ปัจจุบันยูเออีได้มีการพัฒนาระบบ AI ให้มีความสอดคล้องกับการดําเนินงานในภาคส่วนต่าง ๆ และได้มีการจัดตั้งกระทรวง Al เพื่อรองรับการดําเนินงานด้านเทคโนโลยี AI ของประเทศ
โดยมีนาย Oman Ai Omala เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ซึ่งนาย Omar มีอายุเพียง 29 ปี และถือเป็นรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดเป็นลําดับที่สองในรัฐบาลยูเออี (รองจาก น.ส. Shamma At Mazrui รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเยาวชน ซึ่งมีอายุเพียง 25 ปี) โดยรัฐบาลยูเออีได้ประกาศแผนยุทธศาสตร์ด้าน AI ในปี 2560 เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพด้านเทคโนโลยีและการนําระบบ AI มาใช้ในรัฐบาลทั้ง 7 รัฐของประเทศ
[su_spacer]
หนังสือพิมพ์ The National ของยูเออีรายงานว่า การลงทุนด้าน AI ในภูมิภาคตะวันออกกลาง และแอฟริกามีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 43 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยมาจากภาคธุรกิจท้องถิ่นที่มีการลงทุน เกี่ยวกับ AI เพิ่มมากขึ้น รวมถึงภาคธนาคารและภาคการค้าปลีกที่มุ่งเน้นการลงทุนในด้านเทคโนโลยี AI ซึ่งคาดว่า ปริมาณจํานวนเงินที่ใช้ไปกับเทคโนโลยีด้าน AI ในภูมิภาคตะวันออกกลางจะเพิ่มสูงถึง 3,742 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในสิ้นปี 2562 ทั้งนี้ ได้มีการคาดการณ์ว่ายูเออีซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของภูมิภาคตะวันออกกลางจะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการใช้เทคโนโลยี AI และคาดว่าจะส่งผลให้ GDP ของประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14 ภายในปี 2573 ในมูลค่ากว่า 3.5 แสนล้านดีแรห์ม (ประมาณ 2.7 ล้านล้านบาท) โดยยูเออีมีสัดส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ AI มากที่สุดในโลก ทั้งในด้านสาธารณสุข การศึกษา พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
[su_spacer]
บริษัท Boston Consulting Group วิเคราะห์ว่า ยูเออีมีศักยภาพที่จะเป็นผู้นําของโลกในด้าน AI โดย รัฐบาลยูเออีได้อนุมัติการจัดตั้งคณะกรรมการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ AI เพื่อการออกพระราชบัญญัติและข้อระเบียบของ AI ทั้งในด้านการบังคับใช้ ด้านธรรมาภิบาลและจริยธรรม และได้มีการประเมินถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ AI ในคณะรัฐมนตรียูเออีอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2562 กระทรวงเศรษฐกิจยูเออีได้ร่วมลงนาม MoU กับ Korean Intellectual Property Office (KIPO) ณ นครเจนีวา ในการนํา AI มาใช้ในด้านทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property – IP) ทั้งในด้านข้อกฎหมาย ลิขสิทธิ์ และการออกแบบ โดยนาย Mohammed Ahmed Al Sheihi ปลัดกระทรวงเศรษฐกิจยูเออีกล่าวว่า AI จะมีบทบาทสําคัญในการพัฒนาด้านทรัพย์สินทางปัญญาในอนาคตข้างหน้า โดยเมืองดูไบได้มุ่งเน้นการลงทุนด้าน AI เป็นอย่างยิ่งในระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะภาครัฐที่มีการนําระบบ AI ใช้ในด้านบริการต่าง ๆ
[su_spacer]
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่ายูเออีมีความเชี่ยวชาญและลงทุนกับด้าน AI เป็นจํานวนมากในระยะเวลาที่ผ่านมา และมีการวางรากฐานโครงสร้างในด้านกฎหมายและธรรมาภิบาลที่ครอบคลุม ซึ่งไทยสามารถเรียนรู้แนวปฏิบัติ ที่เป็นเลิศในด้าน AI จากยูเออีได้ ทั้งนี้ ไทยอาจพิจารณาเชิญรัฐมนตรีหรือผู้แทนระดับสูงของกระทรวง AI ยูเออีให้เข้าพบหารือกับผู้บริหารของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสวงหาลู่ทางความร่วมมือในสาขาดังกล่าว และต่อยอดการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของไทย เพื่อให้ผู้ประกอบการของไทยสามารถนำมาพัฒนาต่อยอด AI ภายในไทยได้
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี