สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในดูไบตั้งแต่ต้นปี 2560 มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากรายงานการซื้อขายในเดือน มกราคม 2564 ที่มียอดรวมกว่า 3,300 รายการ มีมูลค่าคิดเป็นเงินไทยประมาณ 5 หมื่นล้านบาท มีการเติบโตเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 15.5 ในเชิงปริมาณ และร้อยละ 37 ในเชิงมูลค่า เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมของปี 2563 ถือเป็นสถิติการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีปริมาณสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2557 เป็นต้นมา
.
ปริมาณการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่มาจากอสังหาริมทรัพย์ประเภทพร้อมเข้าอยู่อาศัย (Ready properties) คิดเป็นร้อยละ 72 ทั้งหมด 2,373 รายการ (ร้อยละ 70 – ตึกอพาร์ทเม้น และร้อยละ 30 – ทาวน์เฮ้าส์และวิลล่า) มีมูลค่าคิดเป็นเงินไทยประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ส่วนประเภทกําลังดําเนินการก่อสร้าง (of-plan properties) มีเพียงร้อยละ 28
.
เขตพื้นที่ในรัฐดูไบที่ได้รับความนิยมในการซื้อขายทาวน์เฮ้าส์และวิลล่า ได้แก่ (1) Nad AI Sheba Dubailand (2) Meydan (3) Dubai Hills Estate และ (4) Tital At Ghaf ส่วนบริเวณพื้นที่ที่ตึกอพาร์ทเม้นได้รับความนิยมได้แก่ (1) business Bay (2) Dubai Marina (3) Jumeirah Village Circle และ (4) Downtown blax Palm Jumeirah
.
ปัจจัยสําคัญที่ช่วยส่งเสริมให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีการเติบโตสูงขึ้น คือ นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐบาลในเชิงรุกและการทําการตลาดที่มีแรงจูงใจต่อผู้บริโภค เช่น เน้นการตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาไม่แพงและผู้บริโภคมีกําลังทรัพย์ในการซื้อ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นผู้ที่อยู่อาศัยระยะยาวในดูไบ ทั้งนี้ คาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์ในดูไบจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต
.
ความต้องการอสังหาริมทรัพย์ในดูไบยังสูงขึ้น แต่มีราคาไม่แพง ทั้งยังให้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงมากเมื่อเทียบกับเมืองระดับโลกอื่น ๆ ประกอบกับการแพร่ระบาดฯ ที่ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลง จึงถือเป็นโอกาสทองของนักลงทุนไทยที่จะเข้าไปเป็นเจ้าของเพื่อผลตอบแทนที่ดีในอนาคต เนื่องจากมีราคาที่ดึงดูด ดีไซน์ที่สวย และตั้งอยู่ในทำเลทองใจกลางเมือง และอาจเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งบ้านของไทยในการหาตลาดส่งออก โดยควรศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในแถบตะวันออกกลางเพื่อรับทราบความนิยมในการตกแต่งที่อยู่อาศัยประเภทต่าง ๆ
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี