เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา นาย James Zhan ผู้อำนวยการฝ่าย Investment and Enterprise ของ UNCTAD ได้เปิดตัว World Investment Report (WIR) ประจําปี ค.ศ. 2019
จัดทำโดย UNCTAD ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจประเทศไทย ดังนี้
[su_spacer]
1. เศรษฐกิจระดับโลก
1.1 มูลค่า FDI ระดับโลกลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ซึ่งลดลงร้อยละ 13 ในปี ค.ศ. 2018 โดยมีสาเหตุหลักจากการปฏิรูปทางด้านภาษีของสหรัฐอเมริกาที่เปิดให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาสามารถเก็บภาษีจากรายได้ที่บริษัทสหรัฐอเมริกาเก็บไว้ที่ต่างประเทศ เป็นเหตุให้บริษัทสหรัฐอเมริกาส่งรายได้กลับสหรัฐอเมริกา (Repatriations) เป็นจำนวนมาก ซึ่งลดการนำรายได้เหล่านี้ไปลงทุนต่อ (Reinvestment) และลดมูลค่า FDI ตามลำดับ
[su_spacer]
1.2 มูลค่า FDI ในประเทศพัฒนาแล้วลดลงถึงระดับต่ำที่สุดตั้งแต่ ค.ศ. 2004 โดยลดลงถึงร้อยละ 27 โดยมีสาเหตุหลักจาก Repatriations ของบริษัทสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่มีบริษัทลูกอยู่ในประเทศพัฒนาแล้ว อย่างไรก็ตาม มูลค่า FDI ในประเทศกำลังพัฒนามีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ส่งผลให้ประเทศกำลังพัฒนามีสัดส่วนมูลค่า FDI สูงที่สุดที่ร้อยละ 54
[su_spacer]
1.3 นโยบายใหม่ด้านการลงทุนในปี ค.ศ. 2018 ยังคงเน้นนโยบายเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 66 ของนโยบายใหม่ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม จำนวนมาตรการเพื่อจำกัดการลงทุนจากต่างชาติมีจำนวนเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
[su_spacer]
1.4 Special Economic Zones (SEZs) เป็นนโยบายสำคัญที่ประเทศส่วนใหญ่โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาใช้ในการส่งเสริม FDI โดยในปัจจุบันมีจำนวน SEZs มากถึง 5,400 เขตใน 147 ประเทศ ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 4,000 เขตเมื่อเทียบกับ 5 ปีที่แล้ว และปัจจุบันกำลังมีการพัฒนา SEZs อีก 500 เขต อย่างไรก็ตาม SEZs จำนวนมากส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงแรกเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ปัจจัยสำคัญเพื่อส่งเสริมความสำเร็จของ SEZs อาทิ การออกแบบ SEZs ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะนโยบายด้านการพัฒนาความยั่งยืนทางการเงินและงบประมาณสำหรับ SEZs การเลือกบริเวณที่เหมาะสมในการตั้ง SEZs การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทใน SEZs เดียวกัน ตลอดจนโครงสร้างการบริหาร SEZs ที่มีธรรมาภิบาลและความโปร่งใส
[su_spacer]
2. แนวโน้มการลงทุนในระดับภูมิภาค
2.1 แอฟริกามีมูลค่า FDI เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11 โดยมีสาเหตุหลักจากการลงทุนในด้านทรัพยากร ความต้องการการลงทุนที่หลากหลายของนักลงทุน ตลอดจนการฟื้นฟูด้านการลงทุนในแอฟริกาใต้
[su_spacer]
2.2 เอเชียยังคงเป็นภูมิภาคที่มีมูลค่า FDI สูงที่สุดและมีมูลค่าสูงขึ้นร้อยละ 4 โดยเฉพาะโครงการ การลงทุนในลักษณะ Greenfield ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่าตัว แนวโน้มเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการที่ดีในภูมิภาคจากปี ค.ศ. 2017 ที่อยู่ในสภาวะการลงทุนชะลอตัว
[su_spacer]
2.3 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับ FDI เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 คิดเป็นมูลค่า 149 พันล้านดอลลาห์สหรัฐ ซึ่งเป็นมูลค่าสูงที่สุดที่ภูมิภาคนี้เคยได้รับ ซึ่งมีสาเหตุหลักจากมูลค่า FDI ที่เพิ่มขึ้นในสิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย โดยเฉพาะการลงทุนในด้านการเงิน การค้าส่งและค้าปลีกระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการค้าในภาค Digital economy นอกจากนี้ มูลค่าการลงทุนระหว่างประเทศในภูมิภาคก็เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มมูลค่า FDI อย่างไรก็ตามมาเลเซียและฟิลิปปินส์มีมูลค่า FDI ลดลง
[su_spacer]
3. พัฒนาการด้านการลงทุนของไทย
3.1 มูลค่า FDI ในไทยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62 ในปี ค.ศ. 2018 ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มมูลค่า FDI ที่สูงที่สุดในอาเซียน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าไทยได้ฟื้นตัวจากการชะลอตัวทางการลงทุนในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแล้ว
[su_spacer]
3.2 ปัจจัยหลักที่ส่งเสริม FDI ในไทย อาทิ การลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะญี่ปุ่น ฮ่องกง และเกาหลีใต้ ตลอดจน Reinvestments โดย Multinationals ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่าตัว
[su_spacer]
3.3 ไทยมีมูลค่าการลงทุนในกลุ่มประเทศประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) เป็นอันดับ 3 ของโลก (รองจากจีนและฝรั่งเศส) ในปี ค.ศ. 2017 ด้วยมูลค่าการลงทุน 10 พันล้านดอลลาห์สหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในเมียนมาและลาว
[su_spacer]
3.4 ไทยได้ออกนโยบายเพิ่มเติมในปี ค.ศ. 2018 เพื่อส่งเสริมการลงทุน อาทิ (1) การประกาศใช้ พรบ. EEC ซึ่งสร้างแรงจูงใจทางการคลังให้ต่างชาติมาลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (2) ระบบ Smart visa ซึ่งช่วยดึงดูดแรงงานที่มีทักษะสูงเข้ามาทำงานในไทย
[su_spacer]
3.5 ไทยมีจํานวน SEZs ติด 10 อันดับแรกของโลก โดยในภูมิภาคเอเชีย ไทยมีจำนวน SEZs เป็นอันดับที่ 5 รองจากจีน ฟิลิปปินส์ อินเดีย และตุรกี โดยรายงานดังกล่าวได้ยกไทยให้เป็นตัวอย่างในการใช้การรวมตัวในระดับ ภูมิภาค (Regional integration) เพื่อส่งเสริมการพัฒนา SEZs ตามแนวชายแดน
[su_spacer]
ทั้งนี้ WIR เป็นรายงานประจำปีของ UNCTAD ที่เน้นติดตามแนวโน้มของ FDI ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลพั
ฒนาการล่าสุดเกี่ยวกับนโยบายด้
านการลงทุนในระดั
บประเทศและระหว่างประเทศ โดย UNCTAD ใช้ข้อมูลการลงทุนของปี ค.ศ. 2018 เพื่อจัดทำ WIR 2019 อนึ่ง เอกสารสรุปผลการวิเคราะห์
และแนวโน้มด้านการลงทุนสำคัญจาก WIR 2019 สามารถดาวน์โหลดได้ที่
https://unctad.org/en/PublicationsLibrary/wir2019_en.pdf
[su_spacer]
คณะผู้แทนถาวรฯ ณ นครเจนีวา