Tuesday, May 20, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

แนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษจากพลาสติกของสหรัฐอเมริกา

16/03/2022
in ทันโลก, อเมริกาเหนือ
0
แนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษจากพลาสติกของสหรัฐอเมริกา
1
SHARES
2.1k
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 เป็นการสิ้นสุดลงของการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 5 ช่วงที่ 2 (UNEA 5.2) หัวข้อ “Strengthening Actions for Nature to Achieve the Sustainable Development Goals” เพื่อมุ่งเน้นการฟื้นฟูธรรมชาติและมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยที่ประชุมรับรองข้อมติด้านการจัดการมลพิษจากขยะพลาสติก สืบเนื่องจากการประชุมดังกล่าว ทางสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่ข้อมูลด้านแนวทางการแก้ปัญหามลพิษพลาสติกไว้ดังนี้

.

สำหรับแนวทางภายในประเทศ ในด้านการรีไซเคิลนั้น มีการกําหนดเป้าหมายเพิ่มการรีไซเคิลภายในประเทศให้ถึงรอยละ 50 ภายในปี 2573 และร่วมกับภาคเอกชนและองค์กรไม่แสวงหาผลกําไร ส่งเสริมการใช้และการนําวัสดุกลับมาใชใหม่โดยให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้บูรณาการขอริเริ่มต่าง ๆ ของกระทรวงที่เกี่ยวของกับการรีไซเคิล upcycle และการออกแบบเพื่อการหมุนเวียน

.

ด้านการลดการใช้พลังงาน สหรัฐฯ มีเป้าหมายลดใช้พลังงานร้อยละ 50 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่ารอยละ 50 และนําก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปหมุนเวียนใช้รอยละ 75 ส่วนของการสร้างความตระหนักรู้คือการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับพลาสติกชีวภาพแก่ผูบริโภคและมีการสนับสนุนให้บริษัทผู้ผลิตใช้พลาสติกรีไซเคิลในบรรจุภัณฑ์อาหารอย่างปลอดภัย

.

ด้านมหาสมุทร มีการศึกษาการใช้ดาวเทียมเพื่อตรวจจับไมโครพลาสติกในมหาสมุทร จัดทํา Marine Trash and Debris Prevention Standards สําหรับพนักงานบริษัทพลังงานนอกชายฝั่ง และโครงการ Marine Debris Program ที่มีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2549 เพื่อจัดการผลกระทบของขยะทะเลต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยในการเดินเรือ ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือในชุมชนเพื่อลดขยะทะเล และ โครงการอาสาสมัครเพื่อลดขยะในทะเลอื่นๆ อีกด้วย

.

ในส่วนของแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศ สามารถแบ่งได้เป็น 2 หน่วยงาน หน่วยงานแรก กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ได้จัดทําโครงการเพื่อแก้ปัญหาขยะทะเลร่วมกับประเทศต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) data (2) local and innovative solutions และ (3) outreach เช่น US-Singapore Third Country Training Program 2021 ซึ่งรวมถึงการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหามลพิษพลาสติกในอาเซียนและการส่งเสริมยุทธศาสตรการจัดการขยะมูลฝอย เพื่อการแก้ปญหาที่ยั่งยืน

.

นอกจากนี้ยังมีการ จัดตั้ง APEC Marine Debris Management and Innovation (MDMI) Sub-Fund เมื่อปี2561 เพื่อสนับสนุนงบประมาณแก้ปัญหามลพิษพลาสติกในทะเลในพื้นที่ของเขตเศรษฐกิจเอเปค รวมไปถึงโครงการ Social Mobilization for Marine Waste Management และ Accelerating Efforts to Reduce Ocean Plastic ในเวียดนาม

.

หน่วยงานที่สอง คือ องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) มีการจัดทำโครงการต่าง ๆ เช่น Clean Cities, Blue Ocean (CCBO) เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย Save Our Seas 2.0 และลดขยะพลาสติกในทะเลให้ได้ 11 ล้านตัน และโครงการ Municipal Waste Recycling Program (ปี 2559-2564) เพื่อลดแหล่งขยะพลาสติกบนดินที่เป็นต้นเหตุของมลพิษพลาสติกในมหาสมุทรในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และเวียดนาม ซึ่งดําเนินการเสร็จสิ้นแล้ว รวมไปถึงการสนับสนุนเงินกู้ยืมผ่าน U.S. International Development Finance Corporation (DFC)สําหรับโครงการเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่ภาคเอกชนในการลงทุนด้าน recycling value chain ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

.

สำหรับประเทศไทย ได้เป็นผู้ร่วมอุปถัมภ์ 4 ข้อมติจากการประชุม UNEA 5.2  ได้แก่ (1) การจัดการสารเคมีและของเสีย (2) Science-Policy Panel เพื่อจัดการสารเคมีและของเสียและป้องกันมลพิษ (3) มิติด้านสิ่งแวดล้อมในการฟื้นฟูหลังโควิด-19 อย่างยั่งยื่น ยืดหยุ่น และครอบคลุม และ (4) การสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนในการผลิตและบริโภค

.

นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีการใช้รูปแบบโมเดล BCG Economy ในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมและขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับทิศทางของการประชุม UNEA 5.2 และในส่วนของเป้าหมายที่ต้องการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2608 รวมทั้งการ Recycle พลาสติกให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 จากเป้าหมายดังกล่าว ประเทศไทยจะต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายทั้งหมดตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้

.

ข้อมูล: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน

เรียบเรียง  : ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์

.

ที่มาข้อมูลเพิ่มเติม

https://tna.mcot.net/environment-895455

https://122.155.92.3/th/news/detail/TCATG220303161557143

Previous Post

The Last Guardian Playstation 4 Game review

Next Post

ASEAN’s common digital currency จะเป็นไปได้หรือไม่ ?

Tanakorn

Tanakorn

Glob Thailand Administrator

Next Post
ASEAN’s common digital currency จะเป็นไปได้หรือไม่ ?

ASEAN’s common digital currency จะเป็นไปได้หรือไม่ ?

Post Views: 4,026

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X