หลายคนอาจคิดว่า เทคโนโลยีอวกาศใช้ศึกษาดาราศาสตร์และห้วงอวกาศเพียงอย่างเดียว ในความเป็นจริงสามารถนำมาใช้ศึกษาและสำรวจปรากฏการณ์ต่าง ๆ บนโลกได้ด้วย เช่น การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การสร้างเครือข่ายการสื่อสาร การพยากรณ์และแจ้งเตือนภัยพิบัติ สำรวจการกักเก็บปริมาณคาร์บอนในพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตรกรรมและอื่น ๆ ซึ่งเป็นวิธีการสำคัญในกระบวนการจัดการคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit offset management)
ข้อมูลที่รวบรวมจากการสำรวจและประเมินของดาวเทียมจะถูกนำไปจัดทำเป็น “บัญชีคาร์บอน” (Carbon Accounting) ของประเทศ เพื่อเป็นภาพรวมให้หน่วยงานด้านต่าง ๆ เช่น ด้านพลังงาน ด้านอุตสาหกรรม ด้านการจัดการของเสีย การเกษตร ด้านป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน นำไปใช้ประโยชน์เป็นแนวทางในการเฝ้าระวังและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ทั้งนี้ การจัดทำบัญชีคาร์บอนของไทยเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) และหน่วยงานพันธมิตร
เมื่อปี 2564 องค์กร Climate Watch ได้จัดอันดับประเทศไทยเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 22 ของโลกคิดเป็น 0.8% ทั้งนี้ การใช้ดาวเทียมเพื่อจัดการคาร์บอนด้วยเทคโนโลยีอวกาศสามารถเป็นหนึ่งในเครื่องขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 และการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2608
เรียบเรียงโดย : ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์
สามารถอ่านบทความเต็มได้ที่ https://globthailand.com/InterEcon/InterEcon19/ (หน้า 026)