เมื่อวันที่ ๑๒ ม.ค. ๒๕๖๔ นาย Thomas J. Donohue ประธานบริหารหอการค้าสหรัฐฯ (U.S. Chamber of Commerce – USCC) ได้แถลงสภาวะธุรกิจสหรัฐฯ และนโยบายหอการค้าประจําปี ๒๕๖๔ ในช่วงระหว่าง การประชุม State of American Business 2021 ซึ่งปีนี้จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ สรุปสาระสําคัญ ดังนี้
.
๑.๑ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ ๒ ประจําปี ๒๕๖๓ หดตัวร้อยละ ๓๑ ซึ่งเป็นอัตราหดตัวสูงที่สุดในประวัติศาสตร์เมื่อเทียบกับปี ๒๕๐๑ ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ ๑๐ อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ (flu) โดยในไตรมาสต่อมา (๓/๒๕๖๓) เศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ฟื้นกลับมาขยายตัวอย่างรวดเร็วในอัตราร้อยละ ๓๓ ทําลายสถิติเดิมเมื่อปี ๒๕๕๕๓ ที่ร้อยละ ๑๐๒
.
๑.๒ เศรษฐกิจสหรัฐฯ เกิดสภาวะการฟื้นตัวแบบ K-shaped หรือการฟื้นตัวแบบไม่สมดุล ซึ่งเห็นได้ จากธุรกิจบางภาคส่วนที่กลับมาฟื้นตัวและมีผลการดําเนินการดีกว่าช่วงก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ในขณะที่ธุรกิจอีกกลุ่มกลับได้รับผลกระทบอย่างหนักจนต้องปิดกิจการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม แบบธุรกิจครอบครัว ธุรกิจที่เจ้าของกิจการเป็นสตรีและชนกลุ่มน้อย (minority-owned)
.
๑.๓ นับจากการเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ในสหรัฐฯ เมื่อเดือน ก.พ. ๒๕๖๓ ม.ค. ๒๕๖๔ สหรัฐฯ มีผู้ถูกเลิกจ้างงานประมาณ ๑๐ ล้านคน โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ งานบริการ ซึ่งถูกเลิกการจ้างร้อยละ ๘๒ งานด้านการผลิตร้อยละ ๑๐.๘ และงานราชการร้อยละ ๗.๒
.
๑.๔ มีธุรกิจรูปแบบใหม่เกิดขึ้นเป็นจํานวนมากในช่วงปี ๒๕๑๓ (เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ ๕๐) และเป็นช่วงผ่านเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นในการดํารงชีวิตและดําเนินกิจการตามแนววิถีใหม่หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ (post-pandemic)
.
นโยบายหอการค้าสหรัฐฯ
.
หอการค้าสหรัฐฯ วางแผนฟื้นฟูและสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ภายหลังสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ โดยมุ่งเน้นนโยบายที่สําคัญ ได้แก่
.
๒.๑ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในสหรัฐฯ อย่างเร่งด่วน เช่น ถนน สะพาน รวมไปถึงการปรับปรุง เทคโนโลยีเครือข่าย broadband ให้ทันสมัย และสามารถรองรับการขยายตัวของการใช้เทคโนโลยีในอนาคต
.
๒.๒ สนับสนุนโครงการฝึกทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมและขยายโอกาสการจ้างงานให้แก่แรงงาน สหรัฐฯ เช่น การฝึกอบรมสําหรับสายงานที่ได้รับค่าตอบแทนสูง งานด้านสาธารณสุข และงานบริการวิชาชีพและการเงิน ซึ่งปัจจุบันยังมีแรงงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
.
๒.๓ ปฏิรูปนโยบายการอพยพเข้าเมือง เพื่อยกขีดความสามารถด้านการแข่งขันในระดับโลกของ สหรัฐฯ ส่งเสริมการจ้างงาน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ
.
๒.๔ ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษกิจดิจิทัล
.
๒.๕ ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการเข้าถึงตลาดผู้บริโภคนอกสหรัฐฯ ให้ได้ร้อยละ ๙๕ พร้อมทั้งให้มีการยกเลิกการเรียกเก็บภาษีที่ไม่สมเหตุสมผลและเป็นภาระของบริษัทสหรัฐฯ และผู้บริโภค
.
๒.๖ ส่งเสริมให้สหรัฐฯ กลับมามีบทบาทเป็นผู้นําในการสนับสนุนองค์การระหว่างประเทศ เช่น WTO และ WHO เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในเวทีโลก
.
๒.๗ สนับสนุนการเจรจาด้านการค้ากับจีนเพื่อประโยชน์สูงสุดของธุรกิจสหรัฐฯ และส่งเสริมความร่วมมือกับกลุ่มประเทศพันธมิตรเพื่อคานอํานาจกับจีนในด้านนโยบายการค้าและอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นธรรม
.
หอการค้าสหรัฐฯ เน้นย้ำการให้ความสำคัญ เกี่ยวกับนโยบายด้านเศรษฐกิจ พร้อมเสนอแนะแนวทางการดําเนินงาน ๒๑ ด้าน เช่น การต่อต้านการผูกขาดและส่งเสริมการแข่งขันอย่างเท่าเทียม การส่งเสริมความปลอดภัยด้านไซเบอร์ การส่งเสริมนโยบายภาษีซึ่งเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ธุรกิจขนาดย่อม และความเป็นเลิศในด้านอวกาศ
.
เนื่องจากระเบียบโลกใหม่ภายใต้รัฐบาลนายโจ ไบเดน มีการปรับเปลี่ยนนโยบายทางการค้าที่แตกต่างไปจากเดิม โดยเน้นย้ำการขยายตัวและการส่งเสริมเทคโนโลยีรูปแบบใหม่สำหรับอนาคตมากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรศึกษาพัฒนาการนโยบายการค้าของสหรัฐ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การค้าโลก เพื่อปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง
.
สอท. ณ กรุงวอชิงตัน