จังหวัดกว๋างหงายเป็นจังหวัดที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น โดยมีบริษัท Hoa Phat (บริษัทเหล็กที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม) และ โรงกลั่นน้ำมัน Dung Quat (โรงกลั่นน้ำมันอันดับ 1 ในเวียดนาม กําลังการผลิตวันละ 148,000 บาร์เรล) และถึงแม้จังหวัดฯ จะพยายามผลักดันการท่องเที่ยวเพิ่มเติม แต่ยังไม่มีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวมากนัก โดยเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเล เมื่อเทียบกับนครดานังและจังหวัดกว่างนาม อย่างไรก็ดี ก็มีพิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอารยธรรม Sa Huynh และมีเกาะต่างๆ นอกชายฝั่งทะเลของจังหวัด และมีอนุสรณ์สถานระลึกถึงการสังหารหมู่ My Lai Massacre ที่อำเภอ Son My ซึ่งกงสุลใหญ่ได้ไปเยือน และได้สังเกตว่ามีคณะนักท่องเที่ยวชาติตะวันตกไม่น้อยมาเยือน โดยมักมาเป็นส่วนหนึ่งของกําหนดการท่องเที่ยวจากฮอยอันและนครดานัง ขณะที่ดูเหมือนยังไม่ได้รับความสนใจมากนักจากนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย
[su_spacer]
ด้านศักยภาพทางเศรษฐกิจ ของ จังหวัดกว๋างหงาย ในปี 61 จังหวัดมี GDRP มูลค่า 2.36 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 9.6 สร้างรายได้ให้แก่ รัฐบาล ส่วนกลางกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐ เป็นอันดับที่ 13 ของทั้งประเทศ และมีอันดับ Provincial Competitiveness Index (PCI) อยู่ที่อันดับที่ 41 จากทั้งหมด 63 จังหวัดใน ประเทศ เวียดนาม ปัจจุบัน จังหวัดฯ มีการลงทุนทั้งหมด 616 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในจํานวนนั้น เป็นโครงการ FDI จํานวน 64 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีประชากร 1.3 ล้านคน เป็นแรงงานประมาณ 9.4 แสนคน มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวกว่า 2,500 ดอลลาร์สหรัฐ ปี ที่ตั้งของจังหวัดสามารถเชื่อมต่อไปยังจังหวัดที่มีความสําคัญทาง เศรษฐกิจอื่นๆ อาทิ จังหวัด กว่างนามและนครดานัง (ทางด่วนกว๋างหงาย-ดานัง) และมีโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ สนามบิน Chu Lai ท่าเรือน้ำลึก Dung Quat (รองรับเรือขนาด 1 แสน DWT) ทางหลวงหมายเลข 24 ที่เชื่อมจังหวัดใน เวียดนาม ตอนกลางกับ จังหวัดทางตอนใต้ของลาว และทางหลวงหมายเลข 1A เชื่อมภาคเหนือและภาคใต้ของ เวียดนาม ผ่าน (กงสุลใหญ่ และ คณะเองได้เดินทางผ่านส่วนหนึ่งของทางหลวง 1A ระหว่างที่อยู่ที่ จังหวัด กว่างหงายด้วย) นอกจากนี้ ยังมีเขต เศรษฐกิจ พิเศษ 1 แห่ง นิคมอุตสาหกรรม 4 แห่ง กลุ่มอุตสาหกรรมย่อย 15 แห่งและท่าเรือ 6 แห่ง
[su_spacer]
นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้กล่าวถึงนโยบายในอนาคต ดังนี้ 1) ขอให้จังหวัดเร่งพัฒนาและดึงดูดการลงทุนโดยใช้ ประโยชน์จากศักยภาพ 5 ด้านของกว๋างหงาย ได้แก่ 1. ทําเลที่ตั้ง 2. โครงสร้างพื้นฐาน 3. ทรัพยากรธรรมชาติ 4. ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมและ 5. ทรัพยากรมนุษย์ 2) เชิญนักลงทุนให้มาลงทุนใน จังหวัด กว๋างหงาย รวมถึง จังหวัดอื่นๆ ในภาคกลางมากขึ้น โดยเฉพาะในนิคมอุตสาหกรรมหลักของจังหวัด ได้แก่ นิคม Dung Quat และ นิคม VSIP โดยเน้นอุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมสนับสนุน อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป เทคโนโลยีและ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยพัฒนาอย่างการทําธุรกิจที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งลดปัญหา มลภาวะในจังหวัดฯ (นายกรัฐมนตรี เวียดนาม ได้กล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้เอง ที่มีการแจกน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกในงานด้วย ว่าจะเป็นปัญหาขยะพลาสติกต่อไป จึงขอให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไข) 3) การพัฒนาธุรกิจท้องถิ่น ครัวเรือนให้มีความสามารถในการแข่งขันสูง 4) สนับสนุนให้พัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัด เนื่องจากมีแหล่ง ท่องเที่ยวธรรมชาติ แหล่งประวัติศาสตร์ อารยธรรมเก่า เช่น อารยธรรม Sa Huynh และจามปา เกาะ Ly Son และเทศกาลท้องถิ่นที่น่าสนใจจํานวนมาก
[su_spacer]
อย่างไรก็ดี จังหวัดฯ ยังเผชิญความท้าทาย คือ 1) นับตั้งแต่ การประชุม G20 ในปี 62 นักลงทุน ต่างประเทศ แสดงความสนใจในการลงทุนใน เวียดนามกลางจํานวนมาก แต่ภาครัฐเวียดนามยังมิได้ พัฒนาและดึงดูดการลงทุนอย่างจริงจัง 2) รายได้เฉลี่ยต่อหัว ขาดแคลนแรงงานทักษะ และอัตราความ ยากจนยังคงสูง (ร้อยละ 9.57) และสุดท้ายคือการพึ่งพารายได้จากอุตสาหกรรมกลั่นน้ามันที่นิคมDung Quat มากเกินไป
[su_spacer]
ในแง่ของการลงทุนของประเทศไทยในอนาคต คาดว่าจะมีนักลงทุนไทยมาลงทุนในกว๋างหงายมากขึ้น เนื่องจากมีศักยภาพและมีที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับนครดานังและจังหวัดกว่างนาม ซึ่งมีคนไทยมาเที่ยวแล้วจํานวนมาก นอกจากนี้หากกว๋างหงายสนใจ อาจมีการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย/วิทยาลัยเทคนิค หรือความร่วมมือทางเทคนิคและวิชาการเช่น ในสาขาการแพทย์และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเวชศาสตร์เขตร้อนและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นต้น
[su_spacer]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์