การประชุม Vietnam Start-up Forum ในหัวข้อ “Developing and Completing Policies to Support Start-up” จัดโดย หอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (Vietnam Chamber of Commerce and industry – VCCI) โดยมี นาย Vu Tien Loc ประธาน VCCI พร้อมด้วยผู้แทนภาครัฐและภาคเอกชนเวียดนาม
[su_spacer]
โดย VCCI เป็นหน่วยงานแรกของเวียดนามที่เริ่มจัดกิจกรรมส่งเสริมธุรกิจ Start-up ในเวียดนาม ซึ่งจากประสบการณ์ที่ได้เข้าร่วมการประชุมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ Start-up เช่น การประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงเทพฯ การประชุมธุรกิจ startup อาเซียน-กลต. สามารถกล่าวได้ว่า ปัจจัยที่สําคัญต่อการพัฒนา เศรษฐกิจปัจจุบันประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ แรงงานที่มีทักษะขั้นสูง ซึ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และธุรกิจ Start-up ซึ่งเน้นความริเริ่ม สร้างสรรค์
[su_spacer]
ภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของเวียดนามในปี 2563 VCCI จะเสนอให้สร้างเครือข่ายธุรกิจ start-up อาเซียน (ASEAN Start-up Network) เป็นมรดกของอาเซียน โดยจะเชื่อมโยงธุรกิจ start-up ในภูมิภาค เพื่อเป็นปัจจัยพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเวียดนามขอรับแรงสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายดังกล่าวจากประเทศสมาชิกทุกแห่ง ปัจจุบัน แนวคิดดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก กลต.และสหรัฐฯแล้ว
[su_spacer]
เวียดนามอาจเป็นประเทศที่เริ่มต้นช้ากว่าประเทศอื่น ๆ ในด้านการพัฒนาธุรกิจ Start-up จึงพร้อมที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์ของต่างประเทศและหวังว่า ไทยจะร่วมแบ่งปันประสบการณ์ให้กับเวียดนามด้วย
[su_spacer]
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาธุรกิจ Start-up ของเวียดนาม
[su_spacer]
1. มติ 10 (10/NO-TW) ของที่ประชุมคณะกรรมการส่วนกลางพรรคคอมมิวนิสต์ สมัยที่ 12 ครั้งที่ 5 เป็นมติส่วนกลางพรรคฯ ฉบับแรกที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจภาคเอกชน กําหนดเป้าหมายให้ธุรกิจเอกชนมีบทบาทหลักในระบบเศรษฐกิจเวียดนาม และมติดังกล่าวเป็นมติระดับพรรคฯ กฎหมายข้อบังคับ หรือมติอื่น ๆ ที่ออกในภายหลัง ต้องสอดคล้อง กับแนวทางของมตินี้
[su_spacer]
2. กฎหมายสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (04/2017/QH14) สภาแห่งชาติเวียดนามได้ผ่านมติข้างต้นเมื่อปี 2560 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2562 โดยมีนโยบายสนับสนุน 2 ด้าน ได้แก่ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ความช่วยเหลือด้านภาษีศุลกากร การเข้าถึงที่ดินสําหรับการผลิต การเริ่มต้นธุรกิจ การปรับใช้ เทคโนโลยีพื้นฐาน การขยายตลาด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และในกฎหมายข้างต้นมีหมวดหนึ่งว่าด้วยการสนับสนุน ธุรกิจ Start-up โดยกําหนดนโยบายสนับสนุน เช่น ยกเว้นหรือลดค่าเช่าที่ดิน ยกเว้นหรือลดอัตราภาษีเงินได้ธุรกิจ สนับสนุนการเริ่มต้นธุรกิจ การดึงดูดเงินทุนเพื่อพัฒนาและฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
[su_spacer]
3. กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ Start-up ของเวียดนาม ได้แก่ กฎหมายธุรกิจ กฎหมายการลงทุน มติ35 (35/NQ-CP) ของรัฐบาลเวียดนามสมัยปัจจุบัน ว่าด้วยการสนับสนุนและพัฒนาภาคธุรกิจ จนถึงปี ค.ศ. 2020 ซึ่งยกร่างขึ้น หลังจากนายกรัฐมานตรีเวียดนามพบปะภาคเอกชนครั้งแรกหลังเข้ารับตําแหน่ง มติ 19 (19-2018/NQ-CP) ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาหลักต่อการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ ปี ค.ศ. 2018 และปีต่อไป
[su_spacer]
สถานการณ์ธุรกิจ Start-up ในเวียดนาม
[su_spacer]
1. จนถึงปี 2561 ธุรกิจ Start-up ในเวียดนาม มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเฉพาะช่วงครึ่งแรกของปี 2562 มีมูลค่า 208 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบัน เวียดนามมีธุรกิจ Start-up มากกว่า 3,000 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมี start-up ระดับ unicorn หรือธุรกิจที่มีมูลค่าการลงทุนหลัก พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 1 ราย ได้แก่ Vinagame และมีธุรกิจ Start-up ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงกว่า 10-100 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐในหลายสาขา เช่น fintech การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การบริการขนส่ง และบริการอื่น ๆ
[su_spacer]
2. กิจกรรมส่งเสริมธุรกิจ Start-up ที่สําคัญของเวียดนาม คือ งาน TechFest ซึ่งจัดขึ้นทุกปี ในปี 2562 ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 -6 ธ.ค. 2562 ณ จังหวัดกว่างนิงห์ ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมา งานดังกล่าวสามารถดึงดูด เงินทุนได้หลายล้านดอลลาร์สหรัฐ
[su_spacer]
นโยบายสนับสนุนธุรกิจ Start-up ของกรุงฮานอย
[su_spacer]
กรุงฮานอยริเริ่มโครงการ start-up แห่ง กรุงฮานอย ในปี 2561 และมีโครงการสนับสนุนการสร้างระบบนิเวศสําหรับธุรกิจ start-up ในกรุงฮานอย ในปี 2562 โดยสนับสนุนทั้งด้านค่าใช้จ่าย และการให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ สรุปสาระสําคัญของการดําเนินการ ดังนี้
[su_spacer]
1.การดําเนินการในห้วงเวลาที่ผ่านมา ได้แก่
-
สนับสนุนค่าใช้จ่ายการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ 300,000 ด่ง (99 ดอลลาร์สหรัฐ)
-
สนับสนุนค่าใช้จ่ายทําตราประทับนิติบุคคล 300,000 ด่ง (13 ดอลลาร์สหรัฐ)
-
สนับสนุนค่าใช้จ่ายสําหรับการจัดส่งใบแจ้งผลการพิจารณาจัดตั้งธุรกิจถึงที่พัก/ที่ทําการ
-
ให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ เช่น การเชื่อมโยงกับธนาคารและแหล่งเงินทุน ลดขั้นตอนการ ดําเนินการทางเอกสาร การเข้าถึงตลาด การอบรมทรัพยากรมนุษย์ การเข้าถึงที่ดิน การปรับใช้เทคโนโลยี เป็นต้น
[su_spacer]
2. การดําเนินการในอนาคต ในปี 2503 กรุงฮานอยมีแผนสนับสนุนธุรกิจ Start-up ดังนี้
-
สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการสื่อสาร โฆษณาประชาสัมพันธ์ ร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่าย
-
สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสําหรับ start-up เช่น การสร้าง/ปรับปรุง ซ่อมแซมพื้นที่สําหรับเริ่มธุรกิจ ไม่เกิน 200 ล้านด่งต่อราย (ประมาณ 8,640 ดอลลาร์สหรัฐ)
-
สนับสนุนค่าเช่าพื้นที่ทําธุรกิจ ไม่เกิน 5 ล้านด่งต่อเดือน (ประมาณ 216 ดอลลาร์สหรัฐ)
[su_spacer]
ข้อความเห็นและข้อมูลเพิ่มเติม
[su_spacer]
1. เวียดนามยังไม่มีกฎหมายธุรกิจ Start-up โดยตรง มีเพียงมาตราสั้น ๆ ในกฎหมายสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (04/2017/QH14) และนโยบายที่สนับสนุนยังไม่สามารถส่งเสริมผู้เริ่มธุรกิจ Start-up ได้มากนัก เนื่องจากความจําเป็นของธุรกิจ start-up เวียดนามในปัจจุบัน คือ การเข้าถึงเงินทุน และการระดมทุน ไม่ใช่การสนับสนุนค่าธรรมเนียมในการเริ่มต้นธุรกิจ ขณะที่ไทยมีร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแล้ว
[su_spacer]
2. นอกจากการสนับสนุนธุรกิจ Start-up แล้วกฎหมายสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก แสดงให้เห็นว่าเวียดนามกําลังพยายามเปลี่ยนธุรกิจครัวเรือนให้พัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการ MSMEs (Micro, Small and Medium Enterprises) ซึ่งประเด็นดังกล่าวได้ถูกกล่าวถึงในการสัมมนาทางเศรษฐกิจหลายครั้ง ในช่วงปีที่ผ่านมา และน่าจะเป็นแนวทางที่เวียดนามใช้สําหรับพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตด้วย
[su_spacer]
3. เวียดนามมีธุรกิจ Start-up ที่ประสบความสําเร็จหลายราย และมี start-up ระดับ unicorn แล้ว ไทยจึงอาจพิจารณาให้ความร่วมมือเวียดนาม ผลักดันการสร้างเครือข่ายธุรกิจ start-up อาเซียน ในช่วงที่เวียดนามเป็นประธานอาเซียน ปี 2563 ซึ่งทางสถานเอกอัครราชทูตจะเชิญธุรกิจ start-up ของเวียดนามเข้าร่วมงาน start-up Thailand ที่จะจัดขึ้นเดือน ก.ค. 2563 เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่แน่นแฟ้นระหว่างกันด้วย ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานงานนัดหมาย NIA เพื่อหารือในรายละเอียดต่อไป
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย