ในต้นปี 2020 ที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทําให้ทุกประเทศทั่วโลกได้รับผลกระทบที่แตกต่าง กัน เศรษฐกิจของประเทศทั่วโลกเข้าสู่สภาวะถดถอย GDP ของแต่ละประเทศทั่วโลกถดถอย อย่างไรก็ดีไต้หวันยังสามารถรับมือกับสถานการณ์นี้และนําพาเศรษฐกิจให้พัฒนาต่อไปได้
.
ในปี 2020 เศรษฐกิจไต้หวันเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 2.98% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2019 ซึ่งการเติบโตทาง เศรษฐกิจครั้งนี้อยู่เหนือความคาดหมายจากการคาดการณ์แนวโน้มทางเศรษฐกิจ ที่ผู้เชี่ยวชาญส่วนมาก ได้คาดการณ์ว่า เวียดนามจะเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตที่สุดในเอเชีย ดังนั้น ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ปัจจัยที่ทําให้เศรษฐกิจของไต้หวันโตขึ้นท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
.
Angela Hsieh นักเศรษฐศาสตร์ประจําธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ได้วิเคราะห์ว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการส่งออกของไต้หวันเติบโตขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ หรือการผลิตชิป (chip) การผลิตชิปส่งออกทั่วโลกนั้นทําให้รากฐาน เศรษฐกิจของไต้หวันมั่นคงขึ้น โดยในปี 2021 เศรษฐกิจไต้หวันมีแนวโน้มที่จะขยับขึ้นไปสูงได้อีก โดยมี โอกาสเติบโต้ถึง 1.2% ดังนั้น เศรษฐกิจไต้หวันอาจเติบโตได้ถึง 5% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเติบโต 3.8%
.
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดโลก เนื่องจากเซมิคอนดักเตอร์มี ความจําเป็นสําหรับอุตสาหกรรมแทบทุกแขนง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่กระแสโลกขับเคลื่อนไปด้วย เทคโนโลยีและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง รถยนตร์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคอื่น ๆ ต่าง ที่ล้วนจําเป็นต้องใช้ชิปเป็นส่วนประกอบ ซึ่งไต้หวันถือเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดในโลก
.
โดยที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้เร่งให้การเปลี่ยนผ่านทางสังคมเข้าสู่สังคมดิจิทัลเป็นไปเร็วขึ้น โดยผู้คนทั่วโลกต้องปรับตัวและใช้ชีวิตแบบ New Normal ที่มีการติดต่อสื่อสาร และใช้ชีวิตประจําวัน โดยมีเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นเครื่องมากขึ้น ทําให้ความต้องการของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งขณะนี้ชิป โดยเฉพาะชิป 5G จึงเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น และอาจกล่าวได้ว่า สายการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในจีนที่ชะงักลง เป็นโอกาสดีของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ไต้หวันอย่างมาก และปัจจุบันไต้หวันมีส่วนแบ่งตลาดการผลิตชิปมากในระดับต้น ๆ ของโลก และท่ามกลางสถานการณ์ที่วัคซีนเป็นที่ต้องการในระดับโลกเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนก็ส่งผลให้อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์มีบทบาทสําคัญขึ้น
.
นอกเหนือจากอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่เป็นปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไต้หวันในปี 2020 แล้ว มาตรการการรับมือกับโรคโควิด 19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสําเร็จจนเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสําคัญที่ทําให้เศรษฐกิจไต้หวันไม่ชะงักและไม่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยไต้หวันไม่ได้มีมาตรการ Lockdown แต่อย่างใด จึงทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ดําเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปได้โดยไม่หยุดชะงัก แม้พบการระบาดในพื้นที่เป็นระยะ แต่มาตราการและกฎหมายที่เข้มงวดมีผลทําให้สามารถคุมโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันนี้อ้างอิงจากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข และสวัสดิการ วันที่ 30 มีนาคม 2564 มีผู้ติดเชื้อสะสมในไต้หวันทั้งหมด 1,024 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดเพียง 10 รายเท่านั้น
.
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าไต้หวันมีศักยภาพในการแข่งขันระดับโลกที่สูงมาก แม้ในวิกฤติโรคระบาดที่ทําให้ประเทศส่วนใหญ่เศรษฐกิจถดถอย แต่ไต้หวันสามารถคว้าโอกาสในวิกฤตครั้งนี้ และขยายตลาดภาคการส่งออกอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ได้มากขึ้น ทําให้ดัชนีมวลรวมของเศรษฐกิจในประเทศโตขึ้น สําหรับประเทศไทยนั้น การลงทุนร่วมกับไต้หวันจึงนับเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ โดยก่อนหน้านี้ สถาบันประเมินความเสี่ยงด้านธุรกิจ (Business Environment Risk Intelligence, BERI) ได้จัดอันดับความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมในการลงทุน (Profit Opportunity Recommendation, POR) ซึ่งในการจัดอันดับครั้งนี้ ไต้หวันได้รับอันดับ 3 ของโลก และเป็นอันดับที่ 1 ของเอเชีย โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนจาก 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) ความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ (2) ความเสี่ยงทางการเมือง (3) ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้นการลงทุนกับไต้หวันจึงเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจสําหรับนานาประเทศ
.
สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย