ตลาดน้ํามันโลกกําลังได้รับผลกระทบจากซัพพลายน้ํามันที่มากเกินไป ในขณะที่สหรัฐฯ กําลังผลิตน้ํามันเข้าสู่ตลาดโลกเพิ่มจนอาจทําให้น้ํามันดิบล้นตลาดโลก ปัจจุบันสหรัฐฯ กลายเป็นประเทศผู้ผลิต น้ํามันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลกผลิตได้วันละ 12.5 ล้านบาร์เรล องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency หรือ IEA) รายงานว่า สหรัฐอเมริกาจะเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ํามันรายใหญ่ของโลกโดยส่งออก มากกว่ารัสเซียและใกล้เคียงกับซาอุดิอาระเบียภายในปี 2567
[su_spacer]
การใช้เทคโนโลยีในการขุดเจาะน้ํามันจากชั้นหินดินดาน (Shale oil) เป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้ สหรัฐฯ กลายเป็นประเทศผู้ผลิตน้ํามันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลก Shale Oil เป็นแหล่งน้ํามันที่อยู่ในชั้นหินดินดาล ซึ่งสหรัฐฯ ได้พัฒนาวิธีการขุดเจาะภายในชั้นหินดังกล่าวได้ จึงเกิดเป็น Supply ใหม่ เข้าสู่ตลาด โดยสหรัฐฯ ได้ค้นพบและพัฒนาเทคโนโลยีการขุดเจาะที่เรียกว่า hydraulic fracturing หรือ fracking คือการใช้แรงดันน้ํา ขนาดสูงผสมสารเคมีและทรายเพื่อทําให้หินร้าว ควบคู่กับการเจาะแนวราบเพื่อช่วยเพิ่มผิวสัมผัสของหลุมเจาะกับ ชั้นหิน ซึ่งสหรัฐฯ ได้นํามาใช้ในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2550
[su_spacer]
นอกจากการใช้เทคโนโลยีในการขุดเจาะ Shale oil แล้ว สหรัฐฯยังได้แก้ไขปัญหาการส่งน้ํามัน จากรัฐเท็กซัสไปยังรัฐนิวเม็กซิโก โดยการก่อสร้างท่อส่งน้ํามัน Cactus l เชื่อมระหว่าง Permian Basin กับ Corpus Christi รัฐเท็กซัสเมื่อเดือนสิงหาคม 2552 เป็นต้นมา ท่อส่งน้ํามันที่สร้างเพิ่มขึ้นมาใหม่จะทําให้สหรัฐฯ สามารถ ส่งออกน้ํามันดิบเพิ่มขึ้นอีก ประมาณว่า Permian Basin จะสามารถผลิตน้ํามันดิบได้ถึงวันละ 8 ล้านบาร์เรลภายใน ปี 2566 และจะส่งออกน้ํามันดิบได้วันละ 6 ล้านบาร์เรลหรือมากกว่านั้น ปัจจุบันส่งออกน้ํามันวันละ 2.9 ล้าน บาร์เรล
[su_spacer]
นอกจากสหรัฐฯ แล้ว แคนาดา นอร์เวย์ บราซิล และกายอานา ก็ยังสามารถผลิตน้ํามันดิบได้เพิ่ม มากขึ้น โดยแคนาดาจะผลิตเพิ่มอีกวันละ 500,000 บาร์เรลที่แหล่งผลิตอัลเบอร์ต้า บริษัท Equinor บริษัทน้ํามัน แห่งชาติของนอร์เวย์จะผลิตน้ํามันดิบจากแหล่งผลิต Johan Sverdrup นอกชายฝั่ง จากเดิมวันละ 1.3 ล้านบาร์เรล เพิ่มเป็นวันละ 1.6 ล้านบาร์เรลในปี 2563 และจะเพิ่มเป็นวันละ 1.8 ล้านบาร์เรลในปี 2564 สําหรับประเทศบราซิล แหล่งผลิตนอกชายฝั่งเดิมผลิตวันละ 300,000 บาร์เรล จะเพิ่มเป็นวันละ 460,000 บาร์เรลภายในสิ้นปี 2564 สําหรับ ประเทศกายอานา บริษัท Exxon Mobil ได้สํารวจพบแหล่งน้ํามันดิบ ทั้งนี้ ในต้นปี 2563 จะผลิตได้วันละ 120,000 บาร์เรล และเพิ่มเป็นวันละ 750,000 บาร์เรลภายในปี 2568 ปริมาณน้ํามันดิบที่สหรัฐฯ แคนาดา นอร์เวย์ บราซิล และกายอานา รวมทั้งประเทศนอกกลุ่ม OPEC ผลิตและส่งออกได้วันละ 2.02 ล้านบาร์เรล ในขณะที่ความต้องการบริโภคน้ํามันของตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.08 ล้านบาร์เรล ซึ่งนักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่าในปี 2563 จะเกิด สภาวะน้ํามันล้นตลาด
[su_spacer]
ข้อสังเกต
1. จากการคาดว่าจะทําให้เกิดภาวะน้ํามันล้นตลาด จะทำให้ราคาน้ํามันดิบลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบริษัทที่สํารวจขุดเจาะน้ํามันจากรายได้ และกําไรที่ลดลง และอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนเพื่อสํารวจขุดเจาะแหล่งน้ํามันปิโตรเลียมแหล่งใหม่ๆ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของ ประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ํามันเป็นสินค้าหลัก นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทผู้ผลิตส่งออกน้ํามัน และบริษัทในกลุ่มพลังงาน
2. ราคาน้ํามันดิบที่ลดลงจะส่งผลดีต่อประเทศผู้นําเข้าน้ํามัน เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และประเทศ ไทยรวมทั้งผู้บริโภคที่บริโภคน้ํามันในราคาที่ถูกลง รวมทั้งส่งผลดีต่อภาคการผลิต จากต้นทุนการผลิตสินค้าที่ราคา ถูกลง การขนส่งสินค้าราคาถูกลง รวมทั้งผลกระทบต่อค่าครองชีพความเป็นอยู่อีกด้วย เพราะพลังงานคือต้นทุนใน แทบทุกสรรพสิ่ง และราคาน้ํามันดิบที่ลดลงจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศไทย และยังเป็นโอกาสในการบริหารจัดการโครงสร้างราคาพลังงานให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงตามกลไกตลาด รวมทั้งยังเป็นโอกาสในการ ปรับลดราคาสินค้าอุปโภคเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชนอีกด้วย
[su_spacer]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก