เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับนักลงทุนไทยก่อนบุกตลาดแทนซาเนีย หนึ่งในประเทศตลาดใหม่ที่น่าสนใจ ด้วยศักยภาพทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้แทนซาเนียเป็นหนึ่งในประเทศที่นักลงทุนต่างชาติได้เข้าไปลงทุน โดยเฉพาะธุรกิจในกลุ่มเหมืองแร่ อาทิ แทนซาไนท์ เพชร ทองคำ เหล็ก กลุ่มแร่ทองคำขาว ดีบุก ทังสเตน รัตนชาติ ถ่านหิน ประกอบกับรัฐบาลแทนซาเนียมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมเหมืองแร่ด้วยเช่นกัน ทำให้มีนักธุรกิจไทยได้เข้าไปเจาะตลาดซื้อขายแร่รัตนชาติในแทนซาเนียมาเป็นเวลานาน[su_spacer size=”20″]
นอกจากอุตสาหกรรมเหมือนแร่ที่ขึ้นชื่อแล้ว แทนซาเนียยังมีหลายกลุ่มอุตสาหกรรมที่พร้อมให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนภายในประเทศ เรามาอัพเดทข้อมูลการส่งเสริมการลงทุนของศูนย์ส่งเสริมการลงทุนแทนซาเนีย (Tanzania Investment Centre: TIC) โครงการด้านการลงทุนของ TIC และข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์การลงทุน รวมถึงรายละเอียดโครงการลงทุนในแทนซาเนียที่น่าสนใจ ซึ่งมีดังนี้[su_spacer size=”20″]
1. สาขาอุตสาหกรรมที่มีโอกาสในการลงทุน ประกอบด้วย (1) การเกษตรและปศุสัตว์ (2) การท่องเที่ยว (3) การผลิต (4) อาคารพาณิชย์ (5) การคมนาคม (6) การกระจายเสียงและโทรคมนาคม(๗) ทรัพยากรธรรมชาติ (๘) สถาบันการเงิน (๙) พลังงาน (11) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ (11) โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ[su_spacer size=”20″]
2. มูลค่าการลงทุนขั้นต่ำที่จะได้รับการส่งเสริม ได้แก่ (1) การลงทุนมูลค่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับนักลงทุนแทนซาเนียเป็นเจ้าของทั้งหมด (2) การลงทุนมูลค่า 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับนักลงทุนต่างชาติเป็นเจ้าของทั้งหมดหรือการลงทุนร่วม (joint venture)[su_spacer size=”20″]
3. มาตรการจูงใจ (incentive package) ที่น่าสนใจ อาทิ (1) การยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าทุนคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ วัตถุดิบและอะไหล่สำหรับการเกษตร ปศุสัตว์ และการประมง ยาและเภสัชภัณฑ์ของมนุษย์และสัตว์ ชิ้นส่วนรถยนต์ วัตถุดิบสำหรับผลิตยา (2) การเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 10 สำหรับสินค้ากึ่งแปรรูป/กึ่งสำเร็จรูป (semi-processed / semi-finished goods) (3) การเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 25 สำหรับการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเต็มรูปแบบ (final consumer goods) และ(4) การอุดหนุนค่าใช้จ่ายที่เป็นทุน (capital expenditure) ร้อยละ 100 สำหรับการลงทุนในภาคการเกษตร[su_spacer size=”20″]
4. ตัวอย่างโครงการการลงทุนที่มีศักยภาพ อาทิ โรงงานน้ำตาล โรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ การขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การพัฒนาเขตอุตสาหกรรม โรงซ่อมบำรุงอากาศยาน และการสร้างโรงแรมที่พัก“แทนซาเนีย” ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยดำเนินการตาม Five Year Development Plan (FYDP) ฉบับที่ 2 ซึ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและลดความยากจน โดยให้ภาคเอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อนการพัฒนา อีกทั้งยังตั้งเป้าที่จะบรรลุ Tanzania Development Vision 2025 ซึ่งมุ่งหวังให้แทนซาเนียเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางและประเทศอุตสาหกรรมภายในปี 2568[su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน การค้าระหว่างไทยและแทนซาเนียมีมูลค่าราว 130.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยมีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 107.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าอยู่ที่ 23.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมี “รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ” เป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่มีแนวโน้มที่ดีของไทย โดยในปี 2559 เป็นสินค้าออกอันดับที่ 7 ของไทยไปแทนซาเนีย มูลค่ากว่า 167.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.5% จากปี 2558[su_spacer size=”20″]
ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี