สหรัฐอเมริกา ประเทศมหาอำนาจของโลกในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม เป็นที่ตั้งของบริษัทด้านเทคโนโลยีระดับโลกมากมาย อาทิ Google Amazon Facebook Oracle Apple ฯลฯ ทำให้การดำเนินนโยบายของภาคเอกชนสหรัฐฯ เป็นที่น่าจับตามอง โดยเมื่อไม่นานมานี้ สภาหอการค้าของสหรัฐฯ ได้ออกแถลงการณ์นโยบายด้านดิจิทัลระหว่างประเทศ หรือ Global Digital Policy Declaration อันมีเป้าหมายเพื่อสื่อสารมุมมองและความต้องการของเอกชนสหรัฐฯ ไปยังรัฐบาลและผู้กําหนดนโยบายด้านดิจิทัลทั่วโลก และนำไปพิจารณาใช้เป็นแนวทางพื้นฐานในการออกนโยบายที่เกี่ยวข้อง ประกอบไปด้วย 10 ข้อที่สำคัญ ดังนี้[su_spacer size=”20″]
1.ส่งเสริมสภาพแวดล้อมด้านการกํากับดูแลที่เหมาะสม (foster appropriate regulatory environment) การออกกฎระเบียบกํากับดูแลเศรษฐกิจดิจิทัลไม่ควรเคร่งครัดเกินความจำเป็น เพื่อไม่ให้กลายเป็นข้อจํากัด และต้องครอบคลุมผลประโยชน์ต่อสังคมและผู้บริโภค[su_spacer size=”20″]
2.ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลไร้พรมแดน (commit to cross-border data flows) เพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันและการพัฒนาทางเศษรฐกิจดิจิทัล[su_spacer size=”20″]
3.เปิดรับการแข่งขันระหว่างประเทศและเปิดตลาด (embrace international competition and open markets) การควบคุมให้เอกชนบริหารจัดการหรือจัดเก็บข้อมูลเฉพาะในประเทศของตนเป็นการยับยั้งการลงทุน ชะลอการเกิดนวัตกรรม และผลประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากสินค้าและการบริการด้านดิจิทัล[su_spacer size=”20″]
4.มีนโยบายป้องกันข้อมูลที่เหมาะสม (get data protection right) ผู้บริโภคควรเป็นผู้ตัดสินใจเรื่อง
การให้ข้อมูลและเป็นผู้อนุญาตให้ใช้ข้อมูลส่วนตัว รวมถึงกฎระเบียบการปกป้องข้อมูลไม่ควรซับซ้อน
และต้องสอดคล้องกัน พร้อมมีผู้กํากับดูแลที่ชัดเจน[su_spacer size=”20″]
5.ให้ความสําคัญกับการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ทางเลือกของผู้บริโภคและหลักธรรมาภิบาล (prioritize internet access, consumer choice, and good governance) การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและสร้างทางเลือกให้ประชาชน
ในการใช้แพลตฟอร์มและบริการมีความสำคัญ และไม่ควรจํากัดทางเลือกการค้าออนไลน์ พร้อมมีมาตรการด้าน
ความปลอดภัยเพื่อสร้างความมั่นใจสําหรับการซื้อ/ขายทางอินเตอร์เน็ตที่สอดคล้องตามกฎหมาย[su_spacer size=”20″]
6.ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา (protect intellectual property) อาทิ สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้าและความลับทางการค้า ช่วยปกป้องธุรกิจที่มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีให้มีศักยภาพทางการแข่งขัน[su_spacer size=”20″]
7.ยอมรับมาตรฐานสากล (abide by market-driven international standards) พิจารณาใช้มาตรฐานสากลแทนการกําหนดมาตรฐานที่ซับซ้อนมากเกินไป จนทําให้เป็นอุปสรรคทางการค้า[su_spacer size=”20″]
8.มองความมั่นคงทางไซเบอร์ให้เป็นเรื่องความเป็นหุ้นส่วน (view cybersecurity as a partnership) โดยนโยบายความปลอดภัยทางไซเบอร์ควรเน้นด้านการป้องกัน และให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการร่วมมือป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับระบบเศรษฐกิจและประชาชน[su_spacer size=”20″]
9.ปรับพิธีการทางศุลกากรให้ทันสมัยตอบรับยุคดิจิทัล (modernize customs for the digital era) โดยควรปรับปรุงกระบวนการทางศุลกากรที่ซับซ้อนและล้าสมัยซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างประสิทธิภาพให้กับ supply chain และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับธุรกิจ[su_spacer size=”20″]
10.ขยายความร่วมมือและความรับผิดชอบระหว่างรัฐบาล (seek cooperation and accountability among governments) รัฐบาลควรร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อสร้างมาตรฐานและกําหนดจุดยืนความรับผิดชอบร่วมกัน โดยอาจดำเนินการผ่าน กลุ่ม G7 กลุ่ม G20 APEC OECD รวมทั้งการจัดทำความตกลงทวิภาคี[su_spacer size=”20″]
ในส่วนของรัฐบาลสหรัฐฯ นั้น ก็ได้มีการกำหนดนโยบายด้านเทคโนโลยีผ่านกรอบเวทีระหว่างประเทศ 3 เรื่อง ประกอบด้วย (1) สนับสนุน free and open internet ภายใต้ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Strategy) ซึ่งสหรัฐฯ สนับสนุนการสื่อสารไร้พรมแดนที่เชื่อมโยงถึงกัน (open and interoperable communication) โดยลดอุปสรรคให้เหลือน้อยที่สุด (2) ยกเลิกกฎระเบียบที่หยุดยั้งการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และ (3) ยืนยันการสนับสนุนการปกป้องเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ในต่างประเทศ โดยจัดการการค้าที่ไม่เป็นธรรม (unfair trade practices) และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (IP theft) รวมถึงมุ่งมั่นให้สหรัฐฯ เป็นผู้นําด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงต่อไป[su_spacer size=”20″]
การผลักดันนโยบายดังกล่าวของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนไทยที่เกี่ยวข้องควรจับตามองเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายของประเทศมหาอำนาจด้านเทคโนโลยีอย่างสหรัฐฯ ย่อมจะส่งผลกระทบต่อไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในปัจจุบัน ที่ไทยกำลังปรับตัวเข้าสู่ยุค 4.0 ที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยี หรือการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อรองรับการเติบโตที่กำลังเกิดขึ้น [su_spacer size=”20″]
ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน