การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย – แฟซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) จากความร่วมมือของผู้นำเศรษฐกิจ 21 เขตเศรษฐกิจ ซึ่งมีการจัดขึ้นทุกปี เพื่อผลักดันการเจรจาการค้าแบบพหุภาคี โดยมุ่งเน้นสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาค[su_spacer size=”20″]
โดยในปีนี้เวียดนามได้รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC ครั้งที่ 25 จัดขึ้น ณ นครดานัง ประเทศเวียดนาม ในการประชุมดังกล่าวได้มีการอนุมัติแถลงการณ์ดานัง ว่าด้วยการเปิดเสรีการค้าและการลงทุน ความพยายามบรรลุความตกลงโบกอร์ และยกระดับความสามารถในการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก[su_spacer size=”20″]
นอกจากนั้น ในการประชุมครั้งนี้เวียดนามได้มีโอกาสในการหารือเพื่อหาทางออกกับกลุ่มประเทศในเอเชีย – แปซิฟิก ในหลายประเด็น เช่น ความตึงเครียดและการก่อการร้าย ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเมื่อสหรัฐฯ ถอนตัวจากความตกลง TPP และความร่วมมือในการสนับสนุนกลุ่มเศรษฐกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ที่ล้วนแต่เป็นปัญหาที่เวียดนามกำลังห่วงกังวลในหลายปีที่ผ่านมา โดยในโอกาสนี้สถานเอกอัครราชทูตขอนำเสนอ ในประเด็น “กลุ่มเศรษฐกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ได้อะไรจากการประชุม APEC 2017”[su_spacer size=”20″]
ในช่วงที่ผ่านมา กลุ่ม SMEs ในเวียดนามได้รับผลกระทบอย่างหนักจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นและนโยบายในการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้นของรัฐบาลเวียดนาม นอกจากนั้นยังถูกเพิกเฉยจากสายตาของผู้กำหนดนโยบาย ซึ่งมักให้ความสำคัญต่อกลุ่มเศรษฐกิจภาครัฐและกลุ่มธุรกิจการลงทุนจากต่างประเทศมากกว่า ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงจำนวนการจดทะเบียนของผู้ประกอบการรวมปรากฏว่า SMEs มีการจดทะเบียนถึงร้อยละ 98 จากจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด 700,000 ราย โดยการมีความคาดหวังจากบรรดาผู้ประกอบการต่อการประชุมเอเปคในครั้งนี้จะสร้างความหวังใหม่ให้แก่พวกเขา[su_spacer size=”20″]
SMEs เวียดนามได้อะไรจากการประชุม APEC ในครั้งนี้
ในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคที่ผ่านมา ได้มีการจัดทำกรอบความร่วมมือเอเปค มีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (APEC Cross Border E-Commerce Facilitation Framework) ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการทุกขนาด โดยเฉพาะ SMEs สามารถเข้าถึงตลาดโลกได้ง่ายขึ้น และมีส่วนร่วมในห่วงโซอุปทานโลกได้โดยตรง[su_spacer size=”20″]
นอกจากนั้น เวียดนามได้มีโอกาสในการพบปะทวิภาคีและเจรจาทางการค้ากับผู้นำหลายประเทศเช่น ประธานาธิบดีประเทศจีน สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีชิลี เซบาสเตียน ปิเนรา และนายกรัฐมนตรีแคนาดา จัสติน ทรูโด และบรรดาผู้นำกว่า 50 ประเทศ และถือเป็นครั้งแรกที่เวียดนามสามารถดึงดูดผู้ประกอบการกว่า 2,000 ราย จาก 21 เขตเศรษฐกิจเข้าร่วมประชุม โดยในจำนวนดังกล่าวมีผู้ประกอบการเวียดนามกว่า 850 รายเข้าร่วม ซึ่งถือเป็นการสร้างโอกาสที่สำคัญในการเสริมสร้างกรอบความร่วมมือระดับพหุภาคีและทวิภาคีระหว่างเวียดนามและประเทศอื่น ๆ ทั้งนี้ การประชุม APEC ที่ผ่านมา เวียดนามสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้า 121 ฉบับ มีมูลค่ากว่า 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะสามารถผลักดันธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไปสู่ระดับสากล[su_spacer size=”20″]
ความท้าทายของ SMEs ในเวียดนาม
ถึงแม้ว่า SMEs ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเวียดนาม ด้วยจำนวนกว่าร้อยละ 98 ของการจดทะเบียนทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม SMEs ในเวียดนามยังคงต้องประสบกับความท้าทายอีกหลายประการ เช่น จากสถิติพบว่า ร้อยละ 70 ของ SMEs ขนาดกลางและขนาดย่อมไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ ซึ่งมีเพียง บางธนาคารที่มีปล่อยกู้สำหรับกลุ่ม SMEs ดังกล่าว แต่คิดอัตราดอกเบี้ยที่มากกว่าร้อยละ 20 ซึ่งเกินความสามารถของผู้ประกอบการเวียดนามที่สามารถจ่ายอัตราร้อยละ 12-15 เท่านั้น[su_spacer size=”20″]
นอกจากนั้น SMEs ยังมีข้อจำกัดในการพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพธุรกิจ เนื่องจากขาดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี และขาดการส่งเสริมในการเข้าถึงภาครัฐ และขยายตัวสู่ต่างประเทศ โดยในปัจจุบัน SMEs เวียดนามสามารถมีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานเพียงร้อยละ 21 เท่านั้น เมื่อเทียบกับประเทศไทยที่สามารถมีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานร้อยละ 30 และมาเลเซียร้อยละ 46 ซึ่งยังถือว่าเป็นจำนวนที่น้อย[su_spacer size=”20″]
ข้อสังเกตต่อไทย
บริษัทที่ปรึกษากฎหมายและปรึกษาทางธุรกิจ (Pricewaterhouse and Coopers : PwC) ได้จัดทำการสำรวจบรรดาผู้นำทางธุรกิจในกลุ่มเอเปคถึงความสนใจในการลงทุนและเผยว่า เวียดนามเป็นประเทศที่บรรดานักธุรกิจให้ความสนใจลงทุนและขยายการลงทุนเป็นอันดับที่ 1 รองลงมา คือ ประเทศอินโดนีเซีย และอันดับที่ 3 คือ ประเทศไทย ในทางเดียวกัน จากการรายงานโดย Economic Intelligence Center ของธนาคารไทยพาณิชย์ เผยว่า เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 6 – 7 นับตั้งแต่ปี 2528 และผลิตภาพในภาคอุตสาหกรรม ของเวียดนามในรอบทศวรรษที่ผ่านมา มีอัตราเติบโตเร็วกว่าไทย และภายในปี 2563 เวียดนามจะสามารถอยู่อันดับที่ 12 นำไทยในอันดับที่ 14 จากทั้งหมด 40 ประเทศ จากสถิติดังกล่าว เผยให้เห็นว่า เวียดนามเป็นประเทศที่มีความพร้อมที่จะเป็นเป้าหมายในการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศจากข้อได้เปรียบทางหลายประการ เช่น ภูมิรัฐศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ จำนวนประชากรกว่า 93.7 ล้านคน และการขยายตัวของสังคมเมืองที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นำมาซึ่งรายได้ประชากรที่เพิ่มขึ้นและการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น[su_spacer size=”20″]