กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนามรายงานว่า ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 โดยในช่วงเดือนมกราคม การส่งออกข้าวเติบโต แต่กลับลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ และกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งในเดือนมีนาคม[su_spacer size=”20″]
กระทรวงฯ ระบุว่า ในเดือนมกราคม 2561 ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามรวม 524,000 ตัน มูลค่ารวม 249 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49 ในเชิงปริมาณ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.3 ในเชิงมูลค่า เมื่อเทียบกับเดือน ธันวาคม 2560 โดยหลังจากที่อัตราการเติบโตลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ การส่งออกข้าวของเวียดนามกลับมาเพิ่มขึ้นสูงในเดือนมีนาคม 2561 ด้วยอัตราเติบโตร้อยละ 93.9 ในเชิงปริมาณ และร้อยละ 100 ในเชิงมูลค่า เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีมูลค่ารวม 338.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ราคาข้าวส่งออกข้าวในเดือนมีนาคม 2561 ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ด้วยมูลค่า 513.7 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน[su_spacer size=”20″]
หนังสือพิมพ์ออนไลน์ cafef.vn รายงานว่า ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 มีอัตราเติบโตร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 โดยราคาข้าวส่งออกเฉลี่ยในช่วงดังกล่าวสูงขึ้น ร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 ด้วยมูลค่า 501 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน[su_spacer size=”20″]
ซิลีเป็นตลาดส่งออกข้าวของเวียดนามที่มีราคาสูงที่สุด ด้วยมูลค่า 834.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน สูงขึ้นร้อยละ 114 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปี 2560 อย่างไรก็ตาม การส่งออกข้าวไปยังชิลีกลับลดลงร้อยละ 95 ในเชิงปริมาณ และลดลงร้อยละ 90 ในเชิงมูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560[su_spacer size=”20″]
จีนยังคงรักษาสถานะการเป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.7 ของปริมาณส่งออกข้าวทั้งหมดของเวียดนามในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2561[su_spacer size=”20″]
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 ร้อยละ 40 ของตลาดการส่งออกข้าวหลักของเวียดนามเติบโตขึ้นทั้งใน เชิงปริมาณและในเชิงมูลค่า ขณะที่ร้อยละ 60 มีสถิติลดลง[su_spacer size=”20″]
การส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังบังกลาเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 89 ในเชิงปริมาณ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 59 ในเชิงมูลค่า ขณะที่การส่งออกข้าวไปยังตุรกี อิรัก มาเลเซีย และฝรั่งเศส ก็เติบโตทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าในระดับเล็กน้อย[su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกข้าวบางแห่งของเวียดนาม เช่น อาร์เจนตินา ซิลี ยูเครน แองโกลา สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ และเนเธอร์แลนด์ กลับลดลงระหว่างร้อยละ 60-95 ทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560[su_spacer size=”20″]
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เวียดนามจะมีโอกาสมากขึ้นเมื่อความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสําหรับหุ้นส่วนภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans- Pacific Partnership – CPTPP) มีผลบังคับใช้ และช่วยให้ผู้ส่งออกข้าวเพิ่มการส่งออกไปยังประเทศที่เข้าร่วมในข้อตกลงและประเทศที่มีมาตรฐานการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารสูง เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์[su_spacer size=”20″]
โครงสร้างการส่งออกผลิตภัณฑ์จากข้าวของเวียดนามได้เปลี่ยนไปสู่การลดการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพปานกลางและต่ำ ขณะเดียวกันก็เพิ่มการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวที่มีคุณภาพสูงขึ้นทุกปี ส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวของเวียดนามในช่วงปลายปี 2560 ถึงปัจจุบัน (เดือนเมษายน 2561) เพิ่มขึ้น 50-100 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และสามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งส่งออกข้าว เช่น ไทย ปากีสถาน และอินเดีย[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย