Innovative Regulatory Sandbox หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า SME sandbox คือ แพลตฟอร์มที่จัดตั้งโดย รัฐบาลไต้หวันเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา โดยเน้นการเชื่อมโยงกันระหว่างกลุ่มธุรกิจเดิม ธุรกิจใหม่ ผู้บริโภค และที่ปรึกษาด้านกฎหมาย เพื่อผลักดันการเติบโตของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) และเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ภายในประเทศ เนื่องจากหลายครั้งการพัฒนาด้านนวัตกรรมมีข้อจํากัดด้านกฎหมายเป็นอุปสรรค เช่น ความไม่สอดคล้องกับกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือการบังคับใช้ที่คลุมเครือ
[su_spacer]
SME sandbox จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2560 โดยกรมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงเศรษฐการไต้หวัน เพื่อสนับสนุนให้ภาคอุตสหากรรมได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมอย่างไม่ปิดกั้น ความคิดสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม หลายครั้งการพัฒนาด้านนวัตกรรมเกิดการสะดุดเพราะข้อจํากัดด้านกฎหมาย เช่น ความไม่สอดคล้องกับกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือการบังคับใช้ที่คลุมเครือ รัฐบาลจึงจัดตั้งแพลตฟอร์มนี้ขึ้นเพื่อแก้ไขข้อจํากัดดังกล่าว
[su_spacer]
ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการมีดังนี้
- เสนอไอเดียกรอกแบบฟอร์มการสมัครและเขียนข้อเสนอโครงการด้านนวัตกรรม จากนั้นรอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่เพื่อยืนยัน
- ประเมินไอเดียหลังจากการยืนยันการส่งเอกสารครบถ้วนแล้ว ผู้เชี่ยวชาญและคณะที่ปรึกษาจะทําการประเมินและตัดสินข้อเสนอโครงการ
- ปรับแต่งโครงการทดลองหากข้อเสนอการทดสอบโครงการผ่านการประเมินผล เจ้าหน้าที่ โครงการจะช่วยขัดเกลา แก้ไขข้อเสนอโครงการ และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อให้ข้อเสนอโครงการนั้น มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
- สื่อสารและประสานงานหลังจากสรุปข้อเสนอโครงการเสร็จสิ้น คณะทํางานจะนัดประชุมและ ประสานงานข้ามหน่วยงานเพื่อให้บรรลุมติของการเริ่มต้นการทดลองระหว่างหน่วยงาน
- เริ่มการทดลองระหว่างการดําเนินงาน บริษัทจะต้องเขียนรายงาน 3 รูปแบบ ได้แก่ รายงาน เรื่องความเสี่ยง รายงานความคืบหน้า และรายงานเกี่ยวกับรายละเอียดเพื่อตีพิมพ์ต่อสาธารณะ
- ประเมินผลลัพธ์และข้อเสนอแนะหลังการทดสอบเสร็จสิ้น ให้รายงานผลลัพธ์ของการทดลอง เพื่อใช้เป็นหลักฐานให้กับหน่วยงานที่กํากับดูแลการสร้างหรือการแก้ไขกฏเกณฑ์ด้านนวัตกรรม
[su_spacer]
นอกจากนี้ ภายในเว็บไซต์ยังมีพื้นที่สําหรับชี้แจงกฎระเบียบและให้คําปรึกษาด้านกฎหมาย โดยสมาชิกสามารถถามคําถามเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่มีความสงสัย และจะได้รับการตอบกลับจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากกระทรวงคมนาคมและการสื่อสาร ตลอดจน สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ นับเป็นการรวมความร่วมมือจาก หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยกันผลักดันการพัฒนาด้านนวัตกรรม
[su_spacer]
ตัวอย่างแนวทางการทดลองในปัจจุบัน ได้แก่ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเงินหรือ Fintech เช่น การโอนเงินข้ามพรมแดนด้วยเทคโนโลยี blockchain แพลตฟอร์มการให้กู้ยืมออนไลน์ ประกันภัยออนไลน์ และแพลตฟอร์ม cryptocurrency เป็นต้น
[su_spacer]
บริษัทแรกที่ได้รับการอนุมัติจากการทดลองจาก sandbox คือ ธนาคาร KGI และ บริษัท Chunghwa Telecom โดยร่วมกันพัฒนา Fintech Space อย่าง “KGI inside” หรือ แอปพลิเคชันบริการทางการเงินแบบ Open Banking ซึ่งเป็นการให้บริการอนุมัติสินเชื่อดิจิทัลที่สามารถลดขั้นตอนการสมัครจากเดิม 53 ขั้นตอน เหลือเพียง 20 ขั้นตอน อนุมัติวงเงินได้สูงสุดถึง 200 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน หรือประมาณ 200 ล้านบาท
[su_spacer]
สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย