปนอย่างมาก 1 ปี และอนุญาตให้จําหน่ายและใช้ได้มากที่สุด 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2561 ดังนั้น ในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีผลิตภัณฑ์ของเวียดนามที่ส่งออกไปยังออสเตรเลียตรวจพบสารปนเปื้อนและถูกส่งกลับรวม 6 รายการ[su_spacer size=”20″]
ก่อนหน้านี้ในการสัมมนาความพยายามแก้ไขปัญหาเพื่อเพิ่มการส่งออก ในวันที่ 23 เมษายน 2561 นายเจิ่น ต๋วน แอ็งห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ได้ระบุถึงข้อจํากัดของการส่งออกของเวียดนาม คือ กระบวนการผลิตที่กระจัดกระจายส่งผลให้คุณภาพของสินค้าการเกษตร สัตว์น้ำ ขาดความ สม่ำเสมอ ยากต่อการตรวจสอบความปลอดภัย รวมถึงการปรับใช้ข้อบังคับสากลในการระบุแหล่งที่มาสินค้า นอกจากนี้ ในประเด็นความปลอดภัยทางอาหาร แม้ได้รับการแก้ไขเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้แต่ยังคงขาดความสม่ำเสมอ ส่งผลให้สินค้าส่งออกถูกส่งกลับเนื่องจากไม่เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร และส่งผลต่อภาพลักษณ์และตราสินค้าของเวียดนาม[su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการส่งออก รัฐมนตรีฯ เจิ่น ต๋วน แอ็งห์ ขอให้กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนามศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้การแก้ไขปัญหาเพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งสกปรก สารตกค้าง และยาปฏิชีวนะในกุ้ง และอาหารทะเลส่งออก ขณะเดียวกัน ให้ศึกษาการตรวจสอบและออกใบรับรองความปลอดภัยของอาหารสําหรับการส่งออกอาหารทะเลทุกชนิดเพื่อรับรองความน่าเชื่อถือของอาหารทะเลเวียดนาม[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย