เมื่อวันที่ 14 – 22 เมษายน 2560 กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้นำคณะผู้แทนไทยเดินทางไปศึกษางานด้าน Bioeconomy ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและเข้าร่วมการประชุม Global Bioeconomy Summit 2018 ณ กรุงเบอร์ลิน โดยคณะผู้แทนประกอบด้วย 1) ผู้บริหารและนักวิจัยจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สวทช.) 2) ผู้บริหารและนักวิจัยจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) 3) นักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 4) ผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย 5) ผู้แทนสมาคมพลาสติกชีวภาพไทย 6) ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 7) นักศึกษาทุน สวทช. 8) สื่อมวลชน รวมทั้งสิ้น 21 ราย[su_spacer size=”20″]
ในการเดินทางในครั้งนี้ คณะฯ ได้เข้าหารือและเยี่ยมชมหน่วยงานวิจัยด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพ ได้แก่ สถาบันวิจัย Forschungzentrum Jülich และ มหาวิทยาลัย RWTH Aachen ตลอดจนบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีชีวภาพ อาทิ บ. เบเยอร์ และ บ. OrganoBalance GmbH ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บ. Novozymes ซึ่งเป็นบริษัทผู้ครองตลาดเอนไซม์อันดับหนึ่งของโลก นอกจากนี้ คณะยังได้เยี่ยมชมศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ อาทิ BIO.NRW Cluster Biotechnologie ประจำเขต Nordrhein-Westfalen อุทยาน Adlershof Science and Innovation Park และสวนเทคโนโลยีชีวภาพ BiotechPark Berlin-Buch[su_spacer size=”20″]
กำหนดการสำคัญของคณะฯ ในการเดินทางครั้งนี้ ได้แก่ การเข้าร่วมการประชุม Global Bioeconomy Summit 2018 ณ กรุงเบอร์ลิน ซึ่งเป็นการประชุมระดับนานาชาติ มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 700 คน จาก 70 ประเทศ โดยในส่วนของประเทศไทย นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย และได้เป็น panelist ในหัวข้อ Strategic Debate: International Collaboration in Bioeconomy Governance และผู้แทน สวทช. (ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ) เป็นประธานร่วมในการประชุม Workshop on Bioeconomy of World Regions – Asia [su_spacer size=”20″]
การดำเนินโครงการในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากฝ่ายเยอรมนี และได้ช่วยส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ระหว่างนักวิจัย/นักศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานของไทยและเยอรมนีที่ทำการวิจัยและพัฒนาในสาขาเทคโนยีชีวภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve ของไทย และเป็นรากฐานที่สำคัญ ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bioeconomy) ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรของไทยอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการพัฒนาการวิจัยในสาขาเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ เพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบทางการเกษตร และผลผลิตเหลือใช้ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูง สามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ และนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย[su_spacer size=”20″]
การไปศึกษางานด้าน Bioeconomy ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและการวิจัยของไทย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมมือกับ สวทช. ดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2553 โดยมุ่งเน้นการไปศึกษาดูงานและสร้างเครือข่ายด้านการวิจัยและพัฒนากับประเทศที่มีเทคโนโลยีชั้นนำของโลกในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน ตลอดจนนักวิจัยและนักศึกษาของไทย ได้รับทราบข้อมูลการวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ และตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยได้ อีกทั้งยังเป็นการดำเนินการตามแนวทางประชารัฐ โดยการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาของไทย[su_spacer size=”20″]