ติมอร์-เลสเต ประเทศเล็ก ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งทำรายได้หลักให้แก่ประเทศ อย่างไรก็ดี ติมอร์ฯ ยังคงต้องรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศเป็นจำนวนมาก คิดเป็นร้อยละ 10.8 ของงบประมาณประเทศ เพื่อฟื้นฟูประเทศจากความขัดแย้งในอดีต ด้วยเหตุนี้เอง ติมอร์ฯ จึงยังคงต้องการการลงทุนจากต่างชาติจำนวนมาก เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาให้เป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับบนภายในปี ค.ศ. 2030 โดยเฉพาะการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และอุตสาหกรรมทางเลือกอื่น ๆ เพื่อลดการพึ่งพาอุตสาหกรรมปิโตรเลียม จึงนับเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในหลายสาขา ที่จะพิจารณาเข้าไปหาลู่ทางการค้าการลงทุนในติมอร์ฯ เช่น เส้นทางคมนาคม ศูนย์อุตสาหกรรม โรงแรม และศูนย์การค้า รวมทั้งในด้านการเกษตร การประมง เมืองแร่ และท่องเที่ยวด้วย[su_spacer size=“20”]
กระนั้นก็ตาม แม้โอกาสในติมอร์ฯ จะยังคงเปิดกว้าง แต่อย่างไรก็ดี ติมอร์ฯ ก็ยังคงมีจุดอ่อนที่ต้องคำนึงถึง[ อาทิ 1. เป็นประเทศเกิดใหม่ที่อยู่ระหว่างพัฒนา จึงขาดโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับพัฒนาเศรษฐกิจ 2. พึ่งพารายได้จากกองทุนน้ำมันเป็นหลัก โดยคิดเป็นร้อยละ 90 ของรายได้ภาครัฐ อย่างไรก็ตาม บ่อก๊าซและน้ำมันที่มีอยู่กำลังมีปริมาณลดลง ซึ่งคาดว่าจะหมดไปในปี 2564 และกองทุนน้ำมันจะหมดในปี 2569 หากรัฐบาลยังคงใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ และแหล่งผลิตปิโตเลียมใหม่ยังคงไม่มีความชัดเจน 3. ประชากรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน กว่าร้อยละ 70 อายุต่ำกว่า 25 และอาศัยอยู่ในชนบท 4. อัตราการว่างงานร้อยละ 54.3 5. ปัญหาด้านความมั่นคงของอาหาร ด้วยผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงต้องนำเข้าสินค้าและบริการกว่าร้อยละ 90 ทำให้ขาดดุลการค้าเป็นจำนวนมากติดต่อกันทุกปี และ 5. ความไม่เสถียรภาพทางการเมือง[su_spacer size=“20”]
ทั้งนี้ นอกจากจุดอ่อนข้างต้นแล้ว ติมอร์ฯ ยังมีความท้าทายที่สำคัญ อาทิ 1. สภาพภูมิศาสตร์เป็นหมู่เกาะ ทำให้มีภาษาต่าง ๆ กว่า 20 ภาษา 2. ระบบโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ยังไม่มีประสิทธิภาพ และ3. ขาดแรงงาน เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ[su_spacer size=“20”]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดิลี