Sunday, May 25, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

เปิดภาพรวมเศรษฐกิจยูกันดาปี 2561

25/02/2019
in ทันโลก, แอฟริกา
0
9
SHARES
394
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

             พัฒนาการทางเศรษฐกิจของยูกันดาในปี 2561 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5.3 โดยพื้นฐานเศรษฐกิจยังคงพึ่งพาการเกษตรเป็นหลัก ในสินค้าส่งออกร้อยละ 50 เป็นสินค้าเกษตร (คิดเป็นร้อยละ 25 ของ GDP) และประชากรร้อยละ 70 ของประเทศประกอบอาชีพเกษตรกรรม ขณะเดียวกัน ภาครัฐบาลได้สนับสนุนอุตสาหกรรม โดยคาดการณ์ว่าปี 2561 ภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะเติบโต ร้อยละ 6.2 อันเป็นผลจากนโยบายพัฒนากําลังการผลิตกระแสไฟฟ้า และการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ของ รัฐบาล ขณะที่ภาคบริการจะเติบโตร้อยละ 7.3 และการก่อสร้างจะเติบโตร้อยละ 12.5 [su_spacer size=”20″]

             ความท้าทายสําคัญประการหนึ่งของยูกันดาคือการเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล รัฐบาลจึงเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมของประเทศ เพื่อให้เชื่อมกับท่าเรือสําคัญของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีทางเลือก 2 แห่งคือเชื่อมกับท่าเรือมอมบาซา (Mombasa) ของเคนยา หรือท่าเรือ Dar es Salaam ของแทนซาเนีย ซึ่งปัจจุบัน ยูกันดาให้ความสําคัญกับเส้นทางเชื่อมท่าเรือมอมบาซา (ตามเส้นทาง Northern Corridor) โดยอยู่ระหว่างการแสวงหาเงินทุนในการก่อสร้างทางรถไฟรางมาตรฐานจากเมือง Mataba (บริเวณชายแดนเคนยา) ไปยังกรุงกัมปาลา โดยเส้นทางดังกล่าวจะเชื่อมกับไปยังท่าเรือมอมบาซาของเคนยา อย่างไรก็ดี ยูกันดายังไม่สามารถบรรลุการเจรจาเรื่องเงินกู้กับ Export-Import Bank of China ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเจรจาเรื่องเงินกู้เส้นทาง Nairobi-Naivasha-Kisumu ของเคนยา ที่จะเชื่อมต่อมายัง Malaba ยังไม่สําเร็จ ทั้งนี้ หากสร้างแล้วเสร็จ รัฐบาลคาดการณ์ว่าการขนส่งทางรถไฟจะลดต้นทุนการผลิตได้ถึงร้อยละ 30 [su_spacer size=”20″]

             นอกจากนี้ ยูกันดาค้นพบแหล่งน้ำมันดิบเมื่อปี 2549 โดยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 แทนซาเนียและยูกันดา ได้บรรลุข้อตกลงการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันจากเมือง Hoima ในยูกันดา ไปยัง Chongoleani เมือง Tanga ของแทนซาเนียซึ่งเป็นทางออกสู่ทะเล โดยการก่อสร้างน่าจะแล้วเสร็จในปี 2562 และจะสามารถผลิตน้ำมันได้ในปี 2564 ในส่วนของแก๊สธรรมชาติ แทนซาเนียมีแหล่งแก๊สธรรมชาติอยู่ที่เกาะ Songosongo และเมื่อ 25 สิงหาคม 2561 แทนซาเนียและยูกันดาลงนามความตกลงก่อสร้างท่อส่งแก๊สเพื่อลําเลียงแก๊สธรรมชาติไปยังยูกันดา ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะเป็นท่อส่งแก๊สข้ามพรมแดนเส้นทางแรกของแอฟริกาตะวันออก [su_spacer size=”20″]

             ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในปีที่ผ่านมา ยูกันดาถูกวิพากษ์วิจารณ์จากประเทศตะวันตก โดยเฉพาะ EU ในประเด็นสิทธิมนุษยชนในหลายโอกาส จากกรณีการจัดการกับผู้ร่วมชุมนุมประท้วงช่วงการเลือกตั้งซ่อมที่ Arua เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 รวมทั้งการดําเนินการของรัฐบาลต่อนาย Robert Kyagulanyi (หรือ Bobi Wine) นักการเมืองอิสระที่ความนิยมกำลังเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อการให้ความช่วยเหลือจาก EU ที่มีต่อยูกันดา [su_spacer size=”20″]

             ในด้านการค้าและการลงทุน อิทธิพลของจีนในยูกันดามีมากเช่นเดียวกับหลายประเทศในแอฟริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นแหล่งเงินกู้ที่มีเงื่อนไขน้อย เมื่อเทียบกับเงินกู้จากแหล่งอื่น ๆ [su_spacer size=”20″]

             ด้านความสัมพันธ์กับประเทศไทย ไทยกับยูกันดามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันค่อนข้างน้อย โดยส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะความร่วมมือทางวิชาการ ผ่านการให้ทุนฝึกอบรมและทุนการศึกษาในหลักสูตรต่าง ๆ ของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ [su_spacer size=”20″]

             ในด้านการค้าและการลงทุนระหว่างยูกันดากับไทย ยังคงมีอย่างจํากัด โดยในปี 2561 ช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม มูลค่าการส่งออกของไทยไปยูกันดามีจํานวน 14.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการนําเข้าสินค้าจากยูกันดามาไทยมีจํานวน 3.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อนึ่ง อุปสรรคสําคัญของการค้ากับยูกันดาคือการเป็นตลาดขนาดเล็ก และต้นทุนค่าขนส่งซึ่งมีอัตราที่สูง เนื่องจากเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลและระบบโลจิสติกส์ยังไม่ดี [su_spacer size=”20″]

             อย่างไรก็ดี เนื่องจากยูกันดาเป็นประเทศที่พึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลักเช่นเดียวกับไทย จึงอาจแสวงหาความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในสาขาเกษตรกรรมเพิ่มเติมที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการเผยแพร่เครื่องมือ/เครื่องจักรกลการเกษตรขนาดเล็กที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในยูกันดาได้ [su_spacer size=”20″]

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี

 

Previous Post

มองอนาคตเทคโนโลยีแคนาดากับโอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการรายใหม่ของไทย

Next Post

สิงคโปร์ยกระดับถนน Orchard เตรียมพัฒนาเป็นแหล่งนันทนาการรูปแบบใหม่

Tanakorn

Tanakorn

Glob Thailand Administrator

Next Post

สิงคโปร์ยกระดับถนน Orchard เตรียมพัฒนาเป็นแหล่งนันทนาการรูปแบบใหม่

Post Views: 999

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

กว่างซีจ้วงเร่งเครื่องเศรษฐกิจสีน้ำเงิน โอกาสใหม่ของไทยในยุทธศาสตร์ทะเลจีน

กว่างซีจ้วงเร่งเครื่องเศรษฐกิจสีน้ำเงิน โอกาสใหม่ของไทยในยุทธศาสตร์ทะเลจีน

23/05/2025
เขต YRD ทะยานสู่ผู้นำโลกหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ และโอกาสความร่วมมือกับไทย ตอนที่ 3

เขต YRD ทะยานสู่ผู้นำโลกหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ และโอกาสความร่วมมือกับไทย ตอนที่ 3

22/05/2025
เจาะตัวเลขการค้าหูหนาน ไตรมาสแรก 2568

เจาะตัวเลขการค้าหูหนาน ไตรมาสแรก 2568

22/05/2025
ทิศทางความเคลื่อนไหวด้านพลังงานนิวเคลียร์ของไต้หวัน

ทิศทางความเคลื่อนไหวด้านพลังงานนิวเคลียร์ของไต้หวัน

22/05/2025
“โปรตีนทางเลือก” โอกาสสำหรับธุรกิจอาหารเพื่อความยั่งยืนในสิงคโปร์

“โปรตีนทางเลือก” โอกาสสำหรับธุรกิจอาหารเพื่อความยั่งยืนในสิงคโปร์

22/05/2025
สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาเดิน-เวือรืทเทิมแบร์ค

สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาเดิน-เวือรืทเทิมแบร์ค

22/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X