ประเทศที่เป็นผู้นําด้านการจ้างงานคนนอกดําเนินธุรกิจบางส่วนหรือที่คุ้นหูกันในชื่อ BPO (Business Process Outsourcing) คือ อินเดีย ฟิลิปปินส์ และจีน ไม่ว่าจะเป็นการบริการในรูปแบบ call centers การบริการด้านธุรการ การออกแบบและวิศวกรรมซอฟท์แวร์ ฯลฯ ในขณะที่เวียดนามกําลังถูกจับ ตามองจากนานาประเทศในฐานะตลาด BPO โดยเฉพาะในด้านไอทีที่มีศักยภาพและกําลังเติบโต กอปรกับความ พร้อมด้านแรงงานไอทีที่มีคุณภาพและราคาสมเหตุสมผล ทําให้เวียดนามกําลังก้าวขึ้นมาทัดเทียมรุ่นพี่อย่าง ประเทศอินเดีย จีนและฟิลิปปินส์
[su_spacer]
เวียดนามมีปัจจัยพื้นฐานที่สนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาด้านไอทีอย่างก้าวกระโดด ได้แก่ (1) นโยบายของรัฐบาลเวียดนามที่สนับสนุนการศึกษา STEM (Science, Technology, Engineering and Math) อย่างจริงจัง รวมถึงการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการผลิตแรงงานไอทีให้ได้ 1 ล้านคนภายในปี 2563 ซึ่งตาม สถิติปี 2561 เวียดนามสามารถผลิตบุคลากรด้านไอทีได้มากกว่าปีละ 40,000 คน (2) คุณลักษณะของแรงงาน เวียดนามที่ทุ่มเท ขยันและตอบรับและปรับตัวต่อเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงมีวัฒนธรรมการทํางานที่ยืดหยุ่นกว่าบุคลากรจากประเทศอื่น (3) ภาคเอกชนด้านไอที่มีการบ่มเพาะบุคลากรด้านไอทีในระดับอาชีวะอย่าง ต่อเนื่อง เช่น กลุ่มบริษัท Viettel และ MISA โดยเฉพาะกลุ่ม FPT ผู้ดําเนินธุรกิจด้านโทรคมนาคมรายใหญ่ ซึ่งได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเน้นการเรียนการสอนสายวิชาชีพ (FPT University) ที่มุ่งบ่มเพาะบุคลากรด้าน คอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์โดยเฉพาะ (4) การขยายลงทุน FDI ของบริษัทด้านเทคโนโลยีในเวียดนามอย่าง ต่อเนื่อง เช่น Intel, IBM, Samsung, LG, Sharp, และ Microsoft ทําให้การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมด้านวิจัยและ พัฒนาทางเทคโนโลยีเติบโตสูงตามไปด้วย และ (5) ค่าแรงบุคลากรด้านไอทีของเวียดนามที่ถูกกว่าอินเดียประมาณ ร้อยละ 30-50 ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวทําให้ผู้ประกอบการหลายประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น รวมถึงไทย หันมาใช้บริการ BPO โดยเฉพาะด้านไอทีจากเวียดนามเป็นทางเลือกมากขึ้น
[su_spacer]
ผลการจัดอันดับด้านเทคโนโลยีและไอทีของเวียดนามดีขึ้นอย่างมีนัยยะสําคัญ นอกจากปัจจัยด้านต่างๆ ตามที่กล่าวข้างต้น เมื่อหันมาดูการจัดอันดับของสถาบันและบริษัทที่ปรึกษา ต่างประเทศ จะพบว่าเวียดนามได้รับการจัดอันดับในด้านที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและไอที่สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสําคัญและอยู่ในอันดับต้นๆ ของภูมิภาค จากแบบสํารวจ CIO Global Survey ของบริษัท KPMG เมื่อปี 2562 พบว่า เวียดนามอยู่ในอันดับต้นๆ ในด้านการรับมือกับการพัฒนาเทคโนโลยีได้ดีที่สุด โดยเป็นอันดับที่ 2 จาก 108 ประเทศในด้านการวางนโยบายรับมือความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี และเป็นอันดับที่ 3 ในด้านการประยุกต์ใช้ เครื่องมืออัตโนมัติ (Automation) สําหรับปฏิบัติงานในหน่วยงานเพิ่มขึ้นมากที่สุด ทั้งนี้ ภาคธุรกิจในเวียดนามที่ จัดสรรงบประมาณสําหรับการพัฒนาเทคโนโลยีไว้มากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมบันเทิง ภาคบริการด้านการเงิน และสื่อต่างๆ นอกจากนี้ ผลจากการสํารวจมหาวิทยาลัยและหน่วยงาน/ธุรกิจด้านไอทีต่างๆ กว่า 150 แห่ง พบว่า ร้อยละ 88 คาดการณ์ว่าธุรกิจด้านไอทีในเวียดนามจะเติบโตอีกอย่างน้อยร้อยละ 15 ต่อปี ในระยะเวลา 3 ปี ข้างหน้า และ World Economic Forum ได้จัดลําดับให้เวียดนามอยู่ใน 10 ประเทศอันดับต้นที่มีผู้สําเร็จ การศึกษาด้านวิศวกรรมซอฟท์แวร์มากที่สุดในโลก
[su_spacer]
ทิศทางในอนาคต BPO ในเวียดนาม ความท้าทายและโอกาส ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ธุรกิจด้านไอทีของเวียดนามได้ปรับตัวจากการเขียนโปรแกรมและเขียนโค้ด (Coding) มาสู่การให้บริการที่หลากหลายมากขึ้น เช่น การสร้างผลิตภัณฑ์ด้านไอทีและใช้เทคโนโลยีในการสร้างมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่การผลิตโดยเฉพาะในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมการผลิตที่เพิ่มขึ้น ทําให้บริษัทต่างชาติ หันมาจ้างงานคนนอก (Outsource) ที่เป็นบุคลากรด้านไอที่จากเวียดนามมากขึ้น โดยเฉพาะสําหรับการพัฒนา เทคโนโลยี บริการด้านการเงิน การใช้เทคโนโลยีในสื่อและเกมส์ รวมถึงการวิจัยเทคโนโลยีแขนงใหม่ อาทิ (1) AI (2) Machine Learning และ (3) Blockchain เป็นต้น
[su_spacer]
อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังคงเผชิญความท้าทายสําคัญ อาทิ ถึงแม้ว่าบุคลากรเวียดนามจะมีความรู้ ความสามารถด้านไอที แต่ยังขาดทักษะในการสื่อสารโดยเฉพาะภาษาอังกฤษเมื่อเทียบกับบุคลากรจากฟิลิปปินส์ และอินเดีย นอกจากนี้ เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทําให้ผู้ให้บริการ BPO ต้องปรับตัวและพัฒนาบริการ ของตนให้เท่าทัน โดยเน้นบริการระดับกลางและสูง และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรจัดสรรงบประมาณเพื่อ พัฒนาด้านเทคโนโลยีภายในหน่วยงานให้มากขึ้น และสร้างพื้นที่สําหรับการระดมความคิด (discussion platform) สําหรับนักพัฒนาด้านเทคโนโลยีด้วย
[su_spacer]
สุดท้ายนี้ ตามสถิติเมื่อปี 2560 รายได้จากธุรกิจ BPO ของเวียดนามคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 1 ของ GDP ของประเทศ มูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งยังน้อยกว่าอินเดีย จีนและประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ อาทิ ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีมูลค่าธุรกิจ BPO กว่า 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐอยู่มาก และเป็น ตลาดธุรกิจ BPO ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยด้านความพร้อม ด้านทรัพยากรมนุษย์ การสนับสนุนที่จริงจังจากภาครัฐ การลงทุนจากต่างชาติที่เพิ่มสูงขึ้น และการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ทําให้เชื่อมั่นได้ว่าตลาดด้าน BPO และไอทีของเวียดนามจะมีโอกาสเติบโต สูงขึ้นอย่างมากในอนาคต จึงเป็นโอกาสสําหรับผู้ประกอบการไทยที่ต้องการจ้างงานคนนอกและสรรหาบุคลากร เพื่อดําเนินงานให้บริการด้านไอทีและพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น tech solution หรือซอฟท์แวร์ ซึ่งไทยยังมีบุคลากรด้านไอทีภายในประเทศอย่างจํากัด เพื่อไทยและเวียดนามจะเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกัน อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
[su_spacer]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์