ถ้าพูดถึงเวียดนาม คงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่พูดถึง “กาแฟ” เครื่องดื่มที่มีความสำคัญกับชาวเวียดนามตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงหัวค่ำ ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็นดั่งราชาแห่งเครื่องดื่มของเวียดนาม ในบทความนี้ ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในโฮจิมินห์ จะขอพาคุณผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักภาพรวมของอุตสาหกรรมกาแฟ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค และโอกาสในการลงทุนธุรกิจกาแฟในนครโฮจิมินห์กันครับ[su_spacer size=”20″]
ความเป็นมาของกาแฟในเวียดนาม
ในช่วงศตวรรษที่ 19 ฝรั่งเศสได้เริ่มนำกาแฟเข้ามาในเวียดนาม ด้วยรสชาติที่แปลกใหม่และถูกปากชาวเวียดนาม จึงทำให้ชาวเวียดนามมีความสนใจในวัฒนธรรมการดื่มกาแฟและเริ่มที่จะเรียนรู้การปลูกกาแฟ ส่งผลให้ในปัจจุบัน เวียดนามกลายเป็นแหล่งปลูกและเพาะพันธุ์กาแฟที่สำคัญของโลก ตลอดจนมีการส่งออกกาแฟกว่า 1.4 ล้านเมตริกตัน มากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากบราซิล (2.5 ล้านเมตริกตัน) เพราะเวียดนามสามารถปลูกกาแฟได้หลากหลายประเภท ได้แก่ Arabica Robusta และอื่นๆ ซึ่งแหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ที่บริเวณที่ราบสูงภาคกลางของประเทศ[su_spacer size=”20″]
[su_spacer size=”20″]
จุดเด่นของกาแฟเวียดนาม คือ เวียดนามเป็นประเทศที่ปลูกกาแฟประเภท Robusta เป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งกาแฟประเภทดังกล่าว มีคุณสมบัติปลูกถ่ายบทพื้นที่ราบไม่สูงมาก (500-1,000 เมตร) และนิยมใช้สำหรับการนำไปทำกาแฟสำเร็จรูป เนื่องจากมีราคาถูกและมีคาเฟอีนสูง โดยในปี 2536 โดยรัฐบาลสนับสนุนการผลิตกาแฟ Robusta ให้ได้ปริมาณมาก จึงทำให้การปลูกกาแฟ Arabica นั้นลดน้อยลง เนื่องจากปลูกแล้วได้ผลผลิตช้าและปริมาณน้อยกว่า Robusta ส่งผลให้ร้อยละ 99 ของการปลูกกาแฟในปัจจุบันส่วนใหญ่จึงเป็นกาแฟชนิด Robusta[su_spacer size=”20″]
คนเวียดนามนิยมดื่มกาแฟวันละหลายแก้ว ในทุกๆ โอกาสของวัน ก่อนไปทำงาน พักกลางวัน แม้กระทั่งในช่วงหัวค่ำ ร้านกาแฟริมทางจะแน่นขนัดไปด้วยผู้คน ซึ่งรสชาติของกาแฟที่คนเวียดนามนิยมจะมีรสชาติเข้มข้น หวานมันและบางครั้งอาจจะแต่งกลิ่นหรือนำวัตถุดิบอื่น ๆ มาผสมด้วย เช่น กาแฟคั่วใส่คาราเมล น้ำผึ้ง มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2561 มูลค่าตลาดกาแฟในเวียดนามจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ต่อปี โดยมีการบริโภคกาแฟเฉลี่ยต่อหัวสูงขึ้นถึง 1.5 กิโลกรัม/ปี[su_spacer size=”20″]
นอกจากการเป็นแหล่งเพาะปลูกและส่งออกกาแฟที่สำคัญของโลกแล้ว พฤติกรรมการดื่มกาแฟของชาวเวียดนามสมัยใหม่คือปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจกาแฟสมัยใหม่ของเวียดนามเติบโต ซึ่งปัจจุบัน การเพิ่มขึ้นของจำนวนชนชั้นกลาง กอปรกับวัฒนธรรมของชาติตะวันตกที่ขยายเข้ามาในเวียดนาม ส่งผลเชิงบวกต่อการขยายตัวของธุรกิจ ร้านกาแฟในเวียดนามโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ อาทิ นครโฮจิมินห์ และนครดานัง ซึ่งผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะใช้บริการร้านกาแฟระดับหรูหรามากขึ้นจากที่เคยนิยมนั่งดื่มกาแฟตามร้านค้าริมถนน ร้านกาแฟสมัยใหม่ส่วนใหญ่จะมีเมล็ดกาแฟคั่วตั้งโชว์อยู่หน้าร้าน โดยจะบดและชงกาแฟต่อหน้าลูกค้า ซึ่งจะทำให้ลูกค้ามั่นใจในเรื่องการใช้เมล็ดกาแฟแท้และการบริโภคกาแฟที่สด สะอาด มีมาตรฐานในทุกๆ แก้ว[su_spacer size=”20″]
กาแฟในเวียดนามมีหลายประเภท ได้แก่ [su_spacer size=”20″]
กาแฟฟิน (Café Phin) คือการนำกาแฟบดใส่ในถ้วยกรอกสังกะสี ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะของเวียดนามที่อยู่ด้านบนของถ้วย หลังจากนั้นเทน้ำร้อนลงไปและรอให้น้ำกาแฟดริปไหลลงในถ้วย กาแฟดริปจะมีกลิ่นหอมและเข้มข้นมากกว่ากาแฟชนิดอื่น ๆ[su_spacer size=”20″]
กาเฟเสือด๊า (Café Sua Da)เป็นกาแฟเวียดนามรูปแบบหนึ่งที่ใช้วิธีชงโดยการหยดน้ำผ่านฟินลงไปในถ้วยกาแฟและผสมกับนมข้นหวาน ทำให้ได้กาแฟที่มีความเข้มข้นสูง หวาน มัน อร่อยได้ทั้งร้อนและเย็น[su_spacer size=”20″]
กาแฟจึ๊ง (Café Trung) คือ กาแฟร้อนใส่ไข่แดงลวก ซึ่งเป็นสูตรของชาวฮานอยที่คิดค้นขึ้นมา กาแฟจะมีลักษณะเป็นฟองครีมข้นอยู่ด้านบน ไม่มีกลิ่นคาวเลยและดื่มง่าย รสชาติที่ได้จะออกหวานหอม มีกลิ่นไข่เล็กน้อย ฟองครีมจะข้นและหนักกว่าครีมฟองนมทั่วไป[su_spacer size=”20″]
กาแฟสมูตตี้ (Café Smoothies) เป็นการนำผงกาแฟไปปั่นรวมกับผลไม้ชนิดต่าง ๆ อาทิ มะพร้าว เม็ดมะม่วงหิมพานต์และเนยถั่ว การผสมผลไม้ในกาแฟเป็นการเพิ่มความหวาน มัน นอกจากนี้กาแฟสมูตตี้ยังเพิ่มความสดชื่นให้คนดื่มและเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น[su_spacer size=”20″]
พฤติกรรมการบริโภคกาแฟของคนเวียดนามที่เปลี่ยนไปในนครโฮจิมินห์ [su_spacer size=”20″]
ชาวนครโฮจิมินห์จะดื่มกาแฟเป็นประจำทุกวัน เราจะสังเกตได้ว่า ร้านกาแฟทั่วๆ ไปริมถนนจะสามารถดึงดูดลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่สามารถนั่งกินกาแฟกันริมถนนหันหน้าออกมองผู้คนที่ผ่านไปมาตามแบบฉบับฝรั่งเศส โดยมีเก้าอี้ตัวเล็ก ๆ บ้างก็นั่งหันหน้าเข้าหากัน ต่างคนก็ต่างกินกาแฟของตัวเอง หรือพูดคุยกัน แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปนครโฮจิมินห์และเวียดนาม มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่มากขึ้นและมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ทำให้พฤติกรรมการบริโภคกาแฟแบบดั้งเดิมเปลี่ยนไป
พฤติกรรมการดื่มกาแฟที่เปลี่ยนไปของชาวเวียดนาม กอปรกับความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ร้านกาแฟกลายเป็นธุรกิจสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยม มีแฟรนส์ไชส์ และร้านคาเฟ่อินดี้เปิดสาขาอย่างรวดเร็วในหลายๆ พื้นที่ในนครโฮจิมินห์ อาทิ ร้าน Trung Nguyen ร้าน Highland ร้าน Starbuck ร้าน Café Thuc และร้าน Cong Caphe[su_spacer size=”5″]
ร้านกาแฟ/คาเฟ่ต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในนครโฮจิมินห์มักจะมีการตกแต่งที่ทันสมัยหรือมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีบริการ Wifi และเครื่องปรับอากาศ โดยผู้บริโภคหลายรายจะใช้เวลาอยู่ในร้านมากกว่า 1 – 2 ชั่วโมง หรืออาจจะใช้เป็นสถานที่นัดประชุมทางธุรกิจ เป็นที่ทำงานหรืออ่านหนังสือ หรือใช้เป็นที่พบปะสังสรรค์สำหรับกลุ่มวัยรุ่นที่นิยมเข้ามา Check-in และถ่ายรูปลงในเครือข่ายสังคมออนไลน์ การนั่งร้านกาแฟจึงเป็นศูนย์รวมสำหรับกิจรรมทางสังคมต่าง ๆ (สภากาแฟ) มากกว่ามานั่งดื่มกาแฟเพียงอย่างเดียว หลายร้านมีเมนูเครื่องดื่มที่แปลกใหม่และมีอาหารว่าง/ขนม เช่น แซนวิช เค้ก โท้ส หรือสลัด ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มวัยรุ่นที่ต้องการทดลองและค้นหาประสบการณ์ใหม่ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้คนอื่นไม่น้อยที่ยังชื่นชอบร้านกาแฟแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะในหมู่ผู้บริโภครุ่นเก่า และพบได้ทั่วไปในเขตนอกตัวเมืองนครโฮจิมินห์[su_spacer size=”20″]
[su_spacer size=”20″]
นอกจากนั้น กระแส Specialty Coffee กำลังค่อยๆ ก่อตัวขึ้นในหมู่ผู้รักการดื่มกาแฟรุ่นใหม่ ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 20 แห่ง กระจายอยู่ในเขตตัวเมืองของนครโฮจิมินห์ โดยร้าน Specialty Coffee ต่างๆ จะมีวิธีการคัดเลือกเมล็ดกาแฟคุณภาพดี มีวิธีการคั่วและทำกาแฟที่ใส่ใจในรายละเอียดทุก ๆ ขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นกรรมวิธีแบบ Syphon แบบ Aeropress แบบ Drip หรือแบบ French Press ซึ่งมีราคาสูงกว่าร้านกาแฟทั่วไปประมาณ 80 – 200 บาท เท่านั้น[su_spacer size=”20″]
การดื่มกาแฟของชาวเวียดนามยังมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปโดยแบ่งเป็นภาคเหนือและภาคใต้ โดยคนภาคเหนือจะมีวัฒนธรรมการดื่มค่อนข้างช้า มีแบบแผนและในระหว่างการดื่มจะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แต่คนภาคใต้จะมีวัฒนธรรมการดื่มกาแฟที่รวดเร็ว และนิยมซื้อกลับบ้านมากกว่า หรือหากเป็นการดื่มที่ร้านก็จะใช้เวลาน้อยกว่าคนในภาคเหนือ เนื่องจากปัจจุบัน นครโฮจิมินห์กลายเป็นสังคมเร่งรีบ เป็นแหล่งการค้าและการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีการผสมผสานของวัฒนธรรมต่างชาติจากนักท่องเที่ยวและพนักงานชาวต่างชาติที่หลั่งไหลเข้ามาในนครแห่งนี้ และหลายคนหันมาดื่มกาแฟสำเร็จรูปขึ้นเรื่อยๆ[su_spacer size=”20″]
สถานที่รวบรวมร้านกาแฟสุดฮิตที่ไม่ว่าใครมาเที่ยวในนครโฮจิมินห์ก็ไม่ควรพลาดอาคาร Café Apartment ในบริเวณถนนคนเดิน Nguyen Hue เขต 1 [su_spacer size=”20″]
“The Cafe Apartment” ดังชื่อ เป็นเสมือนการรวม Apartment เข้ากับร้านกาแฟแบรนด์ท้องถิ่นของนครโฮจิมินห์ และร้านเสื้อผ้า ร้านเครื่องประดับ ร้านเสริมสวยไว้ที่เดียวกัน แต่เมื่อรวมกันแล้วมันคือความลงตัวของเทรนด์สมัยใหม่ผนวกกับวิถีชีวิตเดิมของชาวนครโฮจิมินห์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ สามารถติดตามคลิปพาเยี่ยมชม The Cafe Apartment ได้ที่ Facebook : Royal Thai Consular-General, HoChi Minh City, Vietnam
[su_spacer size=”20″]
โอกาสของธุรกิจกาแฟในนครโฮจิมินห์
[su_spacer size=”20″]
[su_spacer size=”20″]
1.โอกาสในการบุกตลาดที่มีประชากรคลั่งไคล้ในการดื่มกาแฟ[su_spacer size=”20″]
ปัจุบัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในภูมิภาคอาเซียน เวียดนามโดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ของประเทศมีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้จำนวนชนชั้นกลางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยวัฒนธรรมของชาวนครโฮจิมินห์ไม่ได้มองว่ากาแฟเป็นของฟุ่มเฟือยในชีวิต จึงสามารถดื่มได้ทุกวันจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของทุกช่วงอายุคน และมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเยือนนครโฮจิมินห์กว่า 6 ล้านคน จึงเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจกาแฟที่แปลกใหม่ อาทิ ธุรกิจแฟรนไซส์ด้านเครื่องดื่มกาแฟของไทย อาทิ กาแฟโบราณ ชาไทย ยังมีโอกาสในการลงทุนขยายตลาดในโฮจิมินห์อีกมาก[su_spacer size=”20″]
2.กระแส “กาแฟแคปซูล” ในเอเชีย [su_spacer size=”20″]
จากประเด็นความเร่งรีบในสังคมเมือง สิ่งที่ผู้คนในนครโฮจิมินห์ต้องการคือความรวดเร็วในบริการต่างๆและความสะดวกสบายในชีวิตสูง กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เป็นคนท้องถิ่นจึงมองหากาแฟที่ไม่ยุ่งยาก จากบทวิเคราะห์ต่างๆ กาแฟแคปซูลมีการขยายตัวในภูมิภาคต่าง ๆ รวมถึงนครโฮจิมินห์ อัตราการเจริญเติบโตของกาแฟแคปซูลทั่วโลกจากปี 2554 ถึงปัจจุบัน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 11 และกำลังตีตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ มาเลเซีย ร้อยละ 4 สิงคโปร์และอินโดนีเซียร้อยละ 3 และร้อยละ 2 ในเวียดนาม ถือเป็นโอกาสสำหรับแบรนด์กาแฟแคปซูลจากต่างประเทศที่ยังไม่แพร่หลายในเวียดนามมากนัก[su_spacer size=”20″]
3.โอกาสในการนำกาแฟสำเร็จรูปไปขายในไทย [su_spacer size=”20″]
ผู้อ่านหลายท่านคงจะเคยลิ้มลองกาแฟ G7 (จีเซเว่น) ที่มีขายอยู่ในห้างสรรพสินค้าชั้นนำหลายแห่งในประเทศไทย และนักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมซื้อกลับไปเป็นของฝากเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันได้ถึงคุณภาพระดับสากลของกาแฟเวียดนามที่ประสบความสำเร็จในการบุกตลาดต่างประเทศ จึงเป็นโอกาสของนักลงทุนไทยที่สนใจจะนำเข้ากาแฟแบรนด์อื่นๆ ที่มีคุณภาพไม่แพ้กันให้คอกาแฟไทยได้ดื่มกัน[su_spacer size=”20″]
4.ตลาดแฟรนไซส์กาแฟในเวียดนามที่กำลังขยายตัว [su_spacer size=”20″]
ร้านกาแฟในเวียดนามมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าเป็นร้านกาแฟริมถนนหรือร้านกาแฟแบบไฮคลาส ที่เพียบพร้อมไปด้วยสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ อาทิ การตกแต่งร้าน การให้บริหารอินเตอร์เน็ต มีการขายสินค้าชนิดต่าง ๆ นอกจากกาแฟ จึงสามารถดึงคนเข้าร้านได้มาก เนื่องจากผู้บริโภคในปัจจุบันมักใช้ร้านกาแฟเป็นที่พักผ่อน สังสรรค์และทำงานแบบสบาย ๆ และสามารถตอบสนองความต้องการของวัยรุ่นชาวเวียดนามได้เป็นอย่างดี ในปัจจุบันมีร้านกาแฟที่ได้รับความนิยมอยู่มาก อาทิ Trung Nguyen Coffee, Coffee Bean and Tea Leaf และ Starbucks ซึ่ง 3 แบรนด์นี้มีสาขากระจายไปทั่วนครโฮจิมินห์ ดังนั้นการลงทุนในตลาดแฟรนไซส์กาแฟในเวียดนามกำลังเป็นที่น่าสนใจ เนื่องจากมีขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านในประชากรที่เพิ่มขึ้น รายได้ที่เพิ่มขึ้น และนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในนครโฮจิมินห์ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[su_spacer size=”20″]
5.โอกาสของอุตสาหกรรมสนับสนุน/ธุรกิจต่อยอดที่เกี่ยวกับกาแฟ [su_spacer size=”20″]
เนื่องจากกาแฟมีรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้หลายบริษัทมีแนวคิดที่จะนำกาแฟไปผสมกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ บริษัท โคคา-โคล่า ได้นำกาแฟไปผสมกับโค้ก ซึ่งเป็นที่นิยมในนครโฮจิมินห์ และยังมีผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าและร่างกาย อาทิ ผลิตภัณฑ์มาร์กหน้า/ครีมบำรุงผิวหน้าและผิวหาย ซึ่งผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้กาแฟควบคู่ได้สร้างช่องทางใหม่ที่นักลงทุนต่างชาติสามารถขยายตลาดในเวียดนามได้ นอกจากนี้ การขยายตลาดในสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการดื่มกาแฟ หรือโหนกระแสความนิยมกาแฟ เช่น กาแฟลดน้ำหนักที่เป็นที่นิยมในไทยแต่ยังไม่มีจำหน่ายในนครโฮจิมินห์มากนัก หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ชงกาแฟในรูปแบบต่างๆ เช่น น้ำเชื่อมแต่งกลิ่น นมข้นหวาน ที่ยังมีเฉพาะยี่ห้อท้องถิ่นเท่านั้น ทำให้ยังมีช่องว่างในการเจาะตลาดสินค้าประเภทดังกล่าวจากนักลงทุนจากประเทศต่างๆ รวมถึงไทย[su_spacer size=”20″]
ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในนครโฮจิมินห์