งานประชุมทางวิชาการ “Conference on Medical Information Sharing for Enhancing Medical and Disease Management”จัดโดยความร่วมมือระหว่างสํานั กงานประกันสุขภาพ (National Health Insurance Administration) กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิ การไต้หวัน ระหว่างวันที่ 8 – 9 ส.ค. 2562 ณ Howard Civil Service International House ไทเป ไต้หวัน เพื่อแบ่งปันข้อมู ลและประสบการณ์เกี่ยวกับ การดําเนินนโยบายทางด้ านสาธารณะสุขและข้อมูลการแบ่งปั นข้อมูลทางการแพทย์ ภายในงานมีผู้เข้าร่วมการประชุ มมากกว่า 300 คน ทั้งจากหน่วยงานการศึกษา ภาคธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในไต้หวันและต่างประเทศ และสมาชิกเอเปค อาทิ ออสเตรเลีย แคนาดา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เปรู รัสเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา
[su_spacer]
การประชุมครั้งนี้นับเป็ นโอกาสที่ดีของไต้หวันในการนํ าเสนอเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้ นสูงและ ความสําเร็จที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมภาคส่ วนที่เกี่ยวข้องสู่เวทีระดับโลก ทั้งนี้ เมื่อครั้งไต้หวันนําเสนอ ข้อมูลในงานการประชุมสมั ชชาอนามัยโลก (World Health Assembly) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 28 พ.ค. 2562 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส หลายประเทศต่างให้ความสนใจกั บความสําเร็จของไต้หวันด้ านการใช้ ระบบคลาวด์แบ่งปันข้อมู ลทางการแพทย์ (cloud-based medical information sharing)
[su_spacer]
การประชุมได้หารือในหัวข้อสําคั ญหลายประการ อาทิ พลังของการแลกเปลี่ยนข้อมู ลทางการแพทย์ เพื่อการปรับปรุงด้านสาธารณะสุข แนวปฏิบัติสําหรับการเก็บและใช้ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การใช้เทคโนโลยี การสื่อสารในการเสริมสร้างบริ การและมาตรฐานการรั กษาในสถานพยาบาล นอกจากนี้ยังมีการหารือใน ประเด็นด้านความสมดุลระหว่ างความเป็นส่วนตัวกับการใช้ข้ อมูลเพื่อสาธารณะในทางการแพทย์ โดยผู้ร่วม อภิปรายต่างเห็นพ้องกันว่า หากเป็นการนําข้อมูลเพื่อนํ าไปใช้ศึกษาวิจัยทางการแพทย์อั นเป็นไปเพื่อประโยชน์ สาธารณะแล้ว ย่อมมีความสําคัญมากกว่าความเป็ นส่วนตัว ส่วนการนําข้อมูลไปใช้เพื่ อการค้านั้นไม่อาจทําได้ และมีความผิด
[su_spacer]
หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิ ฟิคกําลังเผชิญกับภาวะสังคมผู้ สูงอายุ จํานวนผู้ป่วยเรื้อรังที่เพิ่ม มากขึ้นทําให้ระบบการรั กษาพยาบาลต้องประสบปัญหาค่าใช้ จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นและข้อมูลซ้ำ ซ้อนอันเกิดจาก การไม่เชื่อมโยงข้อมูลทางด้านสุ ขภาพระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ดังนั้นการสร้างพื้นที่สําหรั บแบ่งปัน ข้อมูลและประวัติการรักษาระหว่ างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเป็ นสิ่งที่มีความสําคัญอย่างยิ่ง การแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันจะช่ วยลดการตรวจรักษาและการจ่ายยาซ้ำ ซ้อน ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อย่ างมาก ทั้งนี้ ไต้หวัน ลดประหยัดค่าใช้จ่ายจากการจ่ ายยาซ้ำซ้อนและเกินความจําเป็ นได้ประมาณ 11.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูล เดือน มิ.ย. 2562) นับแต่เริ่มใช้ระบบ PharmaCloud ซึ่งเป็นระบบจัดการบันทึ กทางการแพทย์ที่ไต้หวัน พัฒนาขึ้นในปี 2556
[su_spacer]
ในส่วนของการนําเสนอข้อมู ลของประเทศไทย ดร.ประจักษวิช เล็บนาค รองเลขาธิการ สํานักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย เป็นผู้นําเสนอข้อมูลในหัวข้อ The Current Developments of Medical (health) Information System in Thailand โดยขณะนี้ไทยกําลังดําเนินการ เพื่อให้หลักประกันสุขภาพเกิ ดประสิทธิผลมากขึ้น (Expanding Utilization) และจะให้ความสําคัญกับการจั ดการข้อมูลขนาดใหญ่ และระบบคลาวด์ (Big data & Cloud)
[su_spacer]
สํานักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย