ตุรกีได้ทําพิธีเปิด INA (Istanbul New Airport) อย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2561 ซึ่งแม้ว่าจะเป็นเพียงการเปิดให้บริการเฟสแรก โดยการพัฒนา INA จะดําเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Gradual Development) และจะให้บริการเต็มรูปแบบในปี ค.ศ. 2028 ก็ตาม แต่ในท้ายที่สุด INA จะกลายเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศตามนโยบายของรัฐบาลตุรกีอย่างแน่นอน เนื่องจากโดยทำเลที่ตั้งแล้ว นครอิสตันบูลถือเป็นจุดยุทธศาสตร์เชื่อมต่อด้านการบินระหว่างทวีปอย่างแท้จริง ไม่เพียงเฉพาะยุโรปและเอเซีย แต่ยังรวมถึงระหว่างแอฟริกากับตะวันกลางด้วย [su_spacer size=”20″]
การก่อสร้าง INA ของรัฐบาลตุรกีน่าจะไม่ถือเป็นคู่แข่งกับท่าอากาศสุวรรณภูมิของไทย แต่จะเป็นคู่แข่งกับท่าอากาศของกาตาร์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงมากกว่า นอกจากนี้ น่าจะเป็นโอกาสดีที่หน่วยงานของไทยจะเข้าไปแสวงหาประโยชน์ และความร่วมมือกับตุรกีที่เกี่ยวกับINA เนื่องจากรัฐบาลตุรกีคงต้องเปิดรับความร่วมมือกับต่างประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น [su_spacer size=”20″]
1. ความร่วมมือด้านการบินพาณิชย์
เมื่อพิจารณาว่า ในปีที่ ๒๕๖๐ มีนักท่องเที่ยวตุรกีเดินทางมาไทยมากถึง 56,974 คน ขณะที่มีนักท่องเที่ยวไทยไปตุรกี 30,321 คน โดยสายการบิน TK ปัจจุบันมีเที่ยวบินระหว่างอิสตันบูล – กรุงเทพฯ ทุกวัน รวม 11 – 14 เที่ยว รวมทั้งได้เปิดบริการเที่ยวบินตรงเส้นทางกรุงเทพ – ภูเก็ต จํานวน 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2560 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความนิยมของชาวตุรกีในการเดินทางไปท่องเที่ยวไทยเป็นอย่างมาก และเมื่อ INA เปิดให้บริการการบินเต็มรูปแบบ จํานวนเที่ยวบินที่จะมาใช้บริการจะเพิ่มขึ้นอีกเป็นอย่างมาก จึงน่าจะเป็นโอกาสที่สายการบินของไทยจะได้แบ่งปันผู้โดยสารจากประเทศยุโรปและตะวันกลางที่จะเดินทางมาเปลี่ยนเครื่องที่อิสตันบูลเพิ่มมากขึ้น
การเพิ่มเติมเส้นทางการบินจากตุรกีน่าจะเป็นส่วนสําคัญในการเพิ่มจํานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศให้กับ ประเทศไทยได้มากอีกทางหนึ่ง (ทั้งจากชาวตุรกี และประเทศต่าง ๆ ในยุโรปและตะวันออกกลางที่มาเปลี่ยนเครื่อง ที่ INA) รวมทั้งจะช่วยลดปัญหาจากการที่ประเทศไทยต้องพึ่งพาตลาดนักท่องเที่ยวจีนเช่นในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมา [su_spacer size=”20″]
2. สินค้าและบริการ
เมื่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ INA จะเป็นสนามบินที่มีร้านค้าปลอดภาษีที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ขนาด 53,000 ตารางกิโลเมตร และคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการกว่า 40 ล้านคนในแต่ละปี (เฉพาะในการเปิดให้บริการเฟสแรก) จึงเป็นโอกาสสําหรับผู้ผลิตสินค้าของไทยที่จะศึกษาลู่ทางการนําสินค้าเข้าไปจําหน่ายใน Duty Free Shop ของ INA รวมทั้งการให้บริการด้าน catering อาหารสําหรับสายการบินต่าง ๆ ที่จะใช้ INA เป็น Hub ในการเดินทาง
นอกจากนี้ เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของ INA อยู่ห่างออกไปจากตัวนครอิสตันบูลปัจจุบัน อีกทั้งบริเวณพื้นที่โดยรอบยังไม่ได้มีการก่อสร้างสิ่งอํานวยสะดวกต่าง ๆ อาทิ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ฯลฯ เพื่อรองรับผู้โดยสาร ซึ่งคาดว่าจะมีมากถึง 20 ล้านคนต่อปี เมื่อ INA เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ จึงอาจเป็นลู่ทาง สําหรับนักธุรกิจไทยในสาขาดังกล่าว [su_spacer size=”20″]
3. ความร่วมมือด้านการศึกษาและฝึกอบรม
เมื่อการย้าย operation ต่าง ๆ ไปสู่ INA เสร็จสมบูรณ์รัฐบาลตุรกีเตรียมที่จะปรับเปลี่ยนท่าอากาศยานอตาเติร์กเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการบินนานาชาติ (Aviation Hub Training) ภาครัฐและภาคเอกชนไทยจึงอาจพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับลู่ทางความร่วมมือกับตุรกีในด้านนี้ต่อไปในอนาคต [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา